xs
xsm
sm
md
lg

โอเชี่ยน คอมเมิรชจับมือ “บางจากไบโอฟูเอล” เซ็น MOU ขยายตลาดไบโอดีเซล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โอเชี่ยน คอมเมิรช เซ็นสัญญาลงนาม MOU กับ “บางจากไบโอฟูเอล” เพื่อร่วมศึกษาพัฒนาธุรกิจและสร้างความเป็นไปได้ในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล B7-B10 (รวมถึง B20) ผลักดันให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย

นางชัชชญา ไตรตระกูลชัย รองประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) หรือ OCEAN ลงนามความร่วมมือ (MOU) ของบริษัทฯ กับบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (บางจากไบโอฟูเอล) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือของบริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นคู่ค้ารายใหญ่ซึ่งซื้อน้ำมันปาล์ม CPOA จากบริษัทฯ
โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 ระหว่างบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด โดย นายธนชิต มกรานนท์ กรรมการผู้จัดการ และบริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) โดยนางชัชชญา เป็นตัวแทนในการลงนาม เพื่อร่วมกันศึกษาพัฒนาธุรกิจและสร้างความเป็นไปได้ในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล B7-B10 (รวมถึง B20) ผลักดันให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งร่วมกันพิจารณาเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลดังกล่าว
 
ทั้งนี้ บริษัทฯได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม มีความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง จะดำเนินหน้าที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้แก่บางจากไบโอฟูเอลได้อย่างดี ซึ่งบางจากไบโอฟูเอลเล็งเห็นถึงศักยภาพของบริษัทฯ ว่ามีเครือข่ายพันธมิตรทั้งเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน และโรงสกัดที่ครอบคลุมหลากหลายจังหวัดในภาคใต้ เช่น, กระบี่, สุราษฎ์ธานี, พังงา, ตรัง และนครศรีธรรมราช รวมมีกำลังการผลิตรวมราว 1,510 ตันทะลายต่อชั่วโมง หรือมีปริมาณผลปาล์มวันละ 16,610 ตัน สามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้ 2,990 ตัน
 
โดยในเครือข่ายดังกล่าว มีสมาชิกมากกว่า 60,000 ราย และมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 700,000 ไร่ ซึ่งเครือ
ข่ายของบริษัทฯจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับบางจากไบโอฟูเอลด้านการจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามนโยบายเทคโนโลยีสีเขียวของบางจาก อีกทั้งช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่เกษตรกร-อุปทานทั้งระบบอุตสาหกรรมปาล์มรวมถึงสังคมโดยรวม อันเป็นการแก้ไขปัญหาด้านราคาและปริมาณปาล์มใรตลาดที่มักเกิดขึ้นกับชาวเกษตรกรสวนปาล์มในปัจจุบัน

“ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของปี 2019 อันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบริษัทฯ ว่า เราสามารถริเริ่ม และร่วมงานกับบริษัทระดับประเทศ เพื่อพัฒนาโครงการที่ดีได้ เราหวังว่า การพัฒนาศึกษานี้จะสร้างความก้าวหน้าให้แก่อุตสาหกรรมปาล์มและน้ำมันในประเทศไทย ขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มของประเทศให้โตมากขึ้นดังเช่นประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทั้งนี้ การลงนามฯ จะเสริมสร้างพื้นฐานการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้มั่นคงและแน่นอนว่าเป็นการปูทางให้บริษัทฯ ได้มีโอกาสเข้าแข่งขันและพัฒนาโครงการความร่วมมืออื่นๆ ในอนาคตด้วย” นางชัชชญา กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น