“จักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล” เผย “กรมธนารักษ์” ยังคงเดินหน้าพัฒนา 3 โครงการที่ราชพัสดุขนาดใหญ่ มูลค่ารวม 3.38 หมื่นล้านบาท ย้ำโครงการพัฒนาที่ราชฯ หมอชิตเก่า-ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์ อยู่ในขั้นตอนตรวจร่างสัญญาของกฤษฎีกา
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงการดำเนินการพัฒนาที่ราชพัสดุใน 3 โครงการขนาดใหญ่ว่า ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยทั้ง 3 โครงการขนาดใหญ่บนที่ราชพัสดุ จะมีมูลค่ารวม 3.38 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะประกอบไปด้วย โครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคม บริเวณที่ดินที่เป็นสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือสถานีหมอชิตเก่า, โครงการปรับปรุงอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, และโครงการพัฒนาอาคารศุลกสถาน ซึ่งเป็นอาคารโบราณที่จะถูกพัฒนาเป็นบูทีคโฮเทล
สำหรับการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีหมอชิตเก่า บนเนื้อที่กว่า 63 ไร่ ปัจจุบัน การเจรจากรอบการลงทุน และผลตอบแทนของรัฐตาม พ.ร.บ. ร่วมทุน พ.ศ. 2556 โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการตรวจร่างสัญญาโดยอัยการสูงสุด ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์สามารถตกลงในประเด็นต่างๆ ที่เคยเป็นปัญหาได้แล้ว เช่น การให้บริษัทบางกอก เทอร์มินอน ผู้เป็นเจ้าของสัมปทาน สามารถนำพื้นที่ในอาคารไปให้เช่าช่วงต่อได้, การปรับระยะถอยร่นของโครงการตมกฎหมายผังเมือง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ใช้สอยของโครงการลดลงเหลือกว่า 7 แสนตารางเมตร จาก 8 แสนตารางเมตร ส่วนมูลค่าโครงการได้มีการปรับขึ้นเป็น 2.69 หมื่นล้านบาท จาก 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าเมื่อ 20 ปีก่อน
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณหมอชิตเก่าดังกล่าวจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ และโรงแรม โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการ หรือราว 1.12 แสนตารางเมตรนั้น จะมอบให้ส่วนราชการใช้ประโยชน์ สำหรับผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่ผู้รับสัมปทานจะมอบให้แก่กรมธนารักษ์ ในฐานะเจ้าของที่ดิน คือ ค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 550 ล้านบาท, มูลค่าตอบแทนระหว่างก่อสร้าง 5.09 แสนบาทต่อเดือน, ค่าเช่าปีละ 5.35 ล้านบาท และค่าชดเชยฐานราก และดอกเบี้ยที่นับจากระยะเวลาที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทางเจ้าของสัมปทานยังไม่ได้ชำระให้ BTSC ที่เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างส่วนของฐานรากอีก 1.29 พันล้านบาท
ส่วนโครงการปรับปรุงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งบริษัท เอ็นซีซี เมเนจเมนท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้รับสิทธิในการบริหารนั้น บริษัทจะทำการปรับปรุงอาคารศูนย์ประชุมเดิม โดยใช้เงินลงทุน 6 พันล้านบาท โดยจะประกอบด้วย ตัวโรงแรมขนาด 400 ห้อง, ที่จอดรถ 3 พันคัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2.8 หมื่นตารางเมตร ปัจจุบัน สัญญาสัมปทานอยู่ในระหว่างการตรวจร่างของอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม มูลค่าผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับนั้น อยู่ที่ 1.89 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 5.10 พันล้านบาท ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจะมากกว่าค่าเช่าตลาด และสูงกว่าผลตอบแทนในสัญญาเดิม ซึ่งเคยตกลงไว้ที่ 1.41 หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 3.13 พันล้านบาท
สำหรับโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงโรงภาษีร้อยชักสาม หรือศุลกสถาน ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 จะถูกพัฒนาเป็นบูทีคโฮเทล โดยใช้หลักแนวความคิดการพัฒนาในเชิงอนุรักษ์โบราณสถาน โดยบริษัท ยู ซิตี้ ของนายคีรี กาญจนพาส ได้ซื้อสิทธิสัมปทานอายุ 30 ปี ต่อจากบริษัทเอ็น พาร์คและบริษัท ยู ซิตี้ ได้ส่งตัวแทนเข้าเรื่องมูลค่าการลงทุนพัฒนาโครงการไม่น้อยกว่า 900 ล้านบาท พร้อมเสนอผลประโยชน์ตอบแทนกับกรมธนารักษ์ ไม่ต่ำกว่า 1.3 พันล้านบาท
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงการดำเนินการพัฒนาที่ราชพัสดุใน 3 โครงการขนาดใหญ่ว่า ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยทั้ง 3 โครงการขนาดใหญ่บนที่ราชพัสดุ จะมีมูลค่ารวม 3.38 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะประกอบไปด้วย โครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคม บริเวณที่ดินที่เป็นสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือสถานีหมอชิตเก่า, โครงการปรับปรุงอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, และโครงการพัฒนาอาคารศุลกสถาน ซึ่งเป็นอาคารโบราณที่จะถูกพัฒนาเป็นบูทีคโฮเทล
สำหรับการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีหมอชิตเก่า บนเนื้อที่กว่า 63 ไร่ ปัจจุบัน การเจรจากรอบการลงทุน และผลตอบแทนของรัฐตาม พ.ร.บ. ร่วมทุน พ.ศ. 2556 โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการตรวจร่างสัญญาโดยอัยการสูงสุด ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์สามารถตกลงในประเด็นต่างๆ ที่เคยเป็นปัญหาได้แล้ว เช่น การให้บริษัทบางกอก เทอร์มินอน ผู้เป็นเจ้าของสัมปทาน สามารถนำพื้นที่ในอาคารไปให้เช่าช่วงต่อได้, การปรับระยะถอยร่นของโครงการตมกฎหมายผังเมือง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ใช้สอยของโครงการลดลงเหลือกว่า 7 แสนตารางเมตร จาก 8 แสนตารางเมตร ส่วนมูลค่าโครงการได้มีการปรับขึ้นเป็น 2.69 หมื่นล้านบาท จาก 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าเมื่อ 20 ปีก่อน
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณหมอชิตเก่าดังกล่าวจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ และโรงแรม โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการ หรือราว 1.12 แสนตารางเมตรนั้น จะมอบให้ส่วนราชการใช้ประโยชน์ สำหรับผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่ผู้รับสัมปทานจะมอบให้แก่กรมธนารักษ์ ในฐานะเจ้าของที่ดิน คือ ค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 550 ล้านบาท, มูลค่าตอบแทนระหว่างก่อสร้าง 5.09 แสนบาทต่อเดือน, ค่าเช่าปีละ 5.35 ล้านบาท และค่าชดเชยฐานราก และดอกเบี้ยที่นับจากระยะเวลาที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทางเจ้าของสัมปทานยังไม่ได้ชำระให้ BTSC ที่เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างส่วนของฐานรากอีก 1.29 พันล้านบาท
ส่วนโครงการปรับปรุงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งบริษัท เอ็นซีซี เมเนจเมนท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้รับสิทธิในการบริหารนั้น บริษัทจะทำการปรับปรุงอาคารศูนย์ประชุมเดิม โดยใช้เงินลงทุน 6 พันล้านบาท โดยจะประกอบด้วย ตัวโรงแรมขนาด 400 ห้อง, ที่จอดรถ 3 พันคัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2.8 หมื่นตารางเมตร ปัจจุบัน สัญญาสัมปทานอยู่ในระหว่างการตรวจร่างของอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม มูลค่าผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับนั้น อยู่ที่ 1.89 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 5.10 พันล้านบาท ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจะมากกว่าค่าเช่าตลาด และสูงกว่าผลตอบแทนในสัญญาเดิม ซึ่งเคยตกลงไว้ที่ 1.41 หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 3.13 พันล้านบาท
สำหรับโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงโรงภาษีร้อยชักสาม หรือศุลกสถาน ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 จะถูกพัฒนาเป็นบูทีคโฮเทล โดยใช้หลักแนวความคิดการพัฒนาในเชิงอนุรักษ์โบราณสถาน โดยบริษัท ยู ซิตี้ ของนายคีรี กาญจนพาส ได้ซื้อสิทธิสัมปทานอายุ 30 ปี ต่อจากบริษัทเอ็น พาร์คและบริษัท ยู ซิตี้ ได้ส่งตัวแทนเข้าเรื่องมูลค่าการลงทุนพัฒนาโครงการไม่น้อยกว่า 900 ล้านบาท พร้อมเสนอผลประโยชน์ตอบแทนกับกรมธนารักษ์ ไม่ต่ำกว่า 1.3 พันล้านบาท