บัญชีกลาง ปรับเกณฑ์่เบิกจ่ายค่ายารักษาโรคมะเร็ง และโรคโลหิต โดยขยายสิทธิประโยชน์กลุ่มยาที่ต้องขออนุมัติก่อนเป็น 9 รายการ พร้อมทั้งปรับเงื่อนไขสามารถเบิกจ่ายได้มากขึ้นเป็น 17 กลุ่มโรค ซึ่งครอบคลุมถึงการเบิกจ่ายยา Trastuzumab สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมทั้งที่อยู่ในระยะเริ่มต้น และระยะแพร่กระจาย
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงสิทธิการเบิกจ่ายค่ายารักษามะเร็งที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยดำเนินการร่วมกับมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงยาจำเป็นที่มีการพัฒนาตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้มากขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง ประกอบกับยากลุ่มดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับการรักษาเฉพาะบางโรค/บางกรณี และเป็นยาอันตราย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยา หรืออาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า การปรับปรุงในครั้งนี้ได้ขยายสิทธิประโยชน์กลุ่มยาที่ต้องขออนุมัติก่อนเบิก (OCPA) โดยเพิ่มรายการยาจากเดิม 6 รายการ เป็น 9 รายการ พร้อมทั้งปรับเงื่อนไขให้สามารถเบิกจ่ายได้มากขึ้นจาก 7 กลุ่มโรค เป็น 17 กลุ่มโรค เช่น ยารักษามะเร็งเต้านม (ชื่อ Trastuzumab) เดิมให้เบิกได้เฉพาะระยะแพร่กระจายก็จะขยายให้เบิกได้ทั้งระยะแพร่กระจาย และระยะเริ่มต้น หรือยารักษามะเร็งปอด (ชื่อ Gefitinib) เดิมให้เบิกได้เฉพาะการรักษาเป็นขนานที่ 3 (third line therapy) จะปรับให้เบิกได้ตั้งแต่การรักษาเป็นขนานแรก (first line therapy) เป็นต้น ทั้งนี้ จะขยายสิทธิให้ครอบคลุมยาที่มีจำเป็นเพิ่มเติมต่อไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาเพื่อการรักษาได้มากขึ้น
อนึ่ง ในการจัดระบบการเบิกค่ายานอก OCPA เป็นนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยให้เบิกตามเงื่อนไขของบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือหากมีความจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติจะต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมระบุเหตุผลการใช้ยาในระบบเบิกจ่ายตรง ยกเว้นยาบางรายการที่กำหนดให้เป็นรายการยากลุ่มทางเลือก กรณีดังกล่าว ผู้มีสิทธิต้องทดรองจ่ายเงินค่ายาไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกกับต้นสังกัด เนื่องจากทางมะเร็งวิทยาสมาคมฯ และสมาคมโลหิตวิทยาฯ เห็นว่า รายการยากลุ่มทางเลือกมีรายการยาอื่น หรือแนวทางการรักษาอื่น ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า นำมาใช้ทดแทนได้
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวในตอนท้าย หากผู้มีสิทธิได้รับผลกระทบที่ทำให้ไม่สามารถเบิกค่ายาได้ เนื่องจากแพทย์มีความประสงค์จะใช้ยานอกเหนือตามรายการ/ข้อบ่งชี้ที่กำหนด ผู้มีสิทธิสามารถขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง ผ่านส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมเพื่อขออนุมัติเบิกค่ายาเป็นรายกรณีได้
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงสิทธิการเบิกจ่ายค่ายารักษามะเร็งที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยดำเนินการร่วมกับมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงยาจำเป็นที่มีการพัฒนาตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้มากขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง ประกอบกับยากลุ่มดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับการรักษาเฉพาะบางโรค/บางกรณี และเป็นยาอันตราย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยา หรืออาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า การปรับปรุงในครั้งนี้ได้ขยายสิทธิประโยชน์กลุ่มยาที่ต้องขออนุมัติก่อนเบิก (OCPA) โดยเพิ่มรายการยาจากเดิม 6 รายการ เป็น 9 รายการ พร้อมทั้งปรับเงื่อนไขให้สามารถเบิกจ่ายได้มากขึ้นจาก 7 กลุ่มโรค เป็น 17 กลุ่มโรค เช่น ยารักษามะเร็งเต้านม (ชื่อ Trastuzumab) เดิมให้เบิกได้เฉพาะระยะแพร่กระจายก็จะขยายให้เบิกได้ทั้งระยะแพร่กระจาย และระยะเริ่มต้น หรือยารักษามะเร็งปอด (ชื่อ Gefitinib) เดิมให้เบิกได้เฉพาะการรักษาเป็นขนานที่ 3 (third line therapy) จะปรับให้เบิกได้ตั้งแต่การรักษาเป็นขนานแรก (first line therapy) เป็นต้น ทั้งนี้ จะขยายสิทธิให้ครอบคลุมยาที่มีจำเป็นเพิ่มเติมต่อไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาเพื่อการรักษาได้มากขึ้น
อนึ่ง ในการจัดระบบการเบิกค่ายานอก OCPA เป็นนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยให้เบิกตามเงื่อนไขของบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือหากมีความจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติจะต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมระบุเหตุผลการใช้ยาในระบบเบิกจ่ายตรง ยกเว้นยาบางรายการที่กำหนดให้เป็นรายการยากลุ่มทางเลือก กรณีดังกล่าว ผู้มีสิทธิต้องทดรองจ่ายเงินค่ายาไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกกับต้นสังกัด เนื่องจากทางมะเร็งวิทยาสมาคมฯ และสมาคมโลหิตวิทยาฯ เห็นว่า รายการยากลุ่มทางเลือกมีรายการยาอื่น หรือแนวทางการรักษาอื่น ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า นำมาใช้ทดแทนได้
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวในตอนท้าย หากผู้มีสิทธิได้รับผลกระทบที่ทำให้ไม่สามารถเบิกค่ายาได้ เนื่องจากแพทย์มีความประสงค์จะใช้ยานอกเหนือตามรายการ/ข้อบ่งชี้ที่กำหนด ผู้มีสิทธิสามารถขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง ผ่านส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมเพื่อขออนุมัติเบิกค่ายาเป็นรายกรณีได้