xs
xsm
sm
md
lg

ธพว. เผยอนุมัติสินเชื่อทะลุเป้าแล้ว 3 หมื่นล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เอ็มดี “เอสเอ็มอีแบงก์” เผยภาพรวมการดำเนินงานจนปัจจุบัน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยอดเบิกจ่ายอยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านบาท คาดสินเชื่อรวมทั้งปี 60 จะขยับขึ้นแตะ 4.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าที่เคยตั้งไว้อีก 1.5 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้เสียจะลดลงเหลือ 1.66 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.73 หมื่นล้านบาท จากที่มีลูกหนี้ที่เคยเป็นเอ็นพีแอลยินยอมชำระหนี้หลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งจะกลับมาเป็นหนี้ดีในปีนี้

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธวพ.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบันของ ธพว. ว่า มีสินเชื่อที่อนุมัติแล้ว 30,000 ล้านบาท โดยเป็นการอนุมัติเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่ยอดสินเชื่อเบิกจ่ายจะมีทั้งสิ้น 21,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมการปล่อยสินเชื่อตามโครงการประชารัฐอีก 15,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าสินเชื่อดังกล่าวจะได้จนจบภายในเดือน ก.ย. 60 ส่วนยอดรวมของสินเชื่อตลอดปี 60 คาดว่าน่าจะขยับตัวขึ้นอยู่ที่ 45,000 ล้านบาท เมื่อเทียบจากเป้าหมายซึ่งเคยตั้งไว้เมื่อตอนต้นปีที่ 30,000 ล้านบาท

ด้านหนี้เสียของธนาคารตั้งแต่หลังจากปี 58 จนถึงปัจจุบันยังคงอยู่ในอัตราคงที่ โดยครึ่งแรกของปี 60 มูลค่าภาระหนี้เสีย (NPLs) ของธนาคารจะมีทั้งสิ้น 17,3000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ทั้งนี้ ธพว. ยังมี NPLs อีก 2,500 ล้านบาท ที่ได้ส่งฟ้องดำเนินคดีไปแล้ว โดย 90% ของ NPLs ดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่ยอมชำระหนี้หลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งจะกลับมาเป็นหนี้ดีในปีนี้ ดังนั้น จึงคาดว่ามูลค่า NPL ตลอดทั้งปี 60 จะลดลงมาอยู่ที่ 16,600 ล้านบาท หรือลดลงเหลือ 16%

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในภาคอีสานนั้น มีความแตกต่างจากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้เมื่อตอนต้นปี โดยธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปแล้ว 100 ราย โดยในยอดรวมดังกล่าวจะมีสัดส่วนเพียง 7% ที่เข้าข่ายต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริงตามมาตรการของธนาคาร และอีก 7% จะเป็นการขอปรับปรุงค่างวดในการชำระหนี้ใหม่เท่านั้น หรือคิดเป็นสัดส่วนรวมกันเพียง 14% ที่เป็นผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าทางภาคใต้ที่ ธพว. ต้องให้ความช่วยเหลือ

แม้กรรมการผู้จัดการ ธพว. จะได้รับข้อมูลเบื้องต้นถึงจำนวนเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม 400,000 รายก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดของผู้ประกอบการ SME ที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคอีสานก็ตาม แต่ก็เห็นว่า คนกลุ่มนี้ควรจะได้รับความช่วยเหลือด้วยเหตุผลที่ว่ากำลังซื้อของคนภาคใต้นั้น จะมาจากภายนอก เนื่องจากภาคใต้จะมีสินค้าส่งออก เช่น ยางพารา ประมง รวมทั้ง ยังมีภาคการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลัก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากกำลังซื้อของคนในภาคอีสานที่จะมาจากคนในพื้นที่เป็นหลัก แม้ในภาคอีสานจะมีการปลูกข้าวก็ตาม แต่ก็เป็นการปลูกเพื่อบริโภคภายในเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การปลูกข้าวในช่วงเดือนสิงหาคมนั้น ก็จะเป็นข้าวที่ขายไม่ได้ราคา

สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือ SMEs ในภาคอีสานนั้น นายลีลา กล่าวอีกว่า ภาพรวมการให้ความช่วยเหลือแก่ SME ในภาคอีสานที่เป็นลูกค้าของ ธวพ. นั้น อาจใช้สินเชื่อช่วยประกอบการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแบบเดียวกับที่ให้ความช่วยเหลือ SMEs ในจังหวัดสกลนคร วงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยคาดว่าซึ่งจะมีผู้ขอสินเชื่อราว 1,000 ราย หรือคิดเป็นการปล่อยสินเชื่อรายละ 1-5 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น