xs
xsm
sm
md
lg

เวิลด์​แบงก์​แนะพัฒนา​ระบบพื้นฐาน​-บุคลากร​เดินหน้าสู่ยุคศก.ดิจิทัล​

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ธนาคาร​โลก​เปิด​ตัวรายงาน​"เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เสริมรากฐานอนาคตให้เข้มแข็ง" นำเสนอ​โอกาสและความท้าทายในการขยายการพัฒนาดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงประโยชน์ทั้ง ด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการใช้เทคโนโลยื

นางบูเทเนีย กูเอมาซิ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาดิจิทัล ธนาคารโลก กล่าวว่า แม้ว่ามีคนมากมายใช้บริการดิจิทัล รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเองก็มีการนำดิจิทัลไปใช้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นไปค่อนข้างซ้ำ อุปสรรคในการใช้ระบบดิจิทัลยังเป็นเรื่องข้อจำกัดด้านกฎระเบียบชื้อปังคับและการขาดความเจื่อใจในการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยใหม่ ๆ จะช่วยให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถก้าวผ่านความท้าทายในการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลเหล่านี้

รายงานนี้ได้ระบุประเด็นสำคัญ 6 ประการเพื่อพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากประแรก คือการขยายการเชื่อมต่อซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจดิจิทัล แม้ว่าประชากรในภูมิภาคนี้เกินกว่าครึ่งสามารถเช้าถึงอินเทอร์เนต แต่ก็ยังสามารถที่จะขยายเพิ่มได้อีก โดย​กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางนั้น ประขากรเพียง 2 ใน 5 เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (4G) ได้​ ซึ่ง​หากมีนโยบายที่ช่วยให้ราคาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถูกลง เพิ่มความเร็ว และมีสัญญาณบอร์ดแบรนด์ที่เชื่อถือได้ในพื้นที่ที่ควรได้รับ​ ก็จะช่วยให้มีการเข้าถึงอินึในวงกว้าง​ขึ้น​ ดังนั้น​ หากภาครัฐและภาคเอกชนสามารถร่วมมือกันได้อย่างแข็งขัน และใช้ระเบียบข้อบังคับเชิงรุกจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่จำเป็น และช่วยสร้างการแข่งขันในภาคโทรคมนาคมอย่างสมบูรณ์

ประการที่2 การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในทุกภาคส่วนของแต่ละประเทศนั้น จำเป็นต้องสร้างกำลังแรงงานที่มีทักษะอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาจึง​เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาความรู้ด้านเทคนิคและการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลก ทั้งนี้การปรับตัวและการเรียนรู้ตลอดชีวิตทวีความสำคัญมากกว่าที่เคย รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องไปกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างภูมิภาคอื่นๆของโลก

ประการที่สาม​ ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ ส่วนใหญ่ยังคงชำระเงินด้วยเงินสดอย่างแพร่หลาย รายงาน Gobal Financial Inclusion (Findex) ของธนาคารโลก พบว่า มีผู้ถือบัญชีเงินเพียง 19 %เท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลในบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น การใช้กฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มแข็งและการใช้ระบบการกำหนดอัตลักษณ์ดิจิทัลที่ทันสมัยสามารถช่วยสร้างสภาพแวลล้อมสำหรับการเงินดิจิทัลได้ ขณะเดียวกัน การทำให้ระบบการชำระเงินของภาครัฐเป็นระบบดิจิทัลในด้านการจ่ายเงินบำนาญ การโอนเงินสด และการจ่ายเงินโครงการด้านสังคมอื่น ๆ จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ
สร้างแรงกระเพื่อมในเรื่องนี้ได้

ประกาศที่ 4 รายงานยังเน้นว่าการพัฒนาด้านดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่สามารถพึ่งพาแค่การมีรากฐานเสมือนจริง ภาคลอจิสติกส์ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับภูมิภาคนี้ กรอบกฎระเบียบข้อบังคับเรื่องลอจิสติกส์ที่ทันสมัยสามารถเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขัน ลดค่าใช้จ่ายด้านลอจิสติกส์และปรับปรุงคุณภาพบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปรับระเบียบพิธีการด้านศุลกากรให้ความคล่องตัวมากขึ้นเพื่อให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายลดลง และคาดการณ์เวลาได้ รวมถึงจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมาก

ประการที่ 5 การรวมตัวของภูมิภาค รวมถึงการประสานกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศในอาเซียนสามารถช่วยผสานประโยชน์ที่จะได้รับจากตลาดดิจิทัลทั้งในส่วนของธุรกิจและลูกค้าได้

และประการสุดท้ายนี้ รายงานนี้นำเสนอว่า ในการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพสำหรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กระแสข้อมูลระหว่างประเทศ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ข้อมูลส่วนตัว และการปกป้องลูกค้านั้น จะต้องมีการระบุความเสี่ยงและความเปราะบางที่จะมาพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลด้วย มาตรการที่เข้มแข็งในประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเชื่อใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงสร้างความปลอดภัย เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีความยั่งยืน

ด้านนาย​พิเชฐ​ ดุรงคเวโรจน์​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ดิจิทัล​เพื่อ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ กล่าว​ว่า​ กระทรวง​ดิจิทัล​ฯได้ให้ความสำคัญ​กับ​การพัฒนา​ด้าน​ดิจิทัล​มาตลอด​ผ่าน​ Digital​ Thailand ในกรอบที่เรียกว่า ​SIGMA ซึ่ง​ประกอบด้วย​ S:Cyber Security เป็นสิ่งที่ต้องให้​ความสำคัญ​มากเพื่อ​การขยาย​ตัวอย่างยั่งยืน​ ล่าสุด​ในปีนี้กระทรวง​ดิจิทัล​ฯก็จะจัดตั้งหน่วย​งาน​ที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ​และจัดอบรมเพื่อให้ความรู้​ด้านนี้ด้วย​, I:Digital Infrastructure ก็มี​แนวทางที่จะ​ทำเรื่อง​ของ​เน็ต​ ประชารัฐ​ การทำ Smart​ Cities ซึ่ง​ได้เริ่ม​แล้ว​ในจังหวัด​ภูเก็ต​ เชียงใหม่​ ขอนแก่น​ และอีก​ 3 จังหวัด​ที่เชื่อมต่อ​ ECC

รวมถึง​ G:Digital Government โดยมี​แนวทางจัดทำ​ Government Data Center, Big Data Analytics, Government one stop service และ​ Government Cloud Service เป็น​ต้น​, M:Digital Manpower หรือ​บุคลากร​ด้านดิจิทัล​ที่จะ​มีแนวโน้ม​ขาดแคลน​ในระยะอันใกล้นี้​ อาทิ​ ใน​ส่วน​ของ​ ECC ก็คาดการณ์​ว่าจะต้องการ​ถึง​ 84,000 คนในอีก​ 4 ปีข้างหน้า​ ซึ่ง​นอกจาก​แผนการเพิ่มทักษะระยะยาว​แล้ว​ การเรียนคอร์ส​สั้นๆอย่างเข้มข้นก็อาจจะ​ช่วยบรรเทา​ปัญหา​ดังกล่าว​ไปได้​ และ​A:DIGITAL Applications ทางกระทรวง​ดิจิทัล​ฯ​อยู่​ระหว่าง​ดำเนินการ​เรื่อง​ Digital Park Thailand, Digital ID ซึ่ง​จะ​ทำให้​สามารถ​ขยาย​การใช้​ Digital​ ในวงกว้าง​ได้​โดยจะเริ่มจากธนาคาร​พาณิชย์​ในเร็ว​ๆนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น