กรมบัญชีกลางขยายระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ออกไปจนถึงวันที่ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 จะมีผลใช้บังคับ เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้มีมติขยายระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) ออกไป จนถึงวันที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 จะมีผลใช้บังคับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ยังไม่กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติ
นางสาวอรนุช กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวให้ความช่วยเหลือส่วนราชการในภูมิภาค หรือส่วนราชการในส่วนกลางที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ที่จะทำการจัดซื้อในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 15,000,000 บาท หรือจัดจ้างในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000,000 บาท ให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยอนุโลม โดยให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการนั้น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาได้ตามความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นสำคัญ
โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวเสริมว่า การขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าวเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจมีความรวดเร็ว คล่องตัวมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ และส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบยิ่งขึ้น
นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้มีมติขยายระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) ออกไป จนถึงวันที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 จะมีผลใช้บังคับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ยังไม่กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติ
นางสาวอรนุช กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวให้ความช่วยเหลือส่วนราชการในภูมิภาค หรือส่วนราชการในส่วนกลางที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ที่จะทำการจัดซื้อในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 15,000,000 บาท หรือจัดจ้างในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000,000 บาท ให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยอนุโลม โดยให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการนั้น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาได้ตามความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นสำคัญ
โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวเสริมว่า การขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าวเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจมีความรวดเร็ว คล่องตัวมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ และส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบยิ่งขึ้น