xs
xsm
sm
md
lg

(รับชมคลิป) ก.ล.ต. เล็งวางกรอบ บจ. ออก ICO เร่งประสานงาน แบงก์ชาติ-คลัง กำหนดเกณฑ์ จ่ออนุมัติงบเล็งตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงินแห่งชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“รพี” เลขาธิการ ก.ล.ต. เผยรับลูกประสานงานแบงก์ชาติ วางเกณฑ์สถาบันการเงินทำธุรกรรมการเงิน Cryptocurrency ชี้คนละส่วนกัน เพราะยังไม่มีกรอบข้อกฎหมายเข้ามา และแนวโน้มความต้องการของเอกชนที่จะระดมทุนในรูปแบบนี้มีมากขึ้น คาดข้อกำหนดการระดมทุนด้าน ICO เบื้องต้นจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ส่วน “ปลัดคลัง” แย้มแผนทุ่มงบ 500 ล้านบาท เตรียมยื่น ครม. ตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งชาติ คาดได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้



นายรพี สุจริตกุล กรรมการและเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวถึงหลักเกณฑ์การออกระดมทุนของบริษัทจดทุเบียนในลักษณะ Initial Public Offering หรือ ICO ในการกำกับดูแลและควบคุมระบบสกุลเงินดิจิทัล คาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 2 สัปดาห์นี้

ขณะที่ในส่วนของกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ออกประกาศขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน และอาจจะส่งผลต่อความเสียหายที่จเกิดขึ้นได้นั้น ซึ่งข้อกำหนดที่ประกาศออกมา ครอบคลุมเฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้น ในส่วนของบริษัทเอกชนสามารถทำได้ เพราะยังไม่มีหลักเกณฑ์ควบคุม หรือห้ามบริษัทจดทะเบียนออก ICO หากแต่ว่ายังไม่มีความชัดเจนถึงรายลักเอียดลักษณะการระดมทุน และความเสี่ยงตลอดจนถึงผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะได้ข้อสรุปของกรอบกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์

ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การควบคุมดูแลให้มีการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมา คลังได้หารือกับหลายหน่วยงานในการกำกับดูแล และได้ประสานงานมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ไปร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว

“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้สอดส่องดูแลการทำธุรกรรม Cryptocurrency อย่างรอบคอบ เช่น การนำเงินสกุลดิจิทัลไปใช้โดยผ่านช่องทางการระดมทุนไอซีโอ เพราะเวลาชำระเงินจะต้องเปลี่ยนเป็นสกุลเงินดิจิทัลเพื่อที่จะไม่ให้กระทบกับค่าเงินบาท เพราะที่ผ่านมา พบว่าบางบริษัทนำเงินสกุลดิจิทัลมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าจะเกิดผลกระทบต่อค่าเงินบาทไม่ เพราะในเวลานี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ออกมากำกับดูแล ซึ่งขณะนี้ได้ประสานงานไปยัง ก.ล.ต. แล้วให้เร่งพิจารณาซึ่งคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้”

ทั้งนี้ ในส่วนของการพิจารณาตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินแห่งชาติ ภายใต้การกำกับและดูแลของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการกำกับดูแลพัฒนาเกี่ยวกับผู้ประกอบการฟินเทค ทั้งธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประกันภัย โดยเบื้องต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือกองทุน SFI รวม 500 ล้านบาทใน 2 ปี


กำลังโหลดความคิดเห็น