xs
xsm
sm
md
lg

10 หุ้นหนี้ต่ำ (D/E) แกร่งสุดใน SET100

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตัวเลขอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) นั้นบ่งบอกถึงเสถียรภาพทางการเงินของบริษัทนั้นๆ และเป็นตัวเลือกแรกๆ ของนักลงทุน ซึ่ง 10 อันดับหุ้นในกลุ่ม SET100 มีความน่าสนใจ และส่วนใหญ่สามารถทำอัตราผลตอบแทนด้านราคาที่เป็นบวกด้วย

1.HANA (บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์) ค่า D/E 0.17 เท่า (หนี้สินรวม 3.56 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 2.16 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA อยู่ในอันดับ 2 โดยมี NEX (บมจ.เน็กซ์ พอยท์) อันดับ 1 ค่า D/E 0.15 เท่า และ W (บมจ.วาว แฟคเตอร์) อันดับ 3 ค่า D/E 0.35 เท่า

ส่วนงบปี 2563 แม้ว่ารายได้จะลดลง 1.43 พันล้านบาท (-6.76%) แต่ยังกำไรเพิ่มขึ้น 103 ล้านบาท (5.72%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาดีขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2562 อยู่ที่ 4.55% ปี 2563 อยู่ที่ 15.22% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 39.75 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 56.25 บาท เพิ่มขึ้น 16.50 บาท หรือ +41.51%

2.BPP (บมจ.บ้านปู เพาเวอร์) ค่า D/E 0.18 เท่า (หนี้สินรวม7.58 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 4.11 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (พลังงานและสาธารณูปโภค) BPP มีค่า D/E อันดับ 3 รองจาก AI (บมจ.เอเชียน อินซูเลเตอร์) 0.17 เท่า และ MDX (บมจ.เอ็ม ดี เอ็กซ์) 0.18 เท่า

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมเพิ่มขึ้นจาก 305 ล้านบาท (10.59%) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 166 ล้านบาท (47.12%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ -20.63% ปี 2563 อยู่ที่ -14.69% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 15.10 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 20.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.90 บาท หรือ +32.45%

3.RBF (บมจ.อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย) ค่า D/E 0.19 เท่า (หนี้สินรวม 794 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 4.09 พันล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (อาหารและเครื่องดื่ม) RBF มีค่า D/E อันดับ 7 รองจาก APURE (บมจ.อกริเพียว โฮลดิ้งส์) 0.07 เท่า SAUCE (บมจ.ไทยเทพรส) 0.11 เท่า PB (บมจ.เพรซิเดนท์ เบเกอรี่) 0.11เท่า CM (บมจ.เชียงใหม่โฟรเซ่นฟู้ดส์) 0.11เท่า TFMAMA (บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์) 0.15 เท่า ICHI (บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป) 0.18 เท่า

เทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 305 ล้านบาท (10.59%) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 166 ล้านบาท (47.12%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ +33.33% ปี 2563 อยู่ที่ +111.36% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 9.30 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 17.60 บาท เพิ่มขึ้น 8.30 บาทหรือ +89.25%

4.INTUCH (บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์) ค่า D/E 0.22 เท่า (หนี้สินรวม 8.49 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 3.80 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) INTUCH ค่า D/E อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับ 2 คือ HUMAN (บมจ.ฮิวแมนิก้า) 0.26 เท่า JTS (บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์) 0.39เท่า

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมลดลง 2 พันล้านบาท (-11.32%) และกำไรสุทธิลดลง 35 ล้านบาท (-0.32%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ 19.90% ปี 2563 อยู่ที่ -1.75% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 56.25 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 57.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือ +1.33%

5.VGI (บมจ.วีจีไอ) ค่า D/E 0.25 เท่า (หนี้สินรวม 3.85 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.55 หมื่นล้าน) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (สื่อและสิ่งพิมพ์) VGI อยู่ในอันดับ 7 ส่วนหุ้นเด่นๆ WORK (บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์) 0.14 เท่า อันดับ 4 MATCH (บมจ.แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น ) 0.21 เท่า อันดับ 5

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมลดลง 2.44 พันล้านบาท (-55.16%) และกำไรสุทธิลดลง 803 ล้านบาท (-56.40%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ +22.44% ปี 2563 อยู่ที่ -30.37% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 6.65 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 6.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท หรือ +3.76%

6.BH (บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์) ค่า D/E 0.29 เท่า (หนี้สินรวม 5.38 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.85 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (การแพทย์) BH อยู่ในอันดับ 7 ส่วนหุ้นเด่นๆ เช่น อันดับ 1 NTV (บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช) 0.14 เท่า BDMS (บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ) 0.51 เท่า อันดับ 12

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมลดลง 6.14 พันล้านบาท (-32.83%) และกำไรสุทธิลดลง 2.54 พันล้านบาท (-67.87%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ -21.60% ปี 2563 อยู่ที่ -18.37% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 120.00 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 135.00 บาท เพิ่มขึ้น 15.00 บาท หรือ +12.50%

7.OSP (บมจ.โอสถสภา) ค่า D/E 0.34 เท่า (หนี้สินรวม 6.52 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.92 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (อาหารและเครื่องดื่ม) OSP อยู่ในอันดับ 13 ส่วน TFMAMA (บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์) อยู่อันดับ 3 (0.15เท่า) หรือ OISHI (บมจ.โออิชิ กรุ๊ป) อยู่อันดับ 8 (0.26 เท่า)

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 3.54 ล้านบาท (+0.01%) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 245.30 ล้านบาท (+7.53%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ +65.31% ปี 2563 อยู่ที่ -12.35% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 35.50 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 34.25 บาท ลดลง 1.25 บาทหรือ -3.52%

8.ACE (บมจ.แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้) ค่า D/E 0.37 เท่า (หนี้สินรวม 4.43 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.19 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (พลังงานและสาธารณูปโภค) ACE อยู่ในอันดับ 6 ส่วน หุ้นตัวดังๆ อย่าง PTT (บมจ.ปตท.) อยู่ในอันดับ 33 (1.43 เท่า) หรือ OR (บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก) อยู่ในอันดับ 46 (2.83 เท่า)

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 969.86 ล้านบาท (+19.05%) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 692.33 ล้านบาท (+84.92%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ -4.09% ปี 2563 อยู่ที่ -13.74% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 3.64 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.64 ปิด 4.08 บาท เพิ่มขึ้น 1.16 บาท หรือ +12.09%

9.EPG (บมจ.อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป) ค่า D/E 0.38 เท่า (หนี้สินรวม 4.04 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.05 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (วัสดุก่อสร้าง) EPG อยู่ในอันดับ 6 ส่วนอันดับ 1-5 คือ Q-CON (บมจ.ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์) 0.13 เท่า DCON (บมจ.ดีคอนโปรดักส์) 0.14 เท่า SCP (บมจ.ทักษิณคอนกรีต) 0.16 เท่า COTTO (บมจ.เอสซีจี เซรามิกส์) 0.24 เท่า RCI (บมจ.โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม) 0.30 เท่า

และเทียบงบล่าสุดรายได้รวมลดลง 3.3 พันล้านบาท (-32.04%) และกำไรสุทธิลดลง 184.64 ล้านบาท (-18.71%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ -8.76% ปี 2563 อยู่ที่ +13.60% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 7.10 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 9.60 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท หรือ +35.21%

10.GFPT (บมจ.จีเอฟพีที) ค่า D/E 0.39 เท่า (หนี้สินรวม 5.70 พันล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1.45 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (ธุรกิจการเกษตร) GFPT อยู่ในอันดับ 5 ส่วนหุ้นตัวดัวอย่าง STA (บมจ.ศรีตรังแอโกรอิน ดัสทรี) อยู่ในอันดับ 9 (1.04 เท่า) ขณะอันดับ 1 คือ EE (บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี) 0.11 เท่า

และเทียบงบปี 2563 กับปี 2562 รายได้รวมลดลง 2.05 พันล้านบาท (-11.83%) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 156.28 ล้านบาท (+13.07%) ขณะที่ผลตอบแทนจากราคาปี 2562 อยู่ที่ +2.50% ปี 2563 อยู่ที่ +15.45% และปี 2564 เทียบจากสิ้นปี 2563 ปิดที่ 14.20 บาท ล่าสุด 26 มี.ค.2564 ปิด 12.00 บาท ลดลง 2.20 บาทหรือ -15.49%

ทั้งนี้ ค่า D/E ของหุ้นทั่วไปไม่ควรเกิน 2 เท่า เพราะยิ่งหนี้น้อย และส่วนของทุนมากก็แสดงถึงความแกร่งของกิจการ แต่ยกเว้นกับกลุ่มธนาคาร สินเชื่อ และประกันที่เงินฝากจะถูกนับเป็นหนี้สินของบริษัท ด้วยลักษณะการดำเนินธุรกิจของกลุ่มนี้จึงมีค่า D/E ที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง


กำลังโหลดความคิดเห็น