xs
xsm
sm
md
lg

บลจ. วรรณ ทุ่มเงินเกือบ 170 ล. ซื้อหุ้น ECF

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“อารักษ์ สุขสวัสดิ์” เผย บลจ. วรรณ ซื้อหุ้น “อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค” เพราะมั่นใจในอนาคตของบริษัท หลังเข้าลงทุนในพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมออกหุ้นเพิ่มทุนขาย PP จำนวนไม่เกิน 40 ล้านหุ้น ให้กับกองทุน Macquarie สถาบันการเงินสัญชาติออสเตรเลีย และรอบนี้ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขาย PP ให้กับ บลจ. วรรณ เพิ่มอีกในจำนวน 30 ล้านหุ้น

นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF เปิดเผยว่า การที่ บลจ. วรรณ เข้ามาลงทุนในหุ้น ECF เนื่องจากมีความมั่นใจในอนาคตของบริษัทฯ ซึ่ง ECF ได้มีการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก่อนหน้านี้ ECF ออก PP จำนวนไม่เกิน 40 ล้านหุ้น ให้กับกองทุน Macquarie สถาบันการเงินสัญชาติออสเตรเลีย และในรอบนี้ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขาย PP ให้กับ บลจ. วรรณ เพิ่มอีกในจำนวน 30 ล้านหุ้น

“ทั้ง บลจ. วรรณและกองทุน Macquarie เข้ามาลงทุนในหุ้น ECF เพราะเล็งเห็นอนาคตของ ECF และทีมงาน ทีมผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจ” นายอารักษ์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้า การเข้าลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 220 เมกะวัตต์ ณ เมืองมินบู รัฐมาเกวย ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ของบริษัทพลังงานเพื่อโลกสีเขียว จำกัด (โครงการฯ หรือ GEP) พื้นที่โครงการสำหรับโรงไฟฟ้าเฟสแรกได้รับการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อการดำเนินการก่อสร้างแล้ว และยังไม่พบปัญหาใด ๆ ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าการก่อสร้างเฟสแรกจะแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์สำหรับเฟสที่ 1 ได้ภายในช่วงกลางปี 2561 จากนั้นจะเดินหน้าลุยก่อสร้างเฟส 2 ต่อทันที

ทั้งนี้ บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยปัจจุบัน GEP Thailand เป็นผู้ถือหุ้น 99.99% ใน GEP Myanmar Co,Ltd. ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานในรูปแบบ Build Operate and Transfer (BOT) ในการพัฒนาและดำเนินโครงการฯ และเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ สัญญา PPA) กับ Electric Power Generation Enterprise (EPGE) ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 30 ปี นับจากวันที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ของระยะที่ 1 กำลังการผลิตไฟฟ้า 220 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น 4 เฟส ห่างกันทุก ๆ 1 ปี โดย 3 เฟสแรกมีขนาด 50 เมกะวัตต์ และเฟส 4 มีขนาด 70 เมกะวัตต์

สำหรับการเข้าลงทุน บริษัท อีซีเอฟ พาวเวอร์ จำกัด (ECF-Power) ในฐานะบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99 เป็นผู้เข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญของ GEP ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของโครงการโรงไฟฟ้า ซึ่งมั่นใจว่าการลงทุนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริม และสร้างการเติบโตของรายได้ที่มั่นคงให้แก่บริษัทต่อไปในอนาคต ก่อให้เกิดผลกำไรและกระแสเงินสดกลับสู่บริษัท และในท้ายที่สุดจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท

“อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายโครงการทั้งในและต่างประเทศ และเผยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล PWGE ที่นราธิวาส จำนวน 7.5 เมกะวัตต์ ที่ COD แล้วรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” นายอารักษ์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น