xs
xsm
sm
md
lg

EPG เปิดรายได้ Q3 ปี 63/64 โกยกำไร 103% จากปีก่อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป เปิดงบไตรมาสที่ 3 ปี 63/64 (ต.ค.63-ธ.ค.63) บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,593.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 2,427.7 ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.8% การนำนโยบายลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมาใช้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 33.2% อยู่ในระดับสูง ทำให้มีกำไรสุทธิ 433.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 213.4 ล้านบาท นับเป็นสถิติสูงสุดใหม่ของกำไรสุทธิรายไตรมาส

นายเฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ยังคงส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในช่วงปลายปี 2563 เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นตัวและการสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ แต่การเริ่มระบาดระลอกใหม่ของโรค Covid-19 ในเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ ระงับโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม บริษัทมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่เข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ปี 63/64 (ต.ค.63-ธ.ค.63) บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,593.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 2,427.7 ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.8% การนำนโยบายลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมาใช้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 33.2% อยู่ในระดับสูง ทำให้มีกำไรสุทธิ 433.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 213.4 ล้านบาท นับเป็นสถิติสูงสุดใหม่ของกำไรสุทธิรายไตรมาส

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินงานของ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจฉนวนยางกันความร้อน/เย็น ภายใต้ แบรนด์ Aeroflex มีรายได้จากการขาย 648.1 ล้านบาท หรือลดลง 13.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดขายในประเทศยังเติบโตช้าตามการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง อีกทั้งความล่าช้าจากกระบวนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ยอดขายตลาดในสหรัฐอเมริกาปรับตัวดีขึ้นเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดขายในญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้นเทียบจากไตรมาสก่อน

ขณะที่ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeroklas มีรายได้จากการขาย 1,291.9 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 24.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้ากลุ่มชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ปีบัญชีก่อนหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

สำหรับธุรกิจในออสเตรเลียมียอดขายชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคนออสเตรเลียนิยมท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น รวมถึง TJM ได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดจำหน่าย

ด้านธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มีรายได้จากการขาย 653.1 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทกล่องใส่อาหาร เนื่องจากผู้บริโภคยุค New Normal นิยมสั่งอาหารเดลิเวอรี หรือซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น อีกทั้งได้รับอานิสงค์จากมาตรการภาครัฐเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศอีกด้วย ส่งผลให้ยอดขายของ EPP ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและไตรมาสก่อนหน้าบริษัทมีต้นทุนขายสินค้า 1,731.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับผลประโยชน์จากราคาวัตถุดิบที่อ่อนตัวลง และการบริหารจัดการให้ต้นทุนในการผลิตลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 6.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งไตรมาสนี้บริษัทรับรู้รายได้อื่นจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลต่างประเทศในบางประเทศที่บริษัทย่อยตั้งอยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนการจ้างงานของกิจการในช่วงการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 จำนวน 50.8 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ที่ 40.8 ล้านบาท ลดลง 5.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทร่วมในจีนมีต้นทุนผลิตที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการขยายธุรกิจของกิจการร่วมค้าในแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตามบริษัทร่วมในประเทศที่ผลิตสินค้าเพื่อขายให้อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวต่อเนื่องรายไตรมาส


กำลังโหลดความคิดเห็น