การที่กลุ่มไทคอน ร่วมทุนกับบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) (FPHT) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาองค์ความรู้ระดับสากลของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
“วีรพันธ์ พูลเกษ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON นำทีมงาน TICON ไปศึกษากลยุทธ์การพัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” ที่บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศออสเตรเลีย “ที่ประเทศออสเตรเลีย ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอาคารอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ “อาคารสีเขียวหรือ Green Building” เนื่องจากลูกค้ามีความพึงพอใจในอาคารประเภทนี้สูงมาก”
ปัจจุบัน “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ออสเตรเลีย” เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพัฒนาอาคารอุตสาหกรรม โดยเฉพาะคลังสินค้า มีพื้นที่ให้เช่ากว่า 3 ล้านตารางเมตร ในทำเลยุทธศาสตร์ 5 ทำเลหลักๆ ได้แก่ เพิร์ท ควีนส์แลนด์ ซิดนีย์ เมล์เบิร์นตะวันตก และเมล์เบิร์นตะวันออก ขณะเดียวกัน กำลังขยายเข้าไปยังยุโรป และอาเซียน โดยมีไทยเป็นประตูเชื่อมต่อทางธุรกิจที่สำคัญในภูมิภาคนี้
“เฟรเซอร์ส” พัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” มาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ 100% ซึ่งสอดคล้องต่อกลยุทธ์ของกลุ่มไทคอนที่เป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าสีเขียวในประเทศไทย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ องค์กรเหล่านี้จึงตระหนักถึงความสำคัญต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก ในสัญญาทางธุรกิจมีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน เมื่อไทคอน สามารถพัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” ได้อย่างยั่งยืนจะนำไปสู่การต่อยอดทางธุรกิจ เช่น การส่งต่อลูกค้าระหว่างกัน รวมถึงโอกาสการขยายฐานทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเรียนรู้จากผู้นำตลาดใหญ่ๆ นี้จะทำให้กลุ่มไทคอนได้ประโยชน์อย่างแน่นอน
“ต้องนับว่า กลุ่มไทคอน กับเฟรเซอร์ส มีโมเดลการทำงานที่เหมือนกันมากจริงๆ” วีรพันธ์ เล่าต่อว่า “ทางทีพาร์ค ซึ่งเป็นบริษัทลูกของไทคอน จะเป็นการพัฒนาคลังสินค้าในรูปแบบของลอจิสติกส์ พาร์ค (Logistics Park) ซึ่งทางฝั่งเฟรเซอร์ส จะเรียกว่า เอสเตท หรือแคมปัส (Estate / Campus) ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการซื้อที่ดิน พัฒนาในด้านดีไซน์ และก่อสร้าง และขายสินทรัพย์เข้าทรัสต์เพื่อการลงทุน หรือ REIT เหมือนกัน”
หลักการทำงานของกลุ่มเฟรเซอร์สกับไทคอน ค่อนข้างสอดคล้องกันอีกด้านคือ มีความเป็นมืออาชีพ (Specialize) ด้านการพัฒนาคลังสินค้าแบบ Built to Suit หรือสร้างตามความต้องการของลูกค้า โดยสามารถดึงเอาอัตลักษณ์ของลูกค้ามาดีไซน์คลังสินค้า โรงงาน และออฟฟิศอยู่ในที่เดียวกันได้อย่างลงตัว
ในความเหมือนของไทคอนกับเฟรเซอร์ส ยังมีความแตกต่างกันบ้างในเชิงกลยุทธ์การใช้พื้นที่ ปัจจุบันฐานลูกค้าของกลุ่มเฟรเซอร์โฟกัสลูกค้าที่เป็นกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่เป็นหลัก มีสัดส่วนลูกค้าอยู่ในตลาดอุปโภคบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีระยะเวลาเช่านาน 10-15 ปี จึงมีรายได้ค่อนข้างเติบโต และมั่นคง ในขณะที่ฐานลูกค้าของกลุ่มไทคอนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Ready Built ที่เฟรเซอร์ส เรียกว่า Speculative Built และต้องการเรียนรู้ตลาดนี้เช่นเดียวกัน
“บางสิ่งที่เราทำในประเทศไทย คือ สิ่งที่เขาไม่ได้ทำในประเทศออสเตรเลีย เช่น โรงงานหรือคลังสินค้าสำเร็จรูปขนาดเล็ก (2,000-3,000 ตารางเมตร) ถ้าเขาซื้อที่ดินมา 300 ไร่ เขาจะตัดที่เล็กๆ ขายออกไป และเหลือที่ที่สามารถสร้างอาคารขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตรเท่านั้น การศึกษาดูงานครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในกลุ่มบริษัทครั้งสำคัญเพื่อต่อยอดการทำงานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเพิ่มจุดแข็งในการขยายไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้ถึงเป้าหมายของการเป็นผู้นำอันดับ 1 ในอาเซียนของไทคอนในอีก 5 ปีข้างหน้า” นายวีรพันธ์ กล่าว
การดูงานในครั้งนี้นำไปสู่โครงการในอนาคต เช่น โครงการแลกเปลี่ยนทีมงานเพื่อเรียนรู้ด้านการตลาด การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาการทำงาน การศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ก่อนสร้างคลังสินค้า การเรียนรู้เพิ่มเติมในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลตลาด มองมุมของการวิเคราะห์ การประมวลผล ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ ซึ่งกลายจะเป็นก้าวย่างสำคัญของกลุ่มไทคอนในอนาคต
“วีรพันธ์ พูลเกษ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON นำทีมงาน TICON ไปศึกษากลยุทธ์การพัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” ที่บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศออสเตรเลีย “ที่ประเทศออสเตรเลีย ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอาคารอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ “อาคารสีเขียวหรือ Green Building” เนื่องจากลูกค้ามีความพึงพอใจในอาคารประเภทนี้สูงมาก”
ปัจจุบัน “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ออสเตรเลีย” เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพัฒนาอาคารอุตสาหกรรม โดยเฉพาะคลังสินค้า มีพื้นที่ให้เช่ากว่า 3 ล้านตารางเมตร ในทำเลยุทธศาสตร์ 5 ทำเลหลักๆ ได้แก่ เพิร์ท ควีนส์แลนด์ ซิดนีย์ เมล์เบิร์นตะวันตก และเมล์เบิร์นตะวันออก ขณะเดียวกัน กำลังขยายเข้าไปยังยุโรป และอาเซียน โดยมีไทยเป็นประตูเชื่อมต่อทางธุรกิจที่สำคัญในภูมิภาคนี้
“เฟรเซอร์ส” พัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” มาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ 100% ซึ่งสอดคล้องต่อกลยุทธ์ของกลุ่มไทคอนที่เป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าสีเขียวในประเทศไทย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ องค์กรเหล่านี้จึงตระหนักถึงความสำคัญต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก ในสัญญาทางธุรกิจมีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน เมื่อไทคอน สามารถพัฒนา “อาคารอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Building” ได้อย่างยั่งยืนจะนำไปสู่การต่อยอดทางธุรกิจ เช่น การส่งต่อลูกค้าระหว่างกัน รวมถึงโอกาสการขยายฐานทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเรียนรู้จากผู้นำตลาดใหญ่ๆ นี้จะทำให้กลุ่มไทคอนได้ประโยชน์อย่างแน่นอน
“ต้องนับว่า กลุ่มไทคอน กับเฟรเซอร์ส มีโมเดลการทำงานที่เหมือนกันมากจริงๆ” วีรพันธ์ เล่าต่อว่า “ทางทีพาร์ค ซึ่งเป็นบริษัทลูกของไทคอน จะเป็นการพัฒนาคลังสินค้าในรูปแบบของลอจิสติกส์ พาร์ค (Logistics Park) ซึ่งทางฝั่งเฟรเซอร์ส จะเรียกว่า เอสเตท หรือแคมปัส (Estate / Campus) ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการซื้อที่ดิน พัฒนาในด้านดีไซน์ และก่อสร้าง และขายสินทรัพย์เข้าทรัสต์เพื่อการลงทุน หรือ REIT เหมือนกัน”
หลักการทำงานของกลุ่มเฟรเซอร์สกับไทคอน ค่อนข้างสอดคล้องกันอีกด้านคือ มีความเป็นมืออาชีพ (Specialize) ด้านการพัฒนาคลังสินค้าแบบ Built to Suit หรือสร้างตามความต้องการของลูกค้า โดยสามารถดึงเอาอัตลักษณ์ของลูกค้ามาดีไซน์คลังสินค้า โรงงาน และออฟฟิศอยู่ในที่เดียวกันได้อย่างลงตัว
ในความเหมือนของไทคอนกับเฟรเซอร์ส ยังมีความแตกต่างกันบ้างในเชิงกลยุทธ์การใช้พื้นที่ ปัจจุบันฐานลูกค้าของกลุ่มเฟรเซอร์โฟกัสลูกค้าที่เป็นกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่เป็นหลัก มีสัดส่วนลูกค้าอยู่ในตลาดอุปโภคบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีระยะเวลาเช่านาน 10-15 ปี จึงมีรายได้ค่อนข้างเติบโต และมั่นคง ในขณะที่ฐานลูกค้าของกลุ่มไทคอนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Ready Built ที่เฟรเซอร์ส เรียกว่า Speculative Built และต้องการเรียนรู้ตลาดนี้เช่นเดียวกัน
“บางสิ่งที่เราทำในประเทศไทย คือ สิ่งที่เขาไม่ได้ทำในประเทศออสเตรเลีย เช่น โรงงานหรือคลังสินค้าสำเร็จรูปขนาดเล็ก (2,000-3,000 ตารางเมตร) ถ้าเขาซื้อที่ดินมา 300 ไร่ เขาจะตัดที่เล็กๆ ขายออกไป และเหลือที่ที่สามารถสร้างอาคารขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตรเท่านั้น การศึกษาดูงานครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในกลุ่มบริษัทครั้งสำคัญเพื่อต่อยอดการทำงานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเพิ่มจุดแข็งในการขยายไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้ถึงเป้าหมายของการเป็นผู้นำอันดับ 1 ในอาเซียนของไทคอนในอีก 5 ปีข้างหน้า” นายวีรพันธ์ กล่าว
การดูงานในครั้งนี้นำไปสู่โครงการในอนาคต เช่น โครงการแลกเปลี่ยนทีมงานเพื่อเรียนรู้ด้านการตลาด การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาการทำงาน การศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ก่อนสร้างคลังสินค้า การเรียนรู้เพิ่มเติมในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลตลาด มองมุมของการวิเคราะห์ การประมวลผล ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ ซึ่งกลายจะเป็นก้าวย่างสำคัญของกลุ่มไทคอนในอนาคต