Financial Times เปิดเผยผลสำรวจกว่า 100 กองทุนทั่วโลก พบว่ากองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ กองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เฮดจ์ฟันด์ ได้วางแผนจัดสรรสินทรัพย์ประมาณ 7.2% ของพอร์ตการลงทุน โดยเจ้าหน้าที่การเงินของกองทุนเฮดจ์ฟันด์กว่า 100 คน ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าจะเข้าไปลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีภายในระยะเวลา 5 ปี
อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัจจุบันจะไม่ทราบจำนวนการถือครองในคริปโตของแต่ละกองทุน แต่ Financial Times สรุปว่าการจัดสรรพอร์ตดังกล่าวจะ "แสดงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมาก" ของเงินทุนที่ใส่ลงไปในสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ
ขณะเดียวกันบางสถาบันกำลังพิจารณาว่าควรจะเพิ่มการถือครองคริปโตเคอร์เรนซีในขณะนี้หรือไม่ ซึ่งมีบางสถาบันได้ตัดสินใจในการเข้าเก็บเหรียญคริปโตเข้าพอร์ตไปก่อนหน้านี้แล้ว
" Paul Tudor Jones III" หนึ่งในมหาเศรษฐีและผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ตัดสินใจ เข้าไปลงทุนใน Bitcoin โดยถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนรุ้นแรกๆ ที่ชื่นชอบการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และชื่นชม bitcoin อย่างเปิดเผยหลัง โดยให้เหตุผลว่าจากการระบาดของโควิด-19 การนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวเป็นการกระจายความเสี่ยง อีกทั้งมองว่ามันเป็นเครื่องมือการลงทุนที่ปลอดภัย ที่จะต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ โดยในขณะนั้นพอลได้จัดสรรพอร์ตโฟลิโอมากถึง 3% ใน Bitcoin ซึ่งล่าสุดได้เตรียมที่จะปรับเพิ่มให้ได้ถึง 5%
ขณะที่ Anthony Scaramucci ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ SkyBridge Capital เข้าร่วมในปลายปี 2020 ผ่านกองทุน Bitcoin ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นหลายล้านดอลลาร์
ด้าน BNY Mellon ธนาคารเก่าแก่ในสหรัฐฯ มีแผนที่จะเปิดตัวคัสโตเดียน ขณะที่ธนาคาร Morgan Stanley จะช่วยให้ลูกค้าสถาบันของพวกเขาเข้าถึงบิตคอยน์ได้ผ่านหลายกองทุน ,Goldman Sachs ยื่นขอ Bitcoin ETF โดยในขณะที่มีรายงานว่า JPMorgan กำลังมุ่งมั่นในการจัดตั้งกองทุน Bitcoin อย่างเป็นชิ้นเป็นอันเสียที