xs
xsm
sm
md
lg

“อารักษ์” ยันแลกหุ้น KPN ย้ำมีเงื่อนไข-ติดไซเรนพีเรียด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ผมมองว่า KPN มีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาเขาโฟกัสไปที่พลังงาน คือวินด์ฯ ทำให้ส่วนของแบรนด์ KPN ดรอปไปหลายปี แต่ตอนนี้เขาจะหันมาพัฒนาและขยายสาขาให้มากขึ้น แบรนด์ KPN เป็นที่รู้จักแพร่หลาย คือโรงเรียนสอนภาษาและโรงเรียนกวดวิชา ทาง KPN ต้องการมาแพกกับ ECF ในส่วนของสาขาที่ทั้งเรา และเขาจะเปิดเพิ่ม ก็จะแพกกันไป เราจะได้ในส่วนการซัปพอร์ต เฟอร์นิเจอร์ พื้น ราวบันไดและอื่นๆ เพื่อสาขานั้นๆ ที่สำคัญ KPN เขามี education Zone มีสถาบันกวดวิชา มีโรงเรียนสอนดนตรี ส่วนรายได้แต่ละสาขาของ KPN นั้น สาขาละ 10 กว่าล้านบาท"

สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนครั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายและแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตภายใต้แบรนด์โรงเรียนสอนดนตรีที่เก่าแก่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทย เพราะ KPN มีชื่อเสียงมากและโด่งดังมาก่อน แต่หลังจากผู้บริหารหันมาให้ความสนใจพลังงาน ปล่อยให้ธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีก้าวไปอย่างไม่เป็นท่าและผลประกอบการขาดทุน และนี่คือการนำมาปัดฝุ่นใหม่ และต้องการพันธมิตรที่จะเข้าไปเชื่อมโยงในการขยายสาขาเพิ่ม ด้วยเป้าหมายการเปิดให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศและในบางจังหวัดมีสาขาถึงสองแห่งอยู่แล้ว ขณะที่ ECF จะเอื้อในการใช้เฟอร์นิเจอร์และอื่นๆ เพื่อตกแต่งสาขาของ KPN เนื่องจากปัจจุบัน ECF ได้หันไปทำองค์ประกอบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยทำเพื่อให้มีความหลากหลายเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

สำหรับแผนการลงทุนในธุรกิจพลังงาน ขณะนี้มีดีลอยู่ 2 โครงการ คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆ นี้หนึ่งดีล เป็นงานโซลาร์ฟาร์ม ขนาด 40-50 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนโครงการละประมาณ 1 พันล้านบาท และยืนยันว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนที่เหลือกู้เป็นโปรเจกต์ไฟแนนซ์ในโครงการนั้นๆ

เป้าหมายสำคัญคือ ECF ต้องการเน้นไปสู่ธุรกิจพลังงาน และมุ่งมั่นในอีก 3 ปีข้างหน้ารายได้หลักกว่า 50% จะมาจากธุรกิจพลังงาน แม้ปัจจุบันรายได้หลักมาจากธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ 90% อีกทั้งแผนการจะย้ายเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET

“ผมกำลังศึกษาอยู่ว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร จะเอาบริษัทลูกระดมทุนเข้าตลาดหรือตัวแม่คือ ECF ย้ายจากตลาด mai เข้าไปเลย ยังไม่ตัดสินใจตอนนี้ครับ ต้องดูความเหมาะสมในขณะนั้นด้วย ผมไม่รีบ ค่อยๆ ไปดีกว่า ผมจะทำอะไรต้องมั่นใจก่อน”

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ECF ยอมรับว่าในเรื่องของการก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญและคนของวินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ ถือว่ามีประสบการณ์สูง ขณะที่ ECF หันมารุกหนักด้านพลังงาน ก็จะเป็นผลดีเพราะบุคลากรที่เชี่ยวชาญการสร้างโรงไฟฟ้าและเรื่องอื่นๆ จะลดต้นทุนได้แห่งละหลายล้านบาท นั่นคือการเกื้อหนุนกันทั้งสองธุรกิจของทั้งสองบริษัท

“ผมเชื่อว่าหากทุกอย่างลงตัวและดำเนินไปตามที่คิดไว้ เราจะหนุนกันทั้งสองฝ่าย แต่ตอนนี้คือดีลมันยังไม่จบ เพราะมีอีกหลายเรื่องที่เราต้องเคลียร์กันให้ลงตัวตามเงื่อนไข”


กำลังโหลดความคิดเห็น