xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์ชาติ เชื่อ พ.ร.บ. ชำระเงินเอื้อต่อนวัตกรรมใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน ประกาศใช้ 16 เม.ย. 61 เอื้อต่อนวัตกรรมใหม่ ยกระดับเจ้ามาตรฐานสากล ดึงผู้ประกอบการเดิมทั้งในและต่างประเทศ 100 รายเข้าจดทะเบียนใหม่ลดเกณฑ์ทุนจดทะเบียนอีมันนี่ลงเหลือ 100 ล้านบาทจากเดิม 200 ล้านบาท รวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่ด้วย ระบุสิ้นปี 60 มูลค่าการโอนเงินทั้วระบบ 300 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4 พันล้านรายการ เติบโต 30% จากปีก่อน

นางสาว สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชาระเงินและเทคโนโลยี ทางการเงิน เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 เมษายน 2561 พระราชบัญญัติระบบการชาระเงิน พ.ศ. 2560 (พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน) มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการออก ประกาศหลักเกณฑ์ในการกาหนดประเภทและการกำกับดูแลผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน และบริการการชำระเงิน ภายใต้ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561

กฎหมายฉบับนี้ เป็นการบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการชาระเงินมาไว้ในฉบับเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการลดภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับ ช่วยให้การประกอบธุรกิจมีความคล่องตัว และได้รับความสะดวกมากขึ้น (Ease of Doing Business) และเอื้อต่อการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ มาใช้พัฒนาบริการการชำระเงิน โดยมการรกำกับดูแลที่เหมาะสมกับขนาด และความเสี่ยงของธุรกิจ รวมถึงยกระดับการกากับดูแลระบบการชำระเงินให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีเสถียรภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

ประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลดังกล่าวครอบคลุมระบบ และบริการการชาระเงิน 3 ประเภท ได้แก่ ระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ ระบบการชาระเงินภายใต้การกำกับ และบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ โดยสรุปได้ดังนี้

1. ประกาศกระทรวงการคลัง จำนวน 2 ฉบับ กำหนดลักษณะ หรือประเภทของระบบการชำระเงิน ที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับ และต้องขออนุญาตก่อนประกอบธุรกิจ และกำหนดลักษณะ หรือประเภทบริการการชำระเงิน ที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับ และต้องขึ้นทะเบียน หรือขออนุญาตก่อนประกอบธุรกิจ

2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จานวน 14 ฉบับ ประกอบด้วย

2.1 ประกาศหลักเกณฑ์ระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลผู้ให้บริการระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญต่อระบบการเงิน และเศรษฐกิจ และสมาชิกของระบบ เพื่อให้มีการดำเนินการตามมาตรฐานสากล รวมทั้งมีมาตรการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการคุ้มครองผลสิ้นสุดของการชำระเงิน (payment finality) เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีที่สมาชิกของระบบถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือล้มละลาย และอาจมีผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ในระบบการชำระเงิน และระบบการเงินโดยรวม (Systemic Risk)

2.2 ประกาศหลักเกณฑ์กำกับดูแลระบบการชำระเงินและบริการการชำระเงิน เพื่อให้ระบบการชำระเงินและบริการการชำระเงินมีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง และมีการคุ้มครอง ผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ และความเสี่ยงของแต่ละประเภทธุรกิจ โดยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่

- คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่ การกำหนดประเภทนิติบุคคล และคุณสมบัติกรรมการ/ผู้มีอำนาจจัดการ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ พ.ร.บ. กำหนด

- ฐานะการเงินมั่นคง มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ได้แก่

1) ระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ 50 ล้านบาท 2) ระบบเครือข่ายบัตร 50 ล้านบาท 3) ระบบการชำระดุล 200 ล้านบาท และมีฐานะทางการเงินมั่นคงเพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

- การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การเปิดเผยข้อมูลเงื่อนไขบริการแก่ผู้ใช้บริการ การรักษาข้อมูล ส่วนบุคคล และคุ้มครองเงินรับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ กรณีของทรูมูฟเอช ที่ข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุดออกไปนั้น ธปท. ได้สอบถามข้อมูลแล้ว ปรากฏว่า ธปท. กำกับดูแลทรูมันนี่เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ ทรูมูฟเอช และการเข้าไปตรวจสอบแล้ว ไม่พบความผิดปกติใด ๆ

- ธรรมาภิบาล ได้แก่ การกำหนดให้กรรมการ หรือผู้มีอานาจจัดการมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดูแลให้มีนโยบาย และการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมีการควบคุมภายในที่เหมาะสม

- การจัดการความเสี่ยง และความปลอดภัย ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบัน และมีการทดสอบอยู่เสมอ ตลอดจนมีการตรวจสอบด้านสารสนเทศเป็นประจำทุกปี

พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน มีการกำหนดบทเฉพาะกาลที่ให้ระยะเวลาผู้ประกอบธุรกิจในการปรับตัว โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการระบบการชำระเงิน หรือบริการการชำระเงินในปัจจุบัน สามารถยื่นคำขออนุญาต หรือขึ้นทะเบียนต่อ ธปท. ได้ภายใน 120 วัน นับแต่วันรัฐมนตรีประกาศกาหนด (ภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2561) เมื่อได้ยื่นคำขออนุญาต หรือขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่ารัฐมนตรีหรือ ธปท. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องขออนุญาต หรือขึ้นทะเบียนก่อนประกอบธุรกิจ โดยสามารถศึกษาหลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาต หรือหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์การกากับดูแลต่าง ๆ ได้ที่ BOT website

https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSA_Oversight/Pages/default.aspx และสามารถติดต่อสอบถาม หรือยื่นคำขอมายัง ธปท. ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


กำลังโหลดความคิดเห็น