xs
xsm
sm
md
lg

BBL เปิด QR Code ผ่าน EDC-ตั้งเป้าติดตั้งเพิ่มแสนเครื่อง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


แบงก์กรุงเทพเปิดตัว “QR Code Payment on EDC” จับมือ 4 พันธมิตร “แฟมิลี่มาร์ท, โฮมโปร, อินเด็กซ์ ลีฟวิ่งมอลล์, และแม็คโดนัลด์” นำร่องให้บริการต้อนรับปีใหม่นี้ พร้อมตั้งเป้าหมายติดตั้งเครื่องอีดีซี เพิ่มอีก 1 แสนเครื่อง และนำบัตรเครดิต-เดบิตผ่าน QR Code พร้อมเพย์ เข้าทดสอบ Sand Box เดือนม.ค. นี้

นายโชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดตัวบริการ “QR Code Payment on EDC” สำหรับธุรกิจร้านค้าขนาดใหญ่รับชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดผ่านเครื่อง EDC โดยในเบื้องต้น มีพันธมิตรผู้ประกอบการทางธุรกิจกลุ่มแรก 4 ราย ประกอบด้วย แฟมิลี่มาร์ท, โฮมโปร, อินเด็กซ์ ลีฟวิ่งมอลล์ และแม็คโดนัลด์ ได้ตอบรับการชำระเงินในระบบดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ระบบได้พร้อมที่จะให้บริการแล้ว โดยได้ตั้งเป้าหมายในการติดตั้งเครื่อง QR Code Payment on EDC ใหม่อีก 100,000 เครื่องภายใน 1 ปี จากปัจจุบันมีเครื่องกว่า 100,000 เครื่อง

ทั้งนี้ บริการ “QR Code Payment on EDC” อีกหนึ่งบริการรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้เงินสด โดยร้านค้าสามารถใช้เครื่องรับรูดบัตร (EDC) ปรินต์สลิป ซึ่งมี QR Code ออกมา เพื่อให้ลูกค้าสแกนชำระเงินผ่านโมบายแบงกิ้งของทุกธนาคารในประเทศไทยได้ทันที โดยบริการนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางชำระเงิน ซึ่งระบบสามารถสร้าง QR Code แบบเฉพาะเจาะจงให้กับลูกค้าแต่ละราย พร้อมกับกำหนดยอดเงินค่าสินค้าหรือบริการที่ต้องชำระไว้ใน QR Code ได้อีกด้วย ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลากรอกยอดเงิน เพียงแค่สแกน ตรวจสอบยอดเงิน และทำรายการยืนยันเพื่อชำระเงินได้ทันที ทั้งยังปลอดภัย เพราะ QR Code ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานสำหรับทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยมีค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิตอยู่ 0.55% บัตรเดบิตที่ 0.25%”

ส่วนความคืบหน้าในการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตผ่าน OR Code พร้อมเพย์นั้น คาดว่าจะเข้าทดสอบ sand box ในช่วงเดือนมกราคมปีหน้า โดยปัจจุบัน ธนาคารมียอดบัตรเดบิต 16.5 ล้านบัตร บัตรเครดิต 2.2 ล้านบัตร โดยในปี 2561 เป้าหมายบัตรเครดิตเติบโตจำนวนบัตรที่ 15% หรือมียอดบัตร 2.5 ล้านบัตร จากปีนี้มีมีการเติบโตที่ 10% หรือจาก 1.9 ล้านบัตรในต้นปี มาเป็น 2.2 ล้านบัตรในสิ้นปีนี้ ซึ่งถือว่าธนาคารมีการเติบโตทางด้านจำนวนบัตรที่ดี แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมยังทรงตัว ซึ่งฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของธนาคารอยู่ในระดับบน หรือเงินเดือนมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จึงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

สำหรับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตปี 2561 ตั้งเป้าเติบโต 10% จากปัจจุบันเติบโต 8.5% ขณะที่ระบบอยู่ที่ 6% เท่านั้น และหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิตนั้น ปัจจุบันอยู่ที่ 1.85% จากต้นปีนี้อยู่ที่ 1.7% ซึ่งแนวโน้มเอ็นพีแอล ก็อาจจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง คือ ผู้ประกอบการ หลังรายได้ไม่ได้เข้ามาสม่ำเสมอ
กำลังโหลดความคิดเห็น