xs
xsm
sm
md
lg

10 หุ้นบิ๊กแคปกลุ่มพลังงาน ฟื้นจาก circuit breaker แค่ไหน?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ครบรอบ 1 ปี สำหรับวัน Circuit Breaker ในปี 63 โควิด-19 ขวิดตลาดหุ้นไทยกระเจิงในวันที่ 12-13 มี.ค.63 หุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค เป็น 1 กลุ่มที่ถูกกระทบหนักเช่นกัน หลายหลักทรัพย์ถูกแรงเทขายจนราคาต่ำสุดในรอบปี ในวันที่ 13 มี.ค.64 ซึ่งเมื่อผ่านมา 1 ปีแล้ว 10 หุ้นบิ๊กแคปกลุ่มพลังงาน (ยกเว้น OR ที่เพิ่งเข้าตลาด) ฟื้นจาก circuit breaker แค่ไหน?

1 บมจ.ปตท.(PTT) มาร์เกตแคป 1,192,505 ล้านบาท ในปี 63 ก่อนวิฤกต circuit breaker เดือน ม.ค. ราคา PTT ยังวิ่งอยู่แถว 42.00-47.00 บาท พอช่วงเดือน ก.พ. ราคาวิ่งในกรอบ 39.00-43.00 บาท จากนั้นราคาลงต่ำสุดในวันที่ 13 มี.ค.63 ราคาเปิดที่ 24.20 บาท ก่อนขึ้นไปได้ถึง 29.50 บาท และดิ่งสุดที่ราคา 23.20 บาท (ต่ำสุดในปี 63) ก่อนขยับขึ้นไปปิดที่ 28.00 บาท แต่ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 9 มี.ค.63 ปิดที่ 28.00 บาท ลดลงมากถึง -25.33%

และในปี 63 PTT ทำราคาได้สูงสุด 47.75 บาท (ช่วงเดือน ม.ค.) และหลังจาก circuit breaker ราคาไม่ค่อยไปไหน เคยดีดขึ้นไปได้ถึง 44.00 บาท (8 ธ.ค.63) จากนั้นไปสิ้นสุดปีปิดที่ 42.50 บาท ส่วนในปี 64 นั้นเคยทำราคาขึ้นไปถึง 45.00 บาท (13 ม.ค.64) และต่ำสุดที่ 37.00 บาท (1 ก.พ.64) ส่วน YTD -1.76% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 23.20 บาท (13 มี.ค. 63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 41.75 บาท ขยับขึ้นมา 18.55 บาท หรือ +79.96%

2.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มาร์เกตแคป 472,428 ล้านบาท ในปี 63 เปิดด้วยราคา 125.50 บาท แล้วขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ถึง 134.00 บาท และทำราคาสูงสุดของปีที่ 136.00 บาท (8 ม.ค.63) จากนั้นโควิด-19 เริ่มหนัก เริ่มดิ่งจนราคาต่ำกว่า 100.00 บาท จนวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิด54.50 บาท สูงสุดที่ 66.75 บาท ต่ำสุด 50.50 บาท (ต่ำสุดในปี 63) ก่อนดีดแรงปิดที่ 66.25 บาท ส่วนวันที่ราคาปิดเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ 9 มี.ค.63 ปิดที่ 74.75 บาท ลดลงมากถึง -29.81%

ประเดิมปี 64 ราคา 96.50 บาท ก่อนปิดที่ 98.75 บาท ทำราคาสูงสุด 121.50 บาท (8 มี.ค.64) ต่ำสุด 96.25 บาท (4 ม.ค.64) ส่วน YTD +21.12% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 50.50 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 119.00 บาท ขยับขึ้นมา 68.50 บาท หรือ +135.64%

3.บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) มาร์เกตแคป 401,860 ล้านบาท GULF หุ้นโรงไฟฟ้าสุดร้อนแรงช่วงปี 62 พอปี 63 ดร็อปลงช่วง 2 เดือน ราคาวิ่งในกรอบ 32.00-39.00 บาท ในวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิดตลาด 23.63 บาท จากนั้นพุ่งไปถึง 29.66 บาท และต่ำสุด 22.35 บาท (ต่ำสุดในปี 63) ก่อนปิดที่ 26.79 บาท 

และวันที่ราคาปิดเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ 12 มี.ค.63 ปิดที่ 25.90 บาท ลดลงมากถึง -13.53% หลังจากนั้นได้ทำราคาสูงสุดของปี 63 คือ 41.03 บาท (21 พ.ค.63) ก่อนที่ราคาปิดของปี 63 อยู่ที่ 34.25 บาท

ส่วนปี 64 ไม่สดใสเท่าไร เคยทำราคาขึ้นไปสูงสุดได้แค่ 38.00 บาท (8 ม.ค.64) ขณะที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 32.50 บาท (5 ก.พ.64) ส่วน YTD 0.00% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 22.35 บาท (13 มี.ค. 63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 34.25 บาท ขยับขึ้นมา 11.90 บาท หรือ +53.24%

4.บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) มาร์เกตแคป 221,935 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 61 มา EA เติบโตต่อเนื่องทั้งมาร์เกตแคป ราคาหุ้น รายได้ เว้นกำไรสุทธิที่ปี 63 ลดจากปี 62 เล็กน้อย มาดูในปี 63 ช่วง 2 เดือนแรกราคายังเคลื่อนไหวระหว่าง 39.00-44.50 บาท พอถึงวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิดที่ราคา 27.75 บาท ก่อนร่วงไปที่ 27.50 บาท (ต่ำสุดของปี 63) แล้วขยับขึ้นปิดที่ 32.75 บาท จากนั้นก็ทำราคาขึ้นไปสูงสุดของปี ที่ 51.50 บาท (21 มิ.ย.63) ก่อนที่ สิ้นปี 63 ปิดที่ 49.25 บาท

วันแรกของปี 64 ราคาเปิดที่ 48.50 บาท ก่อนไหลไปที่ 48.25 บาท (ต่ำสุดปี 64) ก่อนปิดที่ 53.50 บาท และไปพุ่งสูงสุดของปี 64 ที่ราคา 71.75 บาท (17 ก.พ.64) ส่วน YTD +20.81% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 27.50 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 59.50 บาท ขยับขึ้นมา 32.00 บาท หรือ +116.36%

5.บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) มาร์เกตแคป 216,414 ล้านบาท GPSC ในปี 62 เป็นอีก 1 หุ้นโรงไฟฟ้าที่ร้อนแรง (ราคาทั้งปี 62 บวก +64.53%) พอมาปี 63 ราคาเปิด ที่ 86.00 บาท แล้ววิ่งไปถึง 96.75 บาท ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี สูงสุดที่ 98.25 บาท (15 ม.ค.63) จากนั้นก็ย่อลงๆ จนถึงวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิด 45.50 บาท และย่อลงไปสุดที่ 42.75 บาท (ต่ำสุดของปี 63) ก่อนดีดขึ้นมาปิดที่ 51.75 บาท จากนั้นก็ทรงๆ ทรุดๆ ขยับดีขึ้นปลายปี จนไปปิดที่ 73.75 บาท (ราคาทั้งปี 63 ลบ -13.99%)

ส่วนวันแรกในปี 64 เปิดที่ราคา 72.50 บาท ก่อนปิดที่ 79.00 บาท จากนั้นเคลื่อนไหวในกรอบ 72.25 บาทถึง 88.00 บาท ส่วน YTD +4.07% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 42.75 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 76.75 บาท ขยับขึ้นมา 34.00 บาท หรือ +79.53%

6.บมจ.ไทยออยล์ (TOP) มาร์เกตแคป 131,072 ล้านบาท TOP ตั้งแต่ปี 61 เป็นต้นมา ทั้งรายได้ กำไรสุทธิลดลงต่อเนื่อง แต่ผลตอบแทนด้านราคา ในปี 62 ยังบวก +5.28% แต่ปี 63 หนัก -25.45 % โดยวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) ราคาเปิดมาที่ 30.00 บาท ก่อนดิ่งไปที่ 28.00 บาท แล้วกลับมาฟื้นขึ้นมาปิดที่ 35.25 บาท แต่ที่ราคาต่ำสุดของปี 63 คือ 25.25 บาท (19 มี.ค.63) ส่วนราคาปิดที่ต่ำที่สุดในปี 63 คือ 27.00 บาท (23 มี.ค.63) และสิ้นปี 63 ปิดที่ 52.00 บาท

ปี 64 ราคาสูงสุด 66.00 บาท (8 มี.ค.64) ต่ำสุด 50.50 บาท (4 ม.ค.64) ส่วน YTD +23.56% และเมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 25.25 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 64.25 บาท ขยับขึ้นมา 39.00 บาท หรือ +154.45% 

7.บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) มาร์เกตแคป 121,221 ล้านบาท ปี 62 BGRIM มีผลตอบแทนราคาสูงลิ่วถึง +98.11% ขณะที่ปี 63 ไม่สดใสนักโดยช่วง 2 เดือนแรก เคลื่อนไหวในกรอบ 40 ต้นๆ ถึง 60 ปลายๆ สูงสุดที่ 69.25 บาท (21 ม.ค.63) พอวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิด 29.50 บาท ก่อนรูดลงไปที่ 27.25 บาท (ต่ำสุดของปี 63) ก่อนดีดมาปิดที่ 36.25 บาท จากนั้นเคยขึ้นไปถึง 59.00 บาท (9 มิ.ย.63) และไปปิดสิ้นปีที่ 48.50 บาท

ปี 64 ทำราคาขึ้นไปสูงสุด 56.00 บาท (13 ม.ค.64) และต่ำสุด 45.25 บาท (11 มี.ค.64) ส่วน YTD -4.12% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 27.25 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 46.50 บาท ขยับขึ้นมา 19.25 บาท หรือ +70.64%

8.บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) มาร์เกตแคป 95,817 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 61 เป็นต้นมา EGCO อยู่ในช่วงขาลง ทั้งรายได้ กำไรสุทธิ มูลค่าบริษัทรวมถึงผลตอบจากราคา โดยในปี 63 ช่วง 2 เดือนแรกราคายังวิ่งแถว 300 กว่าๆ พอวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิด 180.00 บาท ก่อนดำดิ่งไปถึง 161.00 บาท (ต่ำสุดของปี 63) ก่อนสวิงขึ้นมาปิดที่ 210.00 บาท และจากนั้นหลังจาก 21 ก.ย.63 ราคาไม่เคยพ้น 200.00 บาทอีกเลย 

สุดท้ายสิ้นปี 63 ปิด 192.50 บาท วันแรกของปี 64 ราคาปิดที่ 192.00 บาท แล้วขึ้นไปสูงสุดของปีที่ 213.00 บาท (6 ม.ค.64) แล้วไหลลงมาต่ำสุดของปี 168.50 บาท (25 ก.พ.64) ส่วน YTD -5.45% เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 161.00 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 182.00 บาท ขยับขึ้นมา 21.00 บาท หรือ +13.04 %

9.บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) มาร์เกตแคป 76,425 ล้านบาท รายได้-กำไรลดลงต่อเนื่อง 2 ปีติด (ปี 62-63) ส่วนผลประกอบการด้านราคาปี 62 ทรุดหนัก -36.00% ปี 63 ยังประคองตัวกลับมาบวกได้ +1.09% ในวัน circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิดที่ 1.90 บาท แล้วย่อลงไปถึง 1.76 บาท (ต่ำสุดของปี 63) ก่อนจะดีดขึ้นมาปิด 2.04 บาท และสิ้นปี 63 ปิดที่ 3.72 บาท โดยปี 63 ทำราคาสูงสุด 4.02 บาท (6 ม.ค.63) การเปลี่ยนแปลงราคาในแต่ละวันลบมากสุดคือ -13.18% (26 ก.พ.63)

ปี 64 ทำราคาไปสูงสุดที่ 4.30 บาท (6 ม.ค.64) และต่ำสุด 3.24 บาท (29 ม.ค.64) ส่วน YTD +0.54 % เมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 1.76 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด (12 มี.ค.64) ปิดที่ 3.74 บาท ขยับขึ้นมา 1.98 บาท หรือ +112.50%

10.บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) มาร์เกตแคป 74,675 ล้านบาท RATCH มีกำไรสุทธิ เพิ่มติดต่อกัน 3 ปี (61-63) แต่ราคาปี 63 ไม่สดใส (-22.91%) โดย 2 เดือนราคา 60 ปลายถึง 70 กว่า สูงสุด 76.50 บาท (21 ม.ค.64) พอ circuit breaker (13 มี.ค.63) เปิด 43.00 บาท วูบลงไป 39.50บาท (ต่ำสุดปี 63) ก่อนทะยานกลับมาปิด 50.00 บาท จากนั้นมาไกลได้ที่ 70.75 บาท (8 มิ.ย.64) สิ้นปีปิดที่ 53.00 บาท ขณะที่ราคาปิดสูงสุดคือ 75.00 บาท (20ม.ค.63) ปิดต่ำสุด 46.00 บาท (16 มี.ค.63)

ปี 64 ราคาสูงสุด 57.50 บาท (6 ม.ค.64) ต่ำสุด 48.50 บาท (1 ก.พ.64) ส่วน YTD -2.83% และเมื่อเทียบราคาต่ำสุดที่ 39.50 บาท (13 มี.ค.63) กับล่าสุด 12 มี.ค.64 ปิดที่ 51.50 บาท ขยับขึ้นมา 12.00 บาท หรือ +30.38%

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค ถูกจับตาว่าจะมาแรงในปี 64 จากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง


กำลังโหลดความคิดเห็น