xs
xsm
sm
md
lg

คาดสรุปเกณฑ์ภาษีออนไลน์ใน ก.ค. นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

“ประสงค์ พูนธเนศ” เผยกรมสรรพากรมอบแบงก์พาณิชย์ช่วยหักภาษี ณ ที่จ่ายซื้อขายสินค้าออนไลน์พร้อมกับจำนวนเงินที่โอนจ่ายเป็นค่าสินค้าด้วย หวัง ทำให้เกิดความสะดวก และง่ายต่อการตรวจสอบด้านกฎหมายซื้อขายสินค้าออนไลน์ คาดสรุปหลักเกณฑ์ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือน ก.ค. นี้ ก่อนเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป ส่วนตัวเลขอัตราภาษีจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบายจะเป็นผู้กำหนด

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรย้ำว่าจะต้องมีการพัฒนาไปสู่โลกเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยจะต้องมีการแบ่งระบบการชำระเงินแบบ e-Payment และ e-Business ออกจากกัน โดยการชำระเงินแบบ e-Payment นั้นจะเป็นเรื่องการซื้อ-ขาย การโอนเงิน และการชำระเงินที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่วน e- Business จะเป็นการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) ซึ่งคาดว่า จำนวนผู้ประกอบการขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันจะมีรวมกันอยู่ประมาณ 800,000 ราย

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงความคืบหน้าในการเสียภาษีผ่านระบบส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกค้าผ่านระบบ e-Tax Invoice by email ว่า ในปัจจุบันจะมีจำนวนที่ทดลองใช้ระบบดังกล่าวนี้แล้วไม่เกิน 80 ราย แต่กรมสรรพากรยังเชื่อว่าในอนาคตจะมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้นกว่านี้ หลังจากที่มีผู้ให้บริการ (Service Provider) มาช่วยอำนวยความสะดวก โดยการติดตั้งระบบให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็กมากขึ้น เนื่องจากระบบดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการเก็บเอกสารของผู้ประกอบการ รวมถึงต้นทุนของประเทศด้วย

นอกจากนี้ อธิบดีกรมสรรพากร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโยโลยีในอนาคตว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยกรมสรรพากรจะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับรายได้ทุกประเภท เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง รวมถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายจาการซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยผู้จ่ายภาษีจะยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์หักภาษี ณ ที่จ่ายพร้อมกับจำนวนเงินที่โอนจ่ายเป็นค่าสินค้าด้วย

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้โอนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร โดยเบื้องต้นจะมีช่องว่างในเอกสารเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทำการบันทึกการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดความสะดวก และง่ายต่อการตรวจสอบ สำหรับการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวนั้น

ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการออกเอกสารเพื่อให้เลือกช่องทางการชำระเงิน รวมถึงการการชำระหนี้ และการชำระสินค้า

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรย้ำว่าจะต้องมีการพัฒนาไปสู่โลกเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยจะต้องมีการแบ่งระบบการชำระเงินแบบ e-Payment และ e-Business ออกจากกัน โดยการชำระเงินแบบ e-Payment นั้นจะเป็นเรื่องการซื้อ-ขาย การโอนเงิน และการชำระเงินที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่วน e- Business จะเป็นการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) ซึ่งคาดว่า จำนวนผู้ประกอบการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันจะมีรวมกันอยู่ประมาณ 800,000 ราย

นายประสงค์ ยังกล่าวว่า การจัดเก็บภาษี E-Commerce นั้น ก็เพื่อปรับตัวให้ทันกระแสโลก โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าในประเทศสหรัฐฯ ได้ปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชาวสหรัฐฯ นิยมซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น ขณะที่การค้าขายออนไลน์ของไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น กรมสรรพากรจึงปรับตัวรองรับกระแสใหม่ โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร ได้ร่วมกันเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายในเรื่องการจัดเก็บภาษี E-Commerce เพื่อรับทราบข้อมูลรายรับ-รายจ่ายแท้จริง โดยเบื้องต้นกำหนดเพดานไว้ที่ 15% แต่อัตราการจัดเก็บจริงจะเป็นเท่าไหร่นั้น จะกำหนดอีกครั้งในกฎหมายลูกหลังจากที่ฝ่ายนโยบายได้เคาะอัตราภาษีในแต่ละรายการแล้ว ส่วนการสรุปหลักเกณฑ์ทั้งหมดนั้นคาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายในเดือน ก.ค. นี้ ก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น