xs
xsm
sm
md
lg

KBANK​เผยไพรเวทแบงก์ครึ่งปีแรก​โตดีรับหุ้น​ขึ้น-เก็งบาทแข็งค่า​ต่อ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เคแบงก์​เผยธุรกิจ​ไพรเวทแบ​งกิ้ง​ครึ่งปีแรกเติบโต​ดี​รับอานิสงส์​ตลาดหุ้น​สดใส​ แต่ยังต้องระมัดระวัง​ตลาดยังมีความไม่แน่นอนสูง​ แนะกระจายความเสี่ยง​ ด้านลอมบาร์ดคาดบาทแข็งค่า​ต่อเนื่อง​

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์
Private Banking Group Head ธนาคาร​กสิกรไทย​(KBANK)​เปิดเผย​ในงานสัมมนา "Mid-year Economic Outlook 2019"ว่า​ ภาพรวมการดำเนินธุรกิจ Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทยในช่วงครึ่งปีแรกนี้มีจำนวนลูกค้า ประมาณ 11,000 คน จากเป้าหมายทั้งปีที่ 12,000 คน มี​สินทรัพย์​ภายใต้​การบริหาร​(AUM)​ รวมประมาณ 7.6 แสนล้านบาท จากสิ้นปีก่อนที่อยู่ 7.5 แสนล้านบาท​ และในปีนี้ตั้งเป้า AUM เติบโต 8-10% คาดหวังผลตอบแทนไว้ที่ 5-6% จากปีก่อนขาดทุน 2-3% โดย 5 เดือนที่ผ่านมาผลตอบแทนเติบโต 9% โดย​ปัจจัย​หลักมาจากดัชนี​ตลาดหลักทรัพย์​ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี

อย่างไร​ก็ตาม​ ในช่วงภาพรวมตลาดมีความ​ไม่แน่นอน​สูง​ ธนาคาร​จึงเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง โดย​แนะนำลงทุนในหุ้นไม่เกิน 50% ตราสารหนี้ และ สินทรัพย์ทางเลือก อาทิ ทองคำ เงินฝาก เงินตราต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ และ หุ้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์

"แม้ในปัจจุบั​นภาพตลาดจะมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น แต่ยังมีความคาดหวังที่จะปรับตัวดีขึ้นได้ หากสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นของรัฐบาลในแต่ละประเทศ รวมทั้งนโยบายการเงินเชิงรุกของธนาคารกลางในเศรษฐกิจหลักๆ โดยเฉพาะ FED รวมไปถึงความคืบหน้า หรือ ความชัดเจนในทางที่ดีของการเจรจาข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน"

นอกจากนี้ ในครึ่งปีหลังจะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 6 กองทุน มูลค่ารวม 20,000-30,000 ล้านบาท จากครึ่งปีแรกออกไป 6 กองทุน มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้ทัั้งปีนี้จะออกผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 12 กองทุน มูลค่ารวม 5-6 หมื่นล้านบาท โดยจะนำเสนอการลงทุนที่เน้นสินทรัพย์ หรือ กลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการเคลื่อนไหวของภาวะตลาดโดยรวมน้อย เนื่องจากบางสถานการณ์การกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลกแบบดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในปี 61 ที่ผลตอบแทนทั้งหุ้น และ ตราสารหนี้ทั่วโลกปรับตัวลงพร้อมกัน และ ถึงแม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ คือ เกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา แต่นับเป็นปีที่สร้างความหวั่นไหว และ ผิดหวังต่อนักลงทุนทั่วโลก

นายสเตฟาน โมเนียร์ ผู้บริหารงานการลงทุนระดับสูง, ลอมบาร์ด โอเดียร์ ไพรเวทแบงก์ (Chief Investment Officer, Lombard Odier Private Bank)
การลงทุนภายใต้ทางเลือก 2 ทาง มองว่า โลกอยู่ในช่วงท้ายของภาวะเศรษฐกิจโต หากเจรจาการค้าได้ และเฟดผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่ลูกค้าไม่ควรมั่นใจ และควรยึดหลักกระจายความเสี่ยง โดยให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 40% หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลอีก 40% เพราะในช่วงวัฎจักรเฟดลดดอกเบี้ย หากลูกค้าลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว ลูกค้าจะได้รับทั้งดอกเบี้ยและกำไร และที่เหลือ 20% ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ในทองคำ หรือเงินเยน-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะเยนซึ่งจะเป็นตัวสร้างสมดุล โดยการขายดอลลาร์ซื้อเยน ซึ่งตอนนี้เงินดอลลาร์ห่างจากจุดที่แพงถึง 2%

“เราอยู่ในช่วง late cycle แต่ปัจจัยบวกที่เฟดส่งสัญญาณและการเจรจาไปในทางบวก จะช่วยเราเติบโตไปได้ และไม่เกิดภาวะ Recession และประเทศในตลาดเกิดใหม่จะได้ประโยชน์จากช่วงนี้ ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ได้ โดยเรายังไม่ได้ให้น้ำหนักในหุ้นมากนัก”

**เก็งบาทแข็งหลุดต่ำกว่า​30**
ด้านนายโอมิน ลี นักกลยุทธ์ เศรษฐกิจ มหาภาค, ลอมบาร์ด โอเดียร์ (Head of Portfolio Solutions Asia, Asia Macro Strategist, Lombard Odier) กล่าว​​ว่า ทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้มีโอกาสแข็งค่าหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีกประมาณ 2-3% หรือประมาณ 60-90 สตางค์ ซึ่งอาจจะเห็นเงินบาทไปแตะที่ระดับ 28.50-29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงเดือนกรกฎาคมหรือกันยายนลงประมาณ 0.25% และในช่วงเดือนกันยายนและธันวาคมอีก 0.25% ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)

อย่างไรก็ดี แม้ว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า แต่ในข่วงเงินบาทแข็งค่าก็เป็นผลบวกต่อกำลังซื้อที่จะมีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีกำลังมากขึ้นในการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ เช่น โครงการโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืนนอกเหนือจากการพึงพาการส่งออกอย่างเดียว ขณะเดียวกัน ไทยสามารถอาศัยช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดในตลาดเกิดใหม่ที่มีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นแค่ตลาดสหรัฐฯ อย่างเดียว

“เฟดเริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินแล้ว คาดว่าเฟดจะค่อยๆ ลดดอกเบี้ยลง ซึ่งน่าจะมีการลดดอกเบี้ยรอบประชุมกรกฎาคม-กันยายนนี้ และรอดูผลจากการลด และค่อยลดอีกทีในเดือนธันวาคม ซึ่งในส่วนของไทยจะเห็นธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยหลังจากเฟด ทำให้บาทแข็งค่าต่อได้ แต่ไทยใช้โอกาสบาทแข็งค่าลงทุนต่อยอดการเติบโตเศรษฐกิจ”
กำลังโหลดความคิดเห็น