xs
xsm
sm
md
lg

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 13 ก.ค. 2561

- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) กลับไปยืนอยู่เหนือระดับ 25,000 จุดได้อีกครั้ง ด้าน S&P 500 ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 2,800 จุด และ Nasdaq ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน หลังฤดูรายงานผลประกอบการได้เริ่มเปิดฉากขึ้นแล้ว ซึ่งธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสก่อนตลาดเปิดทำการในวันศุกร์ (13 ก.ค.) ซึ่งผลออกมามีทั้งที่ดีกว่าคาดการณ์ และแย่กว่าคาด

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,019.41 จุด เพิ่มขึ้น 94.52 จุด หรือ +0.38% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,801.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.02 จุด หรือ +0.11% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,825.98 จุด ขยับขึ้น 2.06 จุด หรือ +0.03%

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) โดยนักลงทุนหันมาติดตามการรายงานผลประกอบการจากบรรดาธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ ขณะที่ยังคงจับตาสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.66 จุด หรือ 0.17% ปิดที่ 385.03 จุด และปรับตัวขึ้น 0.7% ตลอดทั้งสัปดาห์

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปิดที่ 5,429.20 จุด เพิ่มขึ้น 23.30 จุด หรือ +0.43% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมัน ปิดที่ 12,540.73 จุด เพิ่มขึ้น 47.76 หรือ +0.38% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ปิดที่ 7,661.87 จุด เพิ่มขึ้น 10.54 จุด หรือ +0.14%

- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) โดยแรงบวกในช่วงแรกถูกสกัด เนื่องจากเงินปอนด์กลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้กลับลำบอกว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษ และสหรัฐฯ ยังคงเป็นไปได้ จากที่ก่อนหน้านี้เพิ่งแสดงความเห็นโจมตีแผน “ซอฟต์เบร็กซิต” ว่าอาจทำลายข้อตกลงการค้าอังกฤษ-สหรัฐฯ

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,661.87 เพิ่มขึ้น 10.54 จุด หรือ +0.14% ขณะที่ทั้งสัปดาห์ปรับตัวขึ้น 0.6% หลังลดลงติดต่อกันมาสองสัปดาห์

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) จากคำสั่งซื้อเก็งกำไร แต่รวมทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมันร่วงลงอย่างหนัก จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการที่ลิเบีย กลับมาส่งออกน้ำมันอีกครั้ง ประกอบกับการคาดการณ์ที่ว่า อิหร่านจะยังคงสามารถส่งออกน้ำมัน แม้เผชิญกับการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนยังคงซึมซับรายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ที่เตือนว่า การที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพิ่มการผลิตอาจกระทบกำลังการผลิตส่วนเกินในตลาด ด้านเบเกอร์ ฮิวจ์เผยแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ มีจำนวนคงที่ในสัปดาห์นี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับตัวขึ้น 68 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 71.01 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ราคาสัญญาร่วงลง 3.8%

สัญญาน้ำมันดิบเบรนต์ส่งมอบเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 88 เซ็นต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 75.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ลดลง 2.3% ตลอดสัปดาห์

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ ราคาทองยังถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ส.ค. ลดลง 5.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 0.43% ปิดที่ 1,241.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ขณะที่ทั้งสัปดาห์ สัญญาทองคำปรับตัวลดลง 1.2% ซึ่งเป็นการลดลงสัปดาห์ที่ 4 ในรอบ 5 สัปดาห์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน ก.ย. ลดลง 16.2 เซ็นต์ หรือ 1.0% ปิดที่ 15.815 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ต.ค. ร่วงลง 16.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.9% ปิดที่ 830.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน ก.ย. ร่วงลง 16 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.7% ปิดที่ 932.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์

- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลง ภายหลังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 112.30 เยน จากระดับ 112.51 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 1.0021 ฟรังก์ จากระดับ 1.0027 ฟรังก์ และอ่อนลงแตะ 1.3162 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.3172 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ระดับ 1.1678 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากระดับ 1.1667 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3228 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากระดับ 1.3208 ดอลลาร์สหรัฐฯ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.7414 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากระดับ 0.7403 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 25,019.41 จุด เพิ่มขึ้น 94.52 จุด +0.38%
ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 2,801.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.02 จุด +0.11%
ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 7,825.98 จุด ขยับขึ้น 2.06 จุด หรือ +0.03%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ปิดที่ 7,661.87 จุด เพิ่มขึ้น 10.54 จุด +0.14%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมัน ปิดที่ 12,540.73 จุด เพิ่มขึ้น 47.76 จุด +0.38%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปิดที่ 5,429.20 จุด เพิ่มขึ้น 23.30 จุด +0.43%
ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดีย ปิดที่ 36,541.63 จุด ลดลง 6.78 จุด, -0.02%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ 3,260.35 จุด เพิ่มขึ้น 7.34 จุด, +0.23%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ 1,721.93 จุด เพิ่มขึ้น 18.36 จุด, +1.08%
ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดที่ 5,944.07 จุด เพิ่มขึ้น 36.20 จุด, +0.61%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 28,525.44 จุด เพิ่มขึ้น 44.61 จุด, +0.16%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ปิดที่ 7,399.18 จุด เพิ่มขึ้น 48.60 จุด, +0.66%
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ปิดที่ 2,831.18 จุด ลดลง 6.48 จุด, -0.23%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดที่ 2,310.90 จุด เพิ่มขึ้น 25.84 จุด, +1.13%
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดที่ 6,268.40 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด, +0.00%
ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดที่ 6,351.90 จุด เพิ่มขึ้น 2.10 จุด, +0.03%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดที่ 10,864.54 จุด เพิ่มขึ้น 126.16 จุด, +1.17%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ 22,597.35 จุด เพิ่มขึ้น 409.39 จุด, +1.85%


กำลังโหลดความคิดเห็น