“ประภาส คงเอียด” เผยแผนการกู้เงินของรัฐบาลในปี 61 จะอยู่ที่ 1.124 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินใหม่ 6 แสนล้านบาท และชดเชยการขาดดุลอีก 4.5 แสนล้านบาท และกู้เพื่อรีไฟแนนซ์ อีก 5.16 แสนล้านบาท ย้ำ ยังเน้นการกู้ในประเทศเป็นหลัก โดยในเดือน เม.ย. และเดือน มิ.ย. นี้ เตรียมทยอยรีไฟแนนซ์หนี้สกุลเงินเยนกับ JICA เพื่อเปลี่ยนมากู้เป็นเงินบาทในประเทศ 2.5 พันล้านบาท และ 1.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของ สบน. ในปี 2561 ว่า สบน. มีแผนการกู้เงินของรัฐบาลวงเงินรวม 1.124 ล้านล้านบาท ซึ่งโดยการกู้ดังกล่าวนั้นจะประกอบด้วยการกู้เงินใหม่ จำนวน 607,251 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 450,000 ล้านบาท และสนับสนุนการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยในปีนี้ สบน. วางแผนการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อลงทุนในโครสร้างพื้นฐานไว้ที่ 9.86 หมื่นล้านบาท
สำหรับโครงการสำคัญที่มีแผนที่จะเบิกจ่ายเงินกู้ เช่น โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 3 โครงการ โดยจะทยอยเบิกจ่ายภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สบน. คาดว่าภายในไตรมาสแรกของปี 61 จะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ราว 1 หมื่นล้านบาท
สำหรับโครงการสำคัญที่มีแผนที่จะเบิกจ่ายเงินกู้ เช่น โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 3 โครงการ
นอกจากนี้ ตามแผนยังจะมีการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมจำนวน 516,755 ล้านบาท โดย สบน. เห็นควรระดมทุนจากภายในประเทศ ด้วยวิธีการกู้เงินในรูปแบบพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้อื่น ๆ เป็นหลัก โดยมีการกู้เงินสกุลต่างประเทศจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศบางส่วนสำหรับโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้น การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐบาลจะดำเนินการภายใต้แผนการบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะครอบคลุมการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้ โดยคำนึงถึงต้นทุนและความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ในปัจจุบัน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้รัฐบาลยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศเพียง 0.9% ของหนี้รัฐบาลทั้งหมด โดยหนี้ต่างประเทศที่คงค้างอยู่ และหนี้ต่างประเทศที่จะมีการกู้เพิ่มเติมในปี 2561 นั้น สบน. จะเร่งดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงกว่าอัตราตลาดในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศทดแทน (Refinancing)
สำหรับหนี้ต่างประเทศที่จะ refinance เป็นเงินบาทก้อนล่าสุด คือ เงินกู้จากองค์การการร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) คิดเป็นเงินบาท 3.65 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.4 % มีอายุสัญญาที่คงเหลืออยู่ราว 15 -17% นั้น สบน. จะทยอยทำการ refinance ในเดือน เม.ย. นี้ ราว 2.5 พันล้านบาท และใน มิ.ย. อีก 1.5 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้น จะทยอยชำระคืนก่อนกำหนดจนหมด เพื่อเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศแทน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สบน. ยังระบุถึงแผนในปี 2560 ว่า สบน. ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 552,922 ล้านบาท และกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 542,397 ล้านบาท รวมทั้งยังได้จัดหาเงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 51,404 ล้านบาท พร้อมทั้งยังมีการจัดหาเงินกู้แก่รัฐวิสาหกิจอีก 9 แห่งรวม 266,166 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างหนี้เดิม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการด้วย
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของ สบน. ในปี 2561 ว่า สบน. มีแผนการกู้เงินของรัฐบาลวงเงินรวม 1.124 ล้านล้านบาท ซึ่งโดยการกู้ดังกล่าวนั้นจะประกอบด้วยการกู้เงินใหม่ จำนวน 607,251 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 450,000 ล้านบาท และสนับสนุนการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยในปีนี้ สบน. วางแผนการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อลงทุนในโครสร้างพื้นฐานไว้ที่ 9.86 หมื่นล้านบาท
สำหรับโครงการสำคัญที่มีแผนที่จะเบิกจ่ายเงินกู้ เช่น โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 3 โครงการ โดยจะทยอยเบิกจ่ายภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สบน. คาดว่าภายในไตรมาสแรกของปี 61 จะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ราว 1 หมื่นล้านบาท
สำหรับโครงการสำคัญที่มีแผนที่จะเบิกจ่ายเงินกู้ เช่น โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 3 โครงการ
นอกจากนี้ ตามแผนยังจะมีการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมจำนวน 516,755 ล้านบาท โดย สบน. เห็นควรระดมทุนจากภายในประเทศ ด้วยวิธีการกู้เงินในรูปแบบพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้อื่น ๆ เป็นหลัก โดยมีการกู้เงินสกุลต่างประเทศจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศบางส่วนสำหรับโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้น การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐบาลจะดำเนินการภายใต้แผนการบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะครอบคลุมการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้ โดยคำนึงถึงต้นทุนและความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ในปัจจุบัน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้รัฐบาลยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศเพียง 0.9% ของหนี้รัฐบาลทั้งหมด โดยหนี้ต่างประเทศที่คงค้างอยู่ และหนี้ต่างประเทศที่จะมีการกู้เพิ่มเติมในปี 2561 นั้น สบน. จะเร่งดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงกว่าอัตราตลาดในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศทดแทน (Refinancing)
สำหรับหนี้ต่างประเทศที่จะ refinance เป็นเงินบาทก้อนล่าสุด คือ เงินกู้จากองค์การการร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) คิดเป็นเงินบาท 3.65 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.4 % มีอายุสัญญาที่คงเหลืออยู่ราว 15 -17% นั้น สบน. จะทยอยทำการ refinance ในเดือน เม.ย. นี้ ราว 2.5 พันล้านบาท และใน มิ.ย. อีก 1.5 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้น จะทยอยชำระคืนก่อนกำหนดจนหมด เพื่อเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศแทน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สบน. ยังระบุถึงแผนในปี 2560 ว่า สบน. ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 552,922 ล้านบาท และกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 542,397 ล้านบาท รวมทั้งยังได้จัดหาเงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 51,404 ล้านบาท พร้อมทั้งยังมีการจัดหาเงินกู้แก่รัฐวิสาหกิจอีก 9 แห่งรวม 266,166 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างหนี้เดิม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการด้วย