xs
xsm
sm
md
lg

อานิสงส์ FTA รถยนต์ไฟฟ้าไทย-จีนหนุน TWZ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการรายวัน 360 องศา - การปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-จีน ที่ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา โดยประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจมากที่สุดคือ กลุ่มรถยนต์นั่งไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle: EV ตลอดจนถึงแบตเตอรี่ เครื่องอัดประจุไฟฟ้า อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของ BOI

โดยหากปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปจากจีนลงเหลือ 0% จะเป็นอานิสงส์ทางบวกของ TWZ โดยตรง เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้า 0% แต่อาจทำให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบของบริษัทแบรนด์ยานยนต์ค่ายอื่นๆ ที่จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากจะไม่มีผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย หลายหน่วยงานภาครัฐทั้งกรมศุลกากร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการศึกษาเพื่อหาทางออกของปัญหา ในการแก้ไขมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากการปรับลดภาษีตามข้อตกลง FTA ไทย-จีน โดยมีการหยิบยกภาษีอากรขาเข้ารถไฟฟ้าให้ใกล้เคียงกับข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ระดับอัตราภาษีจาก 0% เป็น 20% ได้หรือไม่ หาไม่แล้วการเจรจาที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมและดึงให้ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ต่างชาติเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค จะสูญเปล่าลงทันที

ขณะเดียวกัน ณ วันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2562 เรื่อง การส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยประกาศฉบับดังกล่าวระบุถึง นโยบายการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ เพื่อเร่งรัดให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BATTERY ELECTRIC VEHICLES - BEV) และการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีหลัก (CORE TECHNOLOGY) โดยการใช้แพลตฟอร์มร่วมกันระหว่างการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จึงได้ผ่อนผันให้โครงการลงทุนประกอบรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และชิ้นส่วน ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HYBRIDELECTRIC VEHICLES - HEV) ตามประเภทกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HYBRID ELECTRIC VEHICLES - HEV) และชิ้นส่วนในโครงการเดียวกันได้โดยมีเงื่อนไขกำหนดเวลาการเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์และการใช้หรือผลิตชิ้นส่วนเพิ่มเติม ได้แก่ BATTERY, TRACTIONMOTOR, DRIVE CONTROL UNIT (DCU) และ BATTERY MANAGEMENT SYSTEM (BMS)และอีก ๒ ใน 4 ชิ้น ตามประเภทกิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ HYBRID,BATTERY ELECTRIC VEHICLES (BEV) และ PLUG-IN HYBRID ELECTRIC VEHICLES (PHEV) ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน โดยผู้ขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า HEV ตามประเภทกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HYBRIDELECTRIC VEHICLES - HEV) และชิ้นส่วน ในโครงการเดียวกันได้ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2562 ซึ่งนั่นเท่ากับว่าการเจรจาเพื่อดึงนักลงทุนผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์ ที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเดินหน้าต่อไปได้ ไม่สะดุดลง เพราะช่องว่างในข้อตกลงสัญญามาตรการทางภาษี FTA


กำลังโหลดความคิดเห็น