ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทโพลาริส แคปปิตัล จำกัด (มหาชน) (POLAR) ชี้แจงกรณีผู้ถือหุ้น ใช้สิทธิจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (พ.ร.บ. มหาชน) ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2560
ซึ่ง POLAR ชี้แจงว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. มหาชน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับของบริษัท ดังนั้น การประชุมดังกล่าวจึงไม่ใช่การจัดประชุมตามนัยของมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. มหาชน รายละเอียดปรากฏตามข่าว POLAR วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 นั้น
จากคำชี้แจงดังกล่าวยังไม่ครบถ้วนและชัดเจน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ POLAR ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมโดยเผยแพร่ผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
1. สรุปคะแนนเสียงขององค์ประชุมในการเปิดประชุม และคะแนนเสียงในแต่ละวาระ รวมถึงคะแนนเสียงในการขอเพิ่มวาระการประชุมตามที่ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติในวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
1.1 วาระแต่งตั้งกรรมการ 15 คน
1.2 วาระเปลี่ยนแปลงชื่อและจำนวนกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (เป็นวาระเพิ่มเติม)
1.3 วาระการปลดประธานกรรมการ (เป็นวาระเพิ่มเติม)
1.4 วาระการถอนทนายความออกจากคดีฟื้นฟูกิจการ (เป็นวาระเพิ่มเติม)
2. คณะกรรมการบริษัทได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังโดยหารือกับที่ปรึกษากฎหมาย และหน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
ในแต่ละประเด็นที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร และขอทราบความเห็นของหน่วยงานที่อ้างถึงดังกล่าวเพื่อแสดงได้ว่า บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้อง และสอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ซึ่ง POLAR ชี้แจงว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. มหาชน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับของบริษัท ดังนั้น การประชุมดังกล่าวจึงไม่ใช่การจัดประชุมตามนัยของมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. มหาชน รายละเอียดปรากฏตามข่าว POLAR วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 นั้น
จากคำชี้แจงดังกล่าวยังไม่ครบถ้วนและชัดเจน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ POLAR ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมโดยเผยแพร่ผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
1. สรุปคะแนนเสียงขององค์ประชุมในการเปิดประชุม และคะแนนเสียงในแต่ละวาระ รวมถึงคะแนนเสียงในการขอเพิ่มวาระการประชุมตามที่ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติในวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
1.1 วาระแต่งตั้งกรรมการ 15 คน
1.2 วาระเปลี่ยนแปลงชื่อและจำนวนกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (เป็นวาระเพิ่มเติม)
1.3 วาระการปลดประธานกรรมการ (เป็นวาระเพิ่มเติม)
1.4 วาระการถอนทนายความออกจากคดีฟื้นฟูกิจการ (เป็นวาระเพิ่มเติม)
2. คณะกรรมการบริษัทได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังโดยหารือกับที่ปรึกษากฎหมาย และหน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
ในแต่ละประเด็นที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร และขอทราบความเห็นของหน่วยงานที่อ้างถึงดังกล่าวเพื่อแสดงได้ว่า บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้อง และสอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว