ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ไตรมาส 3 ขาดทุน 8,681.60 ล้านบาท ผลจากการรับรู้ขาดทุนการด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้ง ปี 59 มีกำไรจากรายการที่ไม่ใช่การดำเนินงานปกติ 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยันสภาพคล่องสูงโดยมีเงินสด และเงินลงทุนระยะสั้น 4,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แจ้งผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2560 ว่า บริษัท และบริษัทย่อย มีผลขาดทุนสุทธิ 8,681.60 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 5,446.26 ล้านบาท หรือคิดเป็นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่า ขาดทุนสุทธิ 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผลการดำเนินงานลดลง 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 156 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2560 ขณะที่ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่าย ลดลง 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยหลักจากการปรับปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และรายได้ค่าขายเพิ่มขึ้น 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2559 ที่มีกำไรจากรายการที่ไม่ใช่การดำเนินงานปกติ 81 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ
งวดนี้ ผลงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยปัจจัยหลักทั้งด้านปริมาณการขาย ราคาขาย และต้นทุน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาส 2 ปี 2560) สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและรักษาต้นทุนการผลิตในระดับต่ำ เป็นผลให้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ (Recurring Net Profit) สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ากว่า 30%
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ บริษัทได้มีการปรับแผนการพัฒนาโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ในประเทศแคนาดา เพื่อให้สอดคล้องกับผลการศึกษาการพัฒนาโครงการ และสภาวะอุตสาหกรรมปัจจุบัน โดยได้ชะลอการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายของโครงการออกไป ทำให้บริษัทต้องรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีจำนวน 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรายการดังกล่าวไม่กระทบกับเงินสดในมือ และกระแสเงินสดของบริษัทแต่อย่างใด
ในส่วนของกลยุทธ์ บริษัทให้ความสำคัญกับการรักษาระดับการผลิตและต้นทุนการผลิตให้เป็นไปตามแผน ไตรมาสนี้ บริษัทมีรายได้จากการขายสูงขึ้นกว่า 9% มาอยู่ที่ 1,064 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ 975 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหลักเป็นผลมาจากปริมาณการขายเฉลี่ยที่สูงขึ้นจาก 281,435 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในไตรมาส 2 เป็น 298,139 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในไตรมาส 3 อีกทั้ง ปริมาณการขายในไตรมาสนี้ยังสูงกว่าประมาณการเดิมที่บริษัทคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 290,000 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งการปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวมาจากการเพิ่มการผลิตของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ตามที่ผู้ซื้อในประเทศมาเลเซียสามารถกลับมารับก๊าซธรรมชาติได้ตามปกติ แผนงานการปิดซ่อมบำรุงที่ลดลง โดยหลักจากโครงการบงกช ปริมาณการขายน้ำมันดิบที่สูงขึ้นของแหล่งมอนทารา ในออสเตรเลีย รวมถึงความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณการผลิตคอนเดนเสทของโครงการในอ่าวไทย สำหรับต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2560 บริษัทยังคงมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วยสินทรัพย์ 18,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 7,387 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย 2,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่วนของผู้ถือหุ้น 11,229 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้ง ณ สิ้นไตรมาส บริษัทมีสภาพคล่องสูง โดยมีเงินสด และเงินลงทุนระยะสั้น 4,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แจ้งผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2560 ว่า บริษัท และบริษัทย่อย มีผลขาดทุนสุทธิ 8,681.60 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 5,446.26 ล้านบาท หรือคิดเป็นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่า ขาดทุนสุทธิ 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผลการดำเนินงานลดลง 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 156 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2560 ขณะที่ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่าย ลดลง 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยหลักจากการปรับปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และรายได้ค่าขายเพิ่มขึ้น 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2559 ที่มีกำไรจากรายการที่ไม่ใช่การดำเนินงานปกติ 81 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ
งวดนี้ ผลงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยปัจจัยหลักทั้งด้านปริมาณการขาย ราคาขาย และต้นทุน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาส 2 ปี 2560) สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและรักษาต้นทุนการผลิตในระดับต่ำ เป็นผลให้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ (Recurring Net Profit) สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ากว่า 30%
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ บริษัทได้มีการปรับแผนการพัฒนาโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ในประเทศแคนาดา เพื่อให้สอดคล้องกับผลการศึกษาการพัฒนาโครงการ และสภาวะอุตสาหกรรมปัจจุบัน โดยได้ชะลอการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายของโครงการออกไป ทำให้บริษัทต้องรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีจำนวน 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรายการดังกล่าวไม่กระทบกับเงินสดในมือ และกระแสเงินสดของบริษัทแต่อย่างใด
ในส่วนของกลยุทธ์ บริษัทให้ความสำคัญกับการรักษาระดับการผลิตและต้นทุนการผลิตให้เป็นไปตามแผน ไตรมาสนี้ บริษัทมีรายได้จากการขายสูงขึ้นกว่า 9% มาอยู่ที่ 1,064 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ 975 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหลักเป็นผลมาจากปริมาณการขายเฉลี่ยที่สูงขึ้นจาก 281,435 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในไตรมาส 2 เป็น 298,139 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในไตรมาส 3 อีกทั้ง ปริมาณการขายในไตรมาสนี้ยังสูงกว่าประมาณการเดิมที่บริษัทคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 290,000 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งการปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวมาจากการเพิ่มการผลิตของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ตามที่ผู้ซื้อในประเทศมาเลเซียสามารถกลับมารับก๊าซธรรมชาติได้ตามปกติ แผนงานการปิดซ่อมบำรุงที่ลดลง โดยหลักจากโครงการบงกช ปริมาณการขายน้ำมันดิบที่สูงขึ้นของแหล่งมอนทารา ในออสเตรเลีย รวมถึงความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณการผลิตคอนเดนเสทของโครงการในอ่าวไทย สำหรับต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2560 บริษัทยังคงมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วยสินทรัพย์ 18,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 7,387 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย 2,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่วนของผู้ถือหุ้น 11,229 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้ง ณ สิ้นไตรมาส บริษัทมีสภาพคล่องสูง โดยมีเงินสด และเงินลงทุนระยะสั้น 4,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ