xs
xsm
sm
md
lg

สรรพากรเก็บภาษีเกินเป้า 3.8 หมื่นล.

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อธิบดีสรรพากร เผย ผลจัดเก็บรอบ 6 เดือนของปีงบฯ 62 จะมีทั้งสิ้น 3.8 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการเป็นตรั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ยืนยันมั่นใจตลอดปีเก็บภาษีได้ตามเป้า 2 ล้านล้านบาท จากการจัดเก็บก่อนหน้าที่เคยเกินเป้า แต่มาทรุดลงเมื่อในเดือน มี.ค. - มี.ค. ตามเศรษฐกิจที่ชะตัวลง และกลับมาเกินเป้าอีกครั้งในเดือน พ.ค. ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท

นายเอกนิติ นิติฑัณท์ประภาส อธิบดีกรรมสรรพากร กล่าวถึงผลการจัดเก็บรายได้กรมสรรพากรในรอบ 6 เดือนของปีงบประมาณรายจ่าย 62 สามารถจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านล้าบบาท หรือสูงกว่าเป้า 38,000 ล้านบาท หรือถือเป็นการจัดเก็บที่สูงว่าประมาณการเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี แม้จะมีปัญหาการเมืองในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ- จีนที่ส่งผลกระทบกับการส่งออกให้ชะลอตัวลงอย่างมากก็ตาม แต่กรมสรรพากรก็ยังสามารถเก็บรายได้เกินเป้า สำหรับเป้าการจัดเก็บรายได้รวมของกรมสรรพากร
ตลอดปีงบประมาณฯ 62 จะอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 80% ของรายได้รวมของรัฐบาล ขณะที่เป้าจัดเก็บในปีงบประมาณ 63 จะอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมสรรพากรมั่นใจว่าสำหรับผลจัดเก็บรายได้ตลอดปีงบประมาณ 62 ยังจะเป็นไปตามเป้าได้อย่างแน่นอน โดยก่อนหน้ากรมสรรพากรสามารถจัดเก็บราบได้เกินเป้า ก่อนที่จะเห็นสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบการจัดเก็บให้ต่ำกว่าเป้าในเดือน มี.ค. และ เม.ย. แต่เมื่อถึงเดือน พ.ค. ผลการจัดเก็บรายได้กลับมาเกินเป้าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากนโยบายต่างๆ ที่กรมสรรพากรเคยทำไว้ได้เริ่มส่งผลกับการจัดเก็บภาษีในหมวดอื่นๆ เช่น ภาษีปิโตรเลียม ส่วนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวลง ขณะที่รายได้การจัดเก็บภาษีนิติบุคคลยังคงต้องรอจนกว่าจะถึงเดือน มิ.ย. ซึ่งจะมีส่วนสำคัญจากการออกนโยบายสนับสนุนการจดทะเบียนขอทำบัญชีเดียวของวิสาหกิจขนาดการขนาดย่อมโดยการ พ.ร.บ. งดเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษี ซึ่งจะสิ้นสุดการให้โอกาสตามโครงการนี้ในวันที่ 30 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ กรมสรรพากรยังอยู่ระหว่างการศึกษาภาษี e-Withholding Tax สำหรับนิติบุคคลด้วย เนื่องจากกฎหมาย e-Payment
อนุญาตให้กรมสรรพากรสามารถดำเนินการได้ โดยปัจจุบันกรมสรรพากรอยู่ระหว่างเตรียมกฎหมายลูก ซึ่งในอนาคตจะทำให้ลดต้นทุนด้านกระดาษลงได้อย่างมาก

นายเอกนิติ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งซึ่งช่วยให้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้เกินเป้านั้น จะเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านดิจิทัลแลระบบการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมถึงการนำระบบนวตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้อย่างเข้มข้น โดยการเชื่อมโยงข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีกับหน่วยงานต่างๆ เช่น เบี้ยประกันสุขภาพ เงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หน่วยรับบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ทั้งนี้ นโยบายในระยะต่อไปนั้น กรมสรรพากรยังจะผลักดันการทำโครงการขับเคลื่อนด้าน Digital Transformation อย่างต่อเนื่องในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องการเสียอากรแสตมป์สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกรมสรรพากรจะเปิดตัวโครงการดังกล่าวในปลายเดือน มิ.ย. 62 และต้นเดือน ก.ค. 62 จะเริ่มใช้ได้ นอกจากนี้ กรมสรรพากรจะยังมีการพัฒนาระบบการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเปิดให้มีผู้บริการระบบ (Service Provider) เข้ามาร่วมให้บริการผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรด้วย รวมถึง การทำฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนที่ใช้ตรวจจับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และเครือข่ายการออกใบกำกับภาษีปลอม เพื่อแยกคนดีออกจากคนไม่ดี รวมทั้ง ยังจะมีการจัดตั้ง Tax Innovation Lab เพื่อศึกษาถึงการนำเทคโนโลยี Block Chain เข้ามาใช้ในการให้บริการแก่ผู้เสียภาษีโดยเฉพาะการบริการคืนภาษีแก่นักท่องเที่ยวซึ่จะเป็นโครงการทดลองที่เป็น Sand Block ของกรมสรรพากร ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะดำเนินการผลักดันตนเองให้ไป
สู่องค์กร Digital ในแบบที่ครอบคลุมทั่วราชอาณาจักรด้วย

นายเอกนิติ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพากรกำลังศึกษาและวิเคราะห์นโยบายภาษีของรัฐบาลว่ามีอะไรบ้าง และการลดภาษีให้ประชาชนนั้นแม้จะถือเป็นการช่วยลดภาระให้ประชาชนก็ตาม แต่กรมสรรพากรต้องพิจารณาด้วยว่าหากลดภาษีตัวใดตัวหนึ่งแล้วก็จำเป็นต้องพิจารณาปรับเพิ่มภาษีตัวหนึ่งตัวใดขึ้นมา หรือพิจารณาปรับลดสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีบางรายการที่ปัจจุบันถือว่าหมดความจำเป็น เพื่อป้องกันผลไม่กระทบกับรายได้และเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ ส่วนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากปัจจุบันที่จัดเก็บ 7%
นั้น อธิบดีกรมสรรพากร ย้ำว่า กรมสรรพากรยังไม่มีแนวคิดในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันยังมีปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และหากมีการปรับลดลง 1% รัฐจะสูญเสียรายได้กว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

ทั้งนี้ นายเอกนิติ ยังกล่าวว่า กรมสรรพากรมีหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาษีต่างๆ ที่เหมาะสมต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อให้รัฐบาลได้พิจารณาว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้หรือไม่ โดยตนมองว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาล กรมสรรพากรจะต้องนำเสนอผลการศึกษาที่จะเป็นประโยชน์ รวมถึงผลกระทบจากการจะใช้ภาษีในแต่ละตัวด้วย และหากมีรัฐบาลอย่างเป็นทางการแล้ว กรมสรรพากรก็พร้อมที่จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาในทันที ส่วนผลจะเป็นเช่นไรนั้นรัฐบาลต้องเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ใช่กรมสรรพากร แต่อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรไม่ได้มองว่าเรื่องการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากการลดภาษีจะกระทบกับรายได้ของรัฐบาล


กำลังโหลดความคิดเห็น