xs
xsm
sm
md
lg

"พิโก้ไฟแนนซ์-พิโก้พลัส" มียอดอนุมัติสินเชื่อสะสมรวมกว่า 3 พันล้านบาท

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"สศค." เผยสิ้นเดือน ส.ค.62 มีจำนวนนิติบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตสุทธิกว่า 1 พันราย โดยมียอดสินเชื่ออนุมัติสะสม 3.1 พันล้านบาท เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน 1.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 54.67% ด้านสินเชื่อคงค้างมี 1.2 พันล้านบาท สัดส่วน NPL s อยู่ที่ 9.72% ขณะที่ผลจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบสะสมตั้งแต่ ต.ค.59-ก.ย.62 จะมีรวมกัน 5.2 พันราย

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้สนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ทั้งประเภทพิโกไฟแนนซ์ และประเภทพิโกพลัส เมื่อถึงสิ้นเดือน ก.ย.62 ว่า มีนิติบุคคลยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ทั้งประเภทพิโกไฟแนนซ์ และประเภทพิโกพลัสรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,213 ราย ใน 76 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ยื่นคำขออนุญาตมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (106 ราย) กรุงเทพมหานคร (92 ราย) และขอนแก่น (64 ราย) ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีนิติบุคคลที่คืนคำขออนุญาตจำนวนทั้งสิ้น 125 ราย ใน 51 จังหวัด จึงคงเหลือนิติบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตสุทธิเป็นจำนวน 1,088 ราย ใน 75 จังหวัด และมียอดสะสมของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ทั้ง 2 ประเภท จำนวนทั้งสิ้น 710 ราย ใน 72 จังหวัด ซึ่งได้แจ้งเปิดดำเนินการแล้ว จำนวน 590 ราย ใน 68 จังหวัด และมีผู้ประกอบธุรกิจที่ปล่อยสินเชื่อแล้ว จำนวน 555 ราย ใน 67 จังหวัด

โดยแบ่งเป็นสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ มีจำนวนผู้ยื่นคำขออนุญาตสุทธิทั้งสิ้น 986 ราย ใน 76 จังหวัด โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์แล้ว จำนวน 699 ราย ใน 72 จังหวัด และมีผู้เปิดดำเนินการแล้วจำนวน 580 รายใน 68 จังหวัด และสินเชื่อประเภทพิโกพลัส มีจำนวนผู้ยื่นคำขออนุญาตสุทธิทั้งสิ้น 102 ราย ใน 43 จังหวัด ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์เดิมซึ่งได้รับใบอนุญาตและเปิดดำเนินการแล้วมายื่นขอเปลี่ยนใบอนุญาตเป็นสินเชื่อประเภทพิโกพลัส จำนวน 70 ราย ใน 35 จังหวัด และเป็นนิติบุคคลที่ยื่นคำขอใหม่ จำนวน 32 ราย ใน 8 จังหวัด โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสแล้วจำนวน 11 ราย ใน 6 จังหวัด และมีผู้เปิดดำเนินการแล้ว จำนวน 10 ราย ใน 6 จังหวัด

ส่วนยอดสินเชื่ออนุมัติสะสมรวม ณ สิ้นเดือน ส.ค.62 จะมีทั้งสิ้น 119,551 บัญชี รวมเป็นจำนวนเงิน 3,137.05 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ยจำนวน 26,240.21 บาทต่อบัญชี ทั้งนี้ ประกอบด้วยสินเชื่อแบบมีหลักประกันจำนวน 57,613 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 1,714.96 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.67 ของจำนวนยอดสินเชื่ออนุมัติสะสม และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันจำนวน 61,938 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 1,422.09 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.33 ของจำนวนยอดสินเชื่ออนุมัติสะสม

ด้านยอดสินเชื่อคงค้างรวมเมื่อสินเดือน ส.ค.62 จะมีทั้งสิ้น 44,861 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 1,273.01 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อคงค้างชำระ 1-3 เดือน จำนวน 5,574 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 173.08 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13.60% ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม และมีสินเชื่อคงค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) จำนวน 4,253 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 123.70 ล้านบาท หรือคิด 9.72% ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม

นายธีรชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินจากธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ สิ้นเดือน ก.ย.62 มีการอนุมัติสินเชื่อรวม 622,063 ราย เป็นจำนวนเงิน 27,357.27 ล้านบาท จำแนกเป็นสินเชื่อที่อนุมัติแก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 576,434 ราย เป็นจำนวนเงิน 25,389.49 ล้านบาท และสินเชื่อที่อนุมัติให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 จำนวน 45,629 ราย เป็นจำนวนเงิน 1,967.78 ล้านบาท

การดำเนินการอย่างจริงจังต่อเจ้าหนี้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงกวดขันจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดสะสมนับตั้งแต่เดือน ต.ค.59 จนถึงสิ้นเดือน ก.ย.62 มีรวมกันทั้งสิ้น 5,297 คน


กำลังโหลดความคิดเห็น