xs
xsm
sm
md
lg

คดี “ชยันต์” ยังไม่สิ้นสุด / สุนันท์ ศรีจันทรา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พักการเป็นบุคลากรในตลาดทุนของ นายชยันต์ อัคราทิตย์ อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เอเชียเวลท์ จำกัด เป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเป็นข่าวชิ้นเล็กๆ และไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป แต่เป็นข่าวใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากคนในแวดวงตลาดทุน

เพราะคำตัดสินของศาลปกครองกลาง ทำให้ ก.ล.ต. ถูกตั้งคำถามถึงความรอบคอบ รัดกุมในการพิจารณาความผิดบุคลากรในตลาดทุน โดยเฉพาะกรณีของนายชยันต์ ซึ่งกลับมาอยู่ในฐานะผู้บริสุทธิ์ตามคำตัดสินของศาลปกครองกลาง แต่ละปี ก.ล.ต. สั่งลงโทษบุคลากรในตลาดทุนนับสิบๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับคำตัดสินของ ก.ล.ต. แต่ นายชยันต์ และ น.ส.ชญานี โปขันเงิน อดีตผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียเวลท์ ซึ่งถูกคำสั่งลงโทษพักการเป็นบุคลากรในตลาดทุนตามความผิดเดียวกัน ไม่ยอมรับคำตัดสิน และสู้ยิบตากับ ก.ล.ต.

นายชยันต์ และ น.ส.ชญานี ถูก ก.ล.ต. ลงโทษพักการเป็นบุคลากรในตลาดทุน 1 ปี เนื่องจากความผิดให้การขัดต่อความจริง มีเจตนาเพื่อช่วยเหลือปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด การใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท

นายชยันต์ ได้ยื่นฟ้อง นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ในขณะนั้น โดยยื่นฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด แต่ศาลยกฟ้อง

ต่อมา นายชยันต์ กับ น.ส.ชญานี ได้ร่วมกันฟ้องคณะกรรมการวินัย ก.ล.ต.รวม 5 คน เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง 200 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา

คำตัดสินของศาลปกครองกลาง ยกเลิกคำสั่งพักการเป็นบุคลากรในตลาดทุน และมีผลย้อนหลังในทันที จะมีผลต่อการฟ้องคณะกรรมการวินัย ก.ล.ต. เรียกค่าเสีย 200 ล้านบาทหรือไม่ คงไม่มีใครก้าวล่วงการพิจารณาของศาลแพ่ง และเช่นเดียวกัน ไม่อาจนำคำตัดสินของศาลปกครองกลาง กรณีนายชยันต์ ก้าวล่วงการพิจารณาของศาลปกครองกลาง กรณี น.ส.ชญานี ที่ร้องขอเพิกถอนคำสั่งของ ก.ล.ต. ซึ่งจะตัดสินในวันที่ 30 เมษายนนี้

แม้ว่าขณะนี้นายชยันต์ จะถือเป็นผู้ที่ไม่มีมลทิน จากคำสั่งลงโทษของ ก.ล.ต. แต่คดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด เพราะ ก.ล.ต.สามารถยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลปกครองได้ภายใน 30 วัน ซึ่ง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการพิจารณายื่นอุทธรณ์ และคำตัดสินในชั้นอุทธรณ์จะเป็นที่สิ้นสุด

อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลปกครองกลางกรณีนายชยันต์ กำลังทำให้ ก.ล.ต. ถูกตั้งคำถาม บกพร่อง หละหลวมไม่รัดกุมอย่างไร จน ก.ล.ต. ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมเสียเอง

ทุกคนมีสิทธิปกป้องตัวเอง หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานรัฐ โดยร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งนายชยันต์ ได้ใช้สิทธิแล้ว แต่ ก.ล.ต.ยังเหลือสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งกรณีนายชยันต์ เพื่อยืนกรานกระบวนการพิจารณาคำสั่งนายชยันต์ ว่า เป็นไปอย่างชอบธรรม ในกรอบของกฎหมาย บนพยานหลักฐาน ด้วยความโปร่งใส โดยปราศจากอคติใดๆ


การอุทธรณ์คำตัดสินศาลปกครองกลาง กรณีนายชยันต์ มีความสำคัญกับ ก.ล.ต. เป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญต่อกระบวนการพิจารณาความผิดบุคลากรในตลาดทุน ซึ่งเป็นที่เชื่อมั่นมาตลอดว่า ก.ล.ต. มีความเที่ยงธรรมในการตัดสินลงโทษบุคลากรในตลาดทุน และผู้ที่ถูกลงโทษได้กระทำความผิดจริง

แต่ความเชื่อมั่นกระบวนการพิจารณาลงโทษบุคลากรในตลาดทุนที่ ก.ล.ต. สั่งสมมา 28 ปีเต็ม จะต้องพังทลายเพราะกรณีนายชยันต์ และ น.ส.ชญานี หรือ






กำลังโหลดความคิดเห็น