เครดิต สวิส รุกธุรกิจ Private Banking ในประเทศไทยเต็มสูบ เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน หวังสร้างทางเลือกการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่นิยมการลงทุนต่างประเทศ กลุ่มลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และครอบครัวตระกูลมหาเศรษฐี
นาย อูร์ส กรือเทอร์ (Mr. Urs Grueter) หัวหน้าฝ่ายกลุ่มการตลาดสำหรับ Private Banking ที่ดูแลประเทศไทย และเวียดนาม ของเครดิต สวิส กล่าวว่า ช่วงปีที่ผ่านมา ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยของเราเติบโตเป็นอย่างมาก ด้วยจำนวนบัญชีของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า และมีสินทรัพย์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารของบริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า กลุ่มลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่ และกลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยต่างให้ความสนใจแพลตฟอร์มบริหารความมั่งคั่งระดับโลกของเรา ซึ่งมีทีมผู้วางแผนการลงทุนในประเทศไทย อันประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์เชิงลึกด้านการลงทุนในต่างประเทศ และการบริหารความมั่งคั่งจากสถาบันการเงินชั้นนำระดับประเทศ และระดับโลก คอยดูแล และให้บริการแก่ลูกค้า ลูกค้าเหล่านี้ต้องการการจัดสรรสินทรัพย์ที่ครอบคลุมทุกด้าน และมีระบบชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งการเข้าถึงโซลูชันทางการเงิน และการลงทุนที่หลากหลาย และต่างกันออกไปตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และประเภทสินทรัพย์ และโซลูชันสำหรับการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล และครอบครัว รวมถึงธุรกิจของลูกค้าด้วยวิสัยทัศน์สำคัญของเครดิต สวิส ก็คือ การเป็นธนาคารของผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ในเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย และในปีที่ผ่านมา เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าในประเทศไทยเป็นอย่างดี
"บริษัทมีกลุ่มเป้าหมายหลักสองกลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (70 ล้านบาท) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารของธนาคาร (AUM) และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีสินทรัพย์ทางการเงินมูลค่า 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (1.7 พันล้านบาท) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารของธนาคาร หรือมีความมั่งคั่งสุทธิอยู่ที่ 250 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (8.7 พันล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจรุ่นแรก หรือรุ่นที่ 2 ที่เข้ามาบริหารธุรกิจของครอบครัว"
ประเทศไทยมีกลุ่มคนที่ความมั่งคั่งทางการเงินในอัตราส่วนที่มากพอสมควร เมื่อเทียบกับประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสำคัญๆ ในระดับภูมิภาคอย่างเช่น เกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์ โดยผลสำรวจของ Asia Pacific Wealth Report ประจำปี 25591 พบว่า กลุ่มคนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่า 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านบาท) ในประเทศไทยมีจำนวน 96,000 คน ซึ่งถือครองสินทรัพย์รวมแล้วมีมูลค่า 4.84 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (17 ล้านล้านบาท) ของมูลค่าสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ และจากรายงาน Global Wealth Report ของเครดิต สวิส ประจำปี 2559 ยังพบว่ากลุ่มคนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่า 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (1.7 พันล้านบาท) มีจำนวน 400 คนโดยประมาณ นอกจากนี้ ผลสำรวจ Asian Family Business Report ประจำปี 2554 ของเครดิต สวิส ยังพบว่า ร้อยละ 66 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (1.7 พันล้านบาท) เป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมทั้งหมดของประเทศ
นอกจากนี้ การขยายตัวของตลาดทางการเงินอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศ และภูมิภาค นโยบาย กฎระเบียบที่อนุญาตให้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ และนักลงทุนไทยที่ต้องการกระจายความมั่งคั่งในประเทศผ่านแพลตฟอร์มการลงทุนระดับโลก เครดิต สวิส จึงได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งระดับโลกแบบครบวงจรต่างจากที่อื่น และการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า วาณิชธนกิจให้กับกลุ่มลูกค้าในประเทศไทย รวมถึงการให้คำปรึกษากับลูกค้าในการลงทุนในต่างประเทศ และโซลูชันการบริหารความมั่งคั่งตามความต้องการของกลุ่มนักลงทุนชาวไทย ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ และกลุ่มคนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสำหรับการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล และครอบครัว รวมถึงองค์กรธุรกิจอีกด้วย
ขณะที่นางสาวทิพพา ปราณีประชาชน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจบริหารความมั่งคั่งประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นเทรนด์การบริหารความมั่งคั่ง และการลงทุนที่ชัดเจนในกลุ่มลูกค้าในประเทศไทย ลูกค้าที่เมื่อก่อนไม่เคยลงทุนนอกประเทศกำลังหันมาลงทุนในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเงินบาทแข็งค่า และความต้องการที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้นตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และประเภทสินทรัพย์ ซึ่งสามารถทำได้มากกว่าการลงทุนในประเทศที่มีตัวเลือกจำกัด ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านการลงทุนเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ที่เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนประเภท ultra-high net worth investors สามารถลงทุนในตราสารหลักทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investments) เช่น Private Equity, Hedge Funds, และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษของเราในประเทศไทยก็ได้ให้ความสนใจ และลงทุนในประเภทสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะโอกาสในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก ทีมงานฝ่ายการลงทุนทางเลือกประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญครอบคลุมกองทุนบริหารความเสี่ยง กองทุนร่วมลงทุน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก ก็สามารถให้คำแนะนำ และให้บริการลูกค้าในด้านต่างๆ เหล่านี้ได้
“ประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกันด้านความมั่งคั่งระหว่างวัย รวมทั้งการโอนกิจการให้ทายาทรับหน้าที่บริหารดูแลต่อ ทำให้กลุ่มธุรกิจครอบครัวรายใหญ่ๆ ในประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจในการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งธุรกิจในครอบครัวมากขึ้น รวมถึงการใช้โซลูชันหลายๆ แบบ เช่น กองทุนทรัสต์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีธรรมนูญธุรกิจครอบครัว (family constitution) ที่เหมาะสม เพื่อรองรับการสืบทอดตำแหน่งธุรกิจ และการวางแผนสำหรับทายาทรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต ทีมงานฝ่ายการวางแผนความมั่งคั่งประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเราได้ทำงานร่วมกับลูกค้า และครอบครัวของพวกเขาอย่างใกล้ชิด”
พร้อมกันนี้เครดิต สวิส ได้เปิดตัวดิจิตอลแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครดิต สวิส ได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรม (Innovation Hub) ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2557 พร้อมทีมงานด้านการพัฒนาที่ทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีหลากหลายบริษัทอย่างใกล้ชิด โดยนำระบบที่มีความคล่องตัวมากขึ้นมาใช้ในการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีด้านการธนาคาร เพื่อเป็นต้นแบบ digital solution platform ระดับโลก เพื่อยกระดับการพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้าในเอเชีย โดยได้นำระบบการให้บริการที่เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยร่วมกำหนดหัวข้อตามความต้องการกับลูกค้า สิ่งที่ต้องการนำเสนอ คุณสมบัติต่างๆ และลักษณะการใช้งานไปพร้อมกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการจัด Voice of the Client เพื่อให้ความรู้เชิงลึกแบบตัวต่อตัวแก่ลูกค้าหลายร้อยรายทั่วภูมิภาค กระบวนการดังกล่าวช่วยตอกย้ำความมั่นใจว่า ดิจิตอลแพลตฟอร์มที่มีจะสามารถตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการ