xs
xsm
sm
md
lg

BTS ร้อนแรง! จนลืมภาพ TYONG พันธมิตร ‘บีเอสอาร์’ ดันอนาคตสดใส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการรายวัน 360 องศา - ณ ชั่วโมงนี้ต้องยกให้ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เป็นหุ้นที่ร้อนแรงในกระดานซื้อขาย หลังบริษัทประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ออกมาอย่างโดดเด่น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการถือครองหุ้นของบริษัทพุ่งสูงขึ้นเป็น Volume Alert พร้อมสร้างฐานราคาใหม่ในรอบ 2 ปี

ปัจจัยที่ส่งผลให้ BTS กลายเป็นหุ้นขวัญใจมหาชนนักลงทุน เริ่มจากการประกาศงบกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้ที่ระดับ 4.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 120 % เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากค่ายต่าง ๆประมาณการณ์ โดยเหตุผลสำคัญที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาจากบริษัทบันทึกกำไรพิเศษสูงถึง 2.86 พันล้านบาท จากการขายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้บริษัทในเครือนั่นคือ บมจ.ยู ซิตี้ (U)

ไม่เพียงเท่านั้น BTS ยังได้ประกาศจ่ายปันผลและให้วอแรนท์ชุดที่ 4 โดยกำหนดเงินปันผลงวดล่าสุด 0.185 บาท/หุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 1 ส.ค. และจ่าย 16 ส.ค.61 พร้อมกับแจก BTS-W4 โดยขึ้น XW วันที่ 1 ส.ค. เช่นกัน ในสัดส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 โดย BTS-W4 อายุ 1 ปี ราคาใช้สิทธิที่ 10.50 บาท

“กวิน กาญจนพาสน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTS ให้เหตุผลต่อผลดำเนินงานในงวดล่าสุดว่า เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนและธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงมีการรับรู้กำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.88 พันล้านบาท ขณะที่รายได้รวมจากการดำเนินงานของ กลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 1.41 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.49 พันล้านบาท หรือ 64% จากปี 2560

เมื่อแยกธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบีทีเอส พบว่า ในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนบริษัทมีรายได้ 9.11 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 115 % หรือ 4.87 พันล้านบาทจากปีก่อน ซึ่งมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและจากการรับเหมาติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาอยู่ที่ระดับ 3.90 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือ 30% จากปีก่อน ทำให้โดยรวมบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นถึง 78% เป็น 2.51 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับกำไรจากการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้ผลดำเนินงานโดดเด่นจนนำไปสู่การประกาศจ่ายปันผล 0.185 บาท/หุ้นหรือคิดเป็นมูลค่ารวม 4.87 พันล้านบาท

“ด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ทำให้บีทีเอสมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันกำไรสุทธิได้บรรลุตามเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้ คือมีกำไรจากการดำเนินงานปกติโตเฉลี่ยปีละ 25% และคาดว่ารายได้ปีนี้จะโตก้าวกระโดดถึง 200% โดยยังคงมาจากธุรกิจหลัก คือระบบขนส่งมวลชน และการบันทึกรายได้จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง...เป้าหมายกลุ่มบีทีเอสคือ การเป็นผู้นำในการให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดของประเทศ ดังนั้นจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงทุกโครงการ เพราะถือเป็นธุรกิจหลักที่บีทีเอสมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด เรามีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเงินทุน พันธมิตร และ เทคโนโลยี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้านอกจากจะเป็นตัวขับเคลื่อนสร้างรายได้หลักให้บริษัทแล้ว ยังสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจสื่อโฆษณาและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กลุ่ม BTS ด้วย”

ขณะที่ธุรกิจสื่อโฆษณาภายใต้การบริหารงานของ บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) นั้น ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 3 ปีนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1 หมื่นล้านบาทในช่วงปี 2563/2564 จากปี 2560-2561 ที่มีรายได้ระดับ 4 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากปรับโครงสร้างและโอนสินทรัพย์ของกลุ่มบีทีเอสให้มาอยู่ภายใต้ บมจ.ยูซิตี้ (U) แล้ว บีทีเอส กรุ๊ปจะถือหุ้นในราว 39% โดยพอร์ตของ U จะมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันมีโรงแรมภายใต้การ บริหารรวมกันกว่า 1.9 หมื่นห้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ที่เกินคาด นั่นคือกรณีที่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ได้อนุมัติลดทุนจดทะเบียนโดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย หลังจากนั้นให้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 7.27 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ 6.33 หมื่นล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน 2.35 พันล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 4 บาท แบ่งเป็น จัดสรรไม่เกิน 1.76 พันล้านหุ้น รองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (วอแรนต์) หรือ BTS-W4 ที่จะออกจำนวน ไม่เกิน 1.76 พันล้านหน่วย ให้ฟรีแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิมต่อ 1 หน่วย อายุ 1 ปี มีอัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วย ต่อ 1 หุ้น ที่ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 10.50 บาท

ส่วนหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจำนวนไม่เกิน 592 ล้านหุ้น จะเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้ในการรองรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตได้อย่างทันกาล โดยบริษัทมีแผนการที่จะนำเงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนไปใช้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อขยายกิจการ

ขณะที่ปัจจัยซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นและอัตราการเติบโตของผลดำเนินงานในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ คือ การเข้าร่วมการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มูลค่า 2.24 แสนล้านของรัฐบาลโดยมีพาร์ทเนอร์กลุ่มบริษัทร่วมลงทุนคือ บีเอสอาร์ ในเรื่องดังกล่าว “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) แสดงความเห็นว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการรอศึกษาทีโออาร์อย่างละเอียด แต่มั่นใจในประสบการณ์และเรื่องระบบราง ประกอบกับมีกลุ่มบริษัทร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอย่าง บมจ.ซิโน-ไทย (STEC) ร่วมลงทุนด้วย จึงไม่มีปัญหา

สำหรับ กลุ่มร่วมลงทุนบีเอสอาร์ ประกอบไปด้วยบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% มี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งในกลุ่มนี้มีความพร้อมแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี ประสบการณ์การทำธุรกิจ ทำให้ผู้บริหารใหญ่ของ BTS มั่นใจว่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งในไทยและต่างชาติได้

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ยังชักชวนให้บริษัทร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตอบตกลง อย่างไรก็ตามได้มีการพูดคุยกันเบื้องต้นไปแล้ว

“กลุ่มบีเอสอาร์คุยกันตกลงว่าให้เราไปด้วยกันทุกโครงการ และยิ่งมี ปตท. เข้ามาด้วยดีเข้าไปอีกยิ่งสบายมาก ส่วนต่างประเทศถ้าจะร่วมลงทุนต้องมีข้อเสนอเช่น ขายระบบถูก 50% เราอาจจะพิจารณา”

โดยรวมการประกาศถึงอนาคตการดำเนินการที่สดใสจากแผนธุรกิจระยะยาวของ BTS รอบนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นเฉพาะ BTS เท่านั้น แต่บริษัทในเครืออย่าง VGI และ U จะได้รับอานิสงส์จากโปรเจกต์ยักษ์ของบริษัทแม่ไปด้วย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน BTS คือบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีอนาคตสดใส พร้อมเข้าประมูลระบบขนส่งมวลชนทุกโครงการ แม้จะเป็นโครงการลงทุนหลายแสนล้านบาทเพราะมีพันธมิตรมากมายที่พร้อมจะร่วมลงทุน ขณะที่ VGI ที่ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านและธุรกิจบริการด้านดิจิทัล ที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรได้ต่อเนื่อง จ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ มีเพียง U ที่ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ผลประกอบการยังย่ำแย่ ขาดทุนหลายปีติดต่อ แต่ผู้บริหารเชื่อว่าผลประกอบการจะเริ่มฟื้นตัวกลับทุกสิ่งเหล่านี้ ล้วนมาจากฝีมือของชายที่ชื่อ “คีรี กาญจนพาสน์” จริงๆ

ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ “คีรี” เปลี่ยนจากเจ้ามือหุ้น TYONG ที่แทบตกอยู่ในสภาพสิ้นไร้ไม้ตอก เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนกลายมาเจ้าพ่อรถไฟฟ้าอย่างเต็มภาคภูมิ หลังจากฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจปี 2540 จนรอดมาได้ พร้อมนำพา บมจ.ธนายง (TYONG) ที่กลายร่างเป็น BTS ในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จากราคาปิดก่อนเข้าแผนฟื้นฟูของ TYONG ที่เหลือเพียง 1.00 บาท / หุ้น ทั้งที่เคยขยับขึ้นไปถึง 544 บาท / หุ้น และการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรกที่ราคา 133 บาท พาร์ 10 บาท หรืออาจกล่าวได้ว่า BTS ในวันนี้ ไร้ประวัติด่างพร้อย ไม่เหมือนกับ TYONG ที่ทำให้นักลงทุนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ด้วยการเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ผลดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ปันผลดี แนวโน้มผลดำเนินงานสดใส พิสูจน์ได้จากความไว้ใจของนักลงทุนที่เข้าถือหุ้นเฉียด 8 หมื่นราย สูงกว่า TYONG ในสมัยก่อนที่มีผู้ถือเพียงไม่กี่พันรายเท่านั้น

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มธุรกิจของ BTS อย่างน่าสนใจว่า ด้านฐานะการเงิน อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำเป็น 0.3 เท่า ขณะที่การขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP อีก 592 ล้านหุ้น ถือว่าไม่มากเพราะคิดเป็น 5% จากหุ้นในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือเป้าหมายบริษัทในปีหน้าสิ้นสุด มี.ค.62 คือเติบโตสูง ในทุกประเภทธุรกิจ เริ่มจากธุรกิจรถไฟฟ้า ผู้โดยสารเพิ่ม 4-5% ราคาค่าโดยสารเพิ่ม 1.5-2.0% โดยมีปัจจัยบวกคือ รายได้รถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง ซึ่งจะบันทึกเป็นปีแรกในจำนวน 2.0-2.5 หมื่นล้านบาท ในส่วนของงานโยธา และเครื่องกล ทำให้แนวโน้มรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลืองปีแรกจะไม่ขาดทุน อีกทั้งมีดอกเบี้ยรับมาช่วยเสริม จากรายได้เครื่องกล (E&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว 7-9 พันล้านบาท รายได้โฆษณา (VGI) 4.4-4.6 พันล้านบาท และรายได้ U 6-7 พันล้านบาท

ด้านรายได้บริหารเดินรถคาดว่าจะเติบโต 30 % เนื่องจากธันวาคม 2561จะเริ่มมีรายได้บริหารเดินรถสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เต็มเส้นทางเป็นเวลา 4 เดือน และปีถัดไปเต็มปี ส่วนสีชมพู-เหลือง คาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ทำให้ต้องปรับประมาณการสำหรับปี 61-62 และ 62-63 ดีขึ้นในอัตรา 13% และ 11% ตามลำดับ

สมมุติฐานที่ดีขึ้นคือ อัตรากำไรขั้นต้นธุรกิจการให้เช่าและบริการโฆษณาให้เพิ่มเป็น 56.8% เช่นเดียวกับดอกเบี้ยรับที่ปรับเพิ่มขึ้นตามดอกเบี้ยจ่าย เพราะดอกเบี้ยรับที่เกิดขึ้นจากการตั้งภาครัฐเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชดเชยค่าก่อสร้างส่วนโยธาสายสีชมพู-เหลืองในอนาคตเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ และดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการลงทุนในส่วนเครื่องกล การจัดหารถ ก็สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ (capitalize) สิ่งเหล่านี้ ทำให้ราคาพื้นฐานใหม่ของ BTS เพิ่มขึ้นเป็น 11.00 บาท/หุ้น

ผู้จัดการรายวัน 360 องศา - ณ ชั่วโมงนี้ต้องยกให้ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เป็นหุ้นที่ร้อนแรงในกระดานซื้อขาย หลังบริษัทประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ออกมาอย่างโดดเด่น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการถือครองหุ้นของบริษัทพุ่งสูงขึ้นเป็น Volume Alert พร้อมสร้างฐานราคาใหม่ในรอบ 2 ปี

ปัจจัยที่ส่งผลให้ BTS กลายเป็นหุ้นขวัญใจมหาชนนักลงทุน เริ่มจากการประกาศงบกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้ที่ระดับ 4.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 120 % เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากค่ายต่าง ๆประมาณการณ์ โดยเหตุผลสำคัญที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาจากบริษัทบันทึกกำไรพิเศษสูงถึง 2.86 พันล้านบาท จากการขายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้บริษัทในเครือนั่นคือ บมจ.ยู ซิตี้ (U)

ไม่เพียงเท่านั้น BTS ยังได้ประกาศจ่ายปันผลและให้วอแรนท์ชุดที่ 4 โดยกำหนดเงินปันผลงวดล่าสุด 0.185 บาท/หุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 1 ส.ค. และจ่าย 16 ส.ค.61 พร้อมกับแจก BTS-W4 โดยขึ้น XW วันที่ 1 ส.ค. เช่นกัน ในสัดส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 โดย BTS-W4 อายุ 1 ปี ราคาใช้สิทธิที่ 10.50 บาท

“กวิน กาญจนพาสน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTS ให้เหตุผลต่อผลดำเนินงานในงวดล่าสุดว่า เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนและธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงมีการรับรู้กำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.88 พันล้านบาท ขณะที่รายได้รวมจากการดำเนินงานของ กลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 1.41 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.49 พันล้านบาท หรือ 64% จากปี 2560

เมื่อแยกธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบีทีเอส พบว่า ในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนบริษัทมีรายได้ 9.11 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 115 % หรือ 4.87 พันล้านบาทจากปีก่อน ซึ่งมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและจากการรับเหมาติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาอยู่ที่ระดับ 3.90 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือ 30% จากปีก่อน ทำให้โดยรวมบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นถึง 78% เป็น 2.51 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับกำไรจากการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้ผลดำเนินงานโดดเด่นจนนำไปสู่การประกาศจ่ายปันผล 0.185 บาท/หุ้นหรือคิดเป็นมูลค่ารวม 4.87 พันล้านบาท

“ด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ทำให้บีทีเอสมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันกำไรสุทธิได้บรรลุตามเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้ คือมีกำไรจากการดำเนินงานปกติโตเฉลี่ยปีละ 25% และคาดว่ารายได้ปีนี้จะโตก้าวกระโดดถึง 200% โดยยังคงมาจากธุรกิจหลัก คือระบบขนส่งมวลชน และการบันทึกรายได้จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง...เป้าหมายกลุ่มบีทีเอสคือ การเป็นผู้นำในการให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดของประเทศ ดังนั้นจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงทุกโครงการ เพราะถือเป็นธุรกิจหลักที่บีทีเอสมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด เรามีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเงินทุน พันธมิตร และ เทคโนโลยี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้านอกจากจะเป็นตัวขับเคลื่อนสร้างรายได้หลักให้บริษัทแล้ว ยังสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจสื่อโฆษณาและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กลุ่ม BTS ด้วย”

ขณะที่ธุรกิจสื่อโฆษณาภายใต้การบริหารงานของ บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) นั้น ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 3 ปีนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1 หมื่นล้านบาทในช่วงปี 2563/2564 จากปี 2560-2561 ที่มีรายได้ระดับ 4 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากปรับโครงสร้างและโอนสินทรัพย์ของกลุ่มบีทีเอสให้มาอยู่ภายใต้ บมจ.ยูซิตี้ (U) แล้ว บีทีเอส กรุ๊ปจะถือหุ้นในราว 39% โดยพอร์ตของ U จะมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันมีโรงแรมภายใต้การ บริหารรวมกันกว่า 1.9 หมื่นห้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ที่เกินคาด นั่นคือกรณีที่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ได้อนุมัติลดทุนจดทะเบียนโดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย หลังจากนั้นให้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 7.27 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ 6.33 หมื่นล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน 2.35 พันล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 4 บาท แบ่งเป็น จัดสรรไม่เกิน 1.76 พันล้านหุ้น รองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (วอแรนต์) หรือ BTS-W4 ที่จะออกจำนวน ไม่เกิน 1.76 พันล้านหน่วย ให้ฟรีแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิมต่อ 1 หน่วย อายุ 1 ปี มีอัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วย ต่อ 1 หุ้น ที่ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 10.50 บาท

ส่วนหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจำนวนไม่เกิน 592 ล้านหุ้น จะเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้ในการรองรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตได้อย่างทันกาล โดยบริษัทมีแผนการที่จะนำเงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนไปใช้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อขยายกิจการ

ขณะที่ปัจจัยซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นและอัตราการเติบโตของผลดำเนินงานในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ คือ การเข้าร่วมการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มูลค่า 2.24 แสนล้านของรัฐบาลโดยมีพาร์ทเนอร์กลุ่มบริษัทร่วมลงทุนคือ บีเอสอาร์ ในเรื่องดังกล่าว “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) แสดงความเห็นว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการรอศึกษาทีโออาร์อย่างละเอียด แต่มั่นใจในประสบการณ์และเรื่องระบบราง ประกอบกับมีกลุ่มบริษัทร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอย่าง บมจ.ซิโน-ไทย (STEC) ร่วมลงทุนด้วย จึงไม่มีปัญหา

สำหรับ กลุ่มร่วมลงทุนบีเอสอาร์ ประกอบไปด้วยบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% มี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งในกลุ่มนี้มีความพร้อมแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี ประสบการณ์การทำธุรกิจ ทำให้ผู้บริหารใหญ่ของ BTS มั่นใจว่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งในไทยและต่างชาติได้

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ยังชักชวนให้บริษัทร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตอบตกลง อย่างไรก็ตามได้มีการพูดคุยกันเบื้องต้นไปแล้ว

“กลุ่มบีเอสอาร์คุยกันตกลงว่าให้เราไปด้วยกันทุกโครงการ และยิ่งมี ปตท. เข้ามาด้วยดีเข้าไปอีกยิ่งสบายมาก ส่วนต่างประเทศถ้าจะร่วมลงทุนต้องมีข้อเสนอเช่น ขายระบบถูก 50% เราอาจจะพิจารณา”

โดยรวมการประกาศถึงอนาคตการดำเนินการที่สดใสจากแผนธุรกิจระยะยาวของ BTS รอบนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นเฉพาะ BTS เท่านั้น แต่บริษัทในเครืออย่าง VGI และ U จะได้รับอานิสงส์จากโปรเจกต์ยักษ์ของบริษัทแม่ไปด้วย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน BTS คือบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีอนาคตสดใส พร้อมเข้าประมูลระบบขนส่งมวลชนทุกโครงการ แม้จะเป็นโครงการลงทุนหลายแสนล้านบาทเพราะมีพันธมิตรมากมายที่พร้อมจะร่วมลงทุน ขณะที่ VGI ที่ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านและธุรกิจบริการด้านดิจิทัล ที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรได้ต่อเนื่อง จ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ มีเพียง U ที่ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ผลประกอบการยังย่ำแย่ ขาดทุนหลายปีติดต่อ แต่ผู้บริหารเชื่อว่าผลประกอบการจะเริ่มฟื้นตัวกลับทุกสิ่งเหล่านี้ ล้วนมาจากฝีมือของชายที่ชื่อ “คีรี กาญจนพาสน์” จริงๆ

ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ “คีรี” เปลี่ยนจากเจ้ามือหุ้น TYONG ที่แทบตกอยู่ในสภาพสิ้นไร้ไม้ตอก เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนกลายมาเจ้าพ่อรถไฟฟ้าอย่างเต็มภาคภูมิ หลังจากฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจปี 2540 จนรอดมาได้ พร้อมนำพา บมจ.ธนายง (TYONG) ที่กลายร่างเป็น BTS ในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จากราคาปิดก่อนเข้าแผนฟื้นฟูของ TYONG ที่เหลือเพียง 1.00 บาท / หุ้น ทั้งที่เคยขยับขึ้นไปถึง 544 บาท / หุ้น และการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรกที่ราคา 133 บาท พาร์ 10 บาท หรืออาจกล่าวได้ว่า BTS ในวันนี้ ไร้ประวัติด่างพร้อย ไม่เหมือนกับ TYONG ที่ทำให้นักลงทุนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ด้วยการเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ผลดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ปันผลดี แนวโน้มผลดำเนินงานสดใส พิสูจน์ได้จากความไว้ใจของนักลงทุนที่เข้าถือหุ้นเฉียด 8 หมื่นราย สูงกว่า TYONG ในสมัยก่อนที่มีผู้ถือเพียงไม่กี่พันรายเท่านั้น

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มธุรกิจของ BTS อย่างน่าสนใจว่า ด้านฐานะการเงิน อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำเป็น 0.3 เท่า ขณะที่การขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP อีก 592 ล้านหุ้น ถือว่าไม่มากเพราะคิดเป็น 5% จากหุ้นในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือเป้าหมายบริษัทในปีหน้าสิ้นสุด มี.ค.62 คือเติบโตสูง ในทุกประเภทธุรกิจ เริ่มจากธุรกิจรถไฟฟ้า ผู้โดยสารเพิ่ม 4-5% ราคาค่าโดยสารเพิ่ม 1.5-2.0% โดยมีปัจจัยบวกคือ รายได้รถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง ซึ่งจะบันทึกเป็นปีแรกในจำนวน 2.0-2.5 หมื่นล้านบาท ในส่วนของงานโยธา และเครื่องกล ทำให้แนวโน้มรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลืองปีแรกจะไม่ขาดทุน อีกทั้งมีดอกเบี้ยรับมาช่วยเสริม จากรายได้เครื่องกล (E&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว 7-9 พันล้านบาท รายได้โฆษณา (VGI) 4.4-4.6 พันล้านบาท และรายได้ U 6-7 พันล้านบาท

ด้านรายได้บริหารเดินรถคาดว่าจะเติบโต 30 % เนื่องจากธันวาคม 2561จะเริ่มมีรายได้บริหารเดินรถสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เต็มเส้นทางเป็นเวลา 4 เดือน และปีถัดไปเต็มปี ส่วนสีชมพู-เหลือง คาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ทำให้ต้องปรับประมาณการสำหรับปี 61-62 และ 62-63 ดีขึ้นในอัตรา 13% และ 11% ตามลำดับ

สมมุติฐานที่ดีขึ้นคือ อัตรากำไรขั้นต้นธุรกิจการให้เช่าและบริการโฆษณาให้เพิ่มเป็น 56.8% เช่นเดียวกับดอกเบี้ยรับที่ปรับเพิ่มขึ้นตามดอกเบี้ยจ่าย เพราะดอกเบี้ยรับที่เกิดขึ้นจากการตั้งภาครัฐเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชดเชยค่าก่อสร้างส่วนโยธาสายสีชมพู-เหลืองในอนาคตเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ และดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการลงทุนในส่วนเครื่องกล การจัดหารถ ก็สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ (capitalize) สิ่งเหล่านี้ ทำให้ราคาพื้นฐานใหม่ของ BTS เพิ่มขึ้นเป็น 11.00 บาท/หุ้น




กำลังโหลดความคิดเห็น