รองอธิบดีกรมศุลฯ แจง 3 มาตรฐานการตรวจกระเป๋าผู้โดยสารที่เดินทางมาไทยผ่านสนามบินนานาชาติ หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนสื่อออนไลน์ เจ้าหน้าที่กรมศุลฯ เข้าจับกุมผู้โดยสารหญิง 2 รายที่โดนเจ้าหน้าที่ตรวจของที่สนามบินสุวรรณภูมิ เข้าจับกุมฐานลักลอบนำเข้านาฬิกาที่ไม่ผ่านการสำแดงภาษีด้วยการสวมไว้บนข้อมือ ด้าน ผอ.สนง.ศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระบุจากการติดตามของเจ้าหน้าที่เมื่อก่อนหน้า ชี้ผู้ถูกจับกุมเคยมีพฤติการณ์ลักลอบนำของเข้าประเทศผ่านไปรษณีย์มาหลายครั้งแล้ว
นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร ชี้แจงถึงแนวทาง หรือวิธีในการตรวจกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานนานาชาติว่า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะใช้หลักการตรวจผู้โดยสารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกขององค์การศุลกากรโลกใน 3 หลักเกณฑ์ คือ ใช้หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยการตรวจสอบข้อมูลผู้โดยสารก่อนจะเดินทางเข้ามายังปนะเทศไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากในแต่ละวันจะมีผู้เดินทางผ่านสนามบินนานาชาติของประเทศไทย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สูงถึง 100,000 ราย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบผู้โดยสารขาเข้าได้ครบทุกราย กรมศุลกากรจึงต้องอาศัยหลักการบริการความเสี่ยงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในเรื่องการใช้วิธีลักลอบนำเข้าสิ่งของที่นำติดตัวมาในประเทศตามรูปแบบใหม่ๆ, ความเสี่ยงจากประเทศต้นทางของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าไทย, ประวัติผู้โดยสารตามเอกสารของหนังสือเดินทาง (Passport) อีกทั้ง ยังใช้หลักเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรมของผู้โดยสาร และลักษณะกระเป๋าสัมภาระเดินทาง รวมถึงการสืบสวน และงานด้านการข่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม การตรวจข้าวของที่ติดตัวเข้ามาจากต่างประเทศของผู้โดยสารที่เดินทางมาในประเทศไทยนั้น รองอธิบดีกรมศุลกากร ย้ำว่า จะเพ่งเล็งเป็นลำดับแรกใน 2 กรณี คือ 1.ผู้โดยสารที่นำของจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายเชิงพาณิชย์ในประเทศ และ
2.มูลค่าของที่นำเข้ามาเมื่อคิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท และการนำเข้าสินค้าส่งผ่านทางไปรษณีย์ต้องไม่เกิน 1,500 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าภาษีศุลกากร
ด้าน นายบุญเทียม โชควิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลังกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเผยแพร่รายงานกรจับกุมนาฬิกาผู้โดยสารหญิง สัญชาติไทย 2 รายที่นำนาฬิกาติดตัวเข้ามาโดยใส่ไว้บนข้อมือตัวเอง จำนวน 2 เรือน โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการสืบสวนติดตามของเจ้าหน้าที่ระบุว่า ผู้โดยสารทั้ง 2 รายนั้น เคยมีมีพฤติการณ์ลักลอบนำเข้านาฬิกามาก่อนหน้านั้นทางไปรษณีย์มาหลายครั้งแล้ว
โดยในคืนวันที่ถูกจับกุม ผู้โดยสารทั้ง 2 รายได้ลักลอบนำเข้านาฬิกาด้วยวิธีใส่บนข้อมือเพื่ออำพรางเจ้าหน้าที่ และจากการสืบสวนเจ้าหน้าที่พบว่า เป็นนาฬิกายี่ห้อ Audemars Piguet และ Patek Philippe ซึ่งเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยมีการใช้งานแต่อย่างใด โดยผู้โดยสารทั้ง 2 ก็ยอมรับสารภาพว่า พวกตนได้กระทำความผิดจริง เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
สำหรับนาฬิกาทั้ง 2 เรือนที่ได้ลักลอบนำเข้ามานั้นจะมีมูลค่า 1,300,000 บาท แต่จะเพิ่มเป็น 1,500,000 บาท หลังรวมการชำระภาษีศุลกากร 5% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ซึ่งนายบุญเทียม กล่าวว่า หากผู้โดยสารทั้ง 2 ยอมสำแดงสิ่งของนำเข้าอย่างถูกกฎหมายแล้ว พวกเขาก็จะไม่ต้องจ่ายเงินสูงขนาดนี้ ขณะที่นาฬิกาก็ยังต้องถูกยึดให้ตกเป็นของแผ่นดินอีกด้วย สถิติการจับกุมการลักลอบนำเข้าสินค้าประเภทนาฬิกา กระเป๋า และรองเท้า จากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในปีงประมาณ 2559 สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้น 203 คดี คิดเป็นมูลค่า 136 ล้านบาท ส่วนในปีงบประมาณ 2560 สถิติการจับกุมตั้งแต่เดือน ต.ค.-เม.ย 60 มีทั้งสิ้น 136 คดี คิดเป็นมูลค่า 97.2 ล้านบาท
นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร ชี้แจงถึงแนวทาง หรือวิธีในการตรวจกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานนานาชาติว่า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะใช้หลักการตรวจผู้โดยสารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกขององค์การศุลกากรโลกใน 3 หลักเกณฑ์ คือ ใช้หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยการตรวจสอบข้อมูลผู้โดยสารก่อนจะเดินทางเข้ามายังปนะเทศไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากในแต่ละวันจะมีผู้เดินทางผ่านสนามบินนานาชาติของประเทศไทย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สูงถึง 100,000 ราย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบผู้โดยสารขาเข้าได้ครบทุกราย กรมศุลกากรจึงต้องอาศัยหลักการบริการความเสี่ยงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในเรื่องการใช้วิธีลักลอบนำเข้าสิ่งของที่นำติดตัวมาในประเทศตามรูปแบบใหม่ๆ, ความเสี่ยงจากประเทศต้นทางของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าไทย, ประวัติผู้โดยสารตามเอกสารของหนังสือเดินทาง (Passport) อีกทั้ง ยังใช้หลักเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรมของผู้โดยสาร และลักษณะกระเป๋าสัมภาระเดินทาง รวมถึงการสืบสวน และงานด้านการข่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม การตรวจข้าวของที่ติดตัวเข้ามาจากต่างประเทศของผู้โดยสารที่เดินทางมาในประเทศไทยนั้น รองอธิบดีกรมศุลกากร ย้ำว่า จะเพ่งเล็งเป็นลำดับแรกใน 2 กรณี คือ 1.ผู้โดยสารที่นำของจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายเชิงพาณิชย์ในประเทศ และ
2.มูลค่าของที่นำเข้ามาเมื่อคิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท และการนำเข้าสินค้าส่งผ่านทางไปรษณีย์ต้องไม่เกิน 1,500 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าภาษีศุลกากร
ด้าน นายบุญเทียม โชควิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลังกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเผยแพร่รายงานกรจับกุมนาฬิกาผู้โดยสารหญิง สัญชาติไทย 2 รายที่นำนาฬิกาติดตัวเข้ามาโดยใส่ไว้บนข้อมือตัวเอง จำนวน 2 เรือน โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการสืบสวนติดตามของเจ้าหน้าที่ระบุว่า ผู้โดยสารทั้ง 2 รายนั้น เคยมีมีพฤติการณ์ลักลอบนำเข้านาฬิกามาก่อนหน้านั้นทางไปรษณีย์มาหลายครั้งแล้ว
โดยในคืนวันที่ถูกจับกุม ผู้โดยสารทั้ง 2 รายได้ลักลอบนำเข้านาฬิกาด้วยวิธีใส่บนข้อมือเพื่ออำพรางเจ้าหน้าที่ และจากการสืบสวนเจ้าหน้าที่พบว่า เป็นนาฬิกายี่ห้อ Audemars Piguet และ Patek Philippe ซึ่งเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยมีการใช้งานแต่อย่างใด โดยผู้โดยสารทั้ง 2 ก็ยอมรับสารภาพว่า พวกตนได้กระทำความผิดจริง เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
สำหรับนาฬิกาทั้ง 2 เรือนที่ได้ลักลอบนำเข้ามานั้นจะมีมูลค่า 1,300,000 บาท แต่จะเพิ่มเป็น 1,500,000 บาท หลังรวมการชำระภาษีศุลกากร 5% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ซึ่งนายบุญเทียม กล่าวว่า หากผู้โดยสารทั้ง 2 ยอมสำแดงสิ่งของนำเข้าอย่างถูกกฎหมายแล้ว พวกเขาก็จะไม่ต้องจ่ายเงินสูงขนาดนี้ ขณะที่นาฬิกาก็ยังต้องถูกยึดให้ตกเป็นของแผ่นดินอีกด้วย สถิติการจับกุมการลักลอบนำเข้าสินค้าประเภทนาฬิกา กระเป๋า และรองเท้า จากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในปีงประมาณ 2559 สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้น 203 คดี คิดเป็นมูลค่า 136 ล้านบาท ส่วนในปีงบประมาณ 2560 สถิติการจับกุมตั้งแต่เดือน ต.ค.-เม.ย 60 มีทั้งสิ้น 136 คดี คิดเป็นมูลค่า 97.2 ล้านบาท