4แบงก์ใหญ่พร้อมใจประกาศลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลง 0.25-0.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป โดยธนาคารกรุงเทพประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มโออาร์ลงด้วยอีก 0.250% ระบุเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลดต้นทุนทางการเงิน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลง 0.50 % เพื่อร่วมตอบสนองนโยบายภาครัฐในการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคล รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเป็นไปตามเป้าหมาย
ดังนั้น ธนาคารจึงตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลง 0.50 % เหลือ 7.12 % เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลใช้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่ช่วยผลักดันเพื่อให้ประเทศสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง
จากการปรับอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR, MOR และ MRR อยู่ที่ 6.25 %, 7.12 % และ 7.12 % ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป
กรุงเทพลดดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มโออาร์ 0.25%-เอ็มอาร์อาร์ 0.50%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) ลง 0.250% เหลือ 7.125% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) ลง 0.500% เหลือ 7.125% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเภทในครั้งนี้ นับเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอสเอ็มอี ในเรื่องการลดต้นทุนด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
"ธนาคารกรุงเทพ มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาพรวม สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ"นายสุวรรณ กล่าว
กรุงไทยพร้อมออกโครงการช่วย SME 4.0
ด้านนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการขยายตัว ดังนั้นเพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการช่วยเหลือธุรกิจรายย่อยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนการประกอบธุรกิจที่ต่ำลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธนาคารจึงได้ลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR ลงร้อยละ 0.50 ต่อปี เหลืออัตราร้อยละ 7.12 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป รวมทั้งออกโครงการกรุงไทยช่วย SME 4.0 สำหรับลูกค้า SME ทุกกลุ่ม ภายใต้วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท
โครงการกรุงไทยช่วย SME 4.0 แบ่งการดูแลลูกค้า SME เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้า SME ที่มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท หรือมีวงเงินสินเชื่อมากกว่า 20 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 แพ็คเกจ ได้แก่ กรณีลูกค้ามีหลักประกัน คิดดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เริ่มต้นที่อัตราร้อยละ 4 ต่อปี ลูกค้าที่ใช้บสย.ค้ำประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เริ่มต้นที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ส่วนสินเชื่อขายลดลูกหนี้การค้าหรือ Factoring ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 4 ต่อปีเช่นกัน ให้กู้สูงสุดรายละ 40 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี วงเงินกู้รวม 4,000 ล้านบาท
สำหรับลูกค้า SME ขนาดเล็ก ที่มียอดขายน้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือมีวงเงินสินเชื่อน้อยกว่า 20 ล้านบาท ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ในอัตราเริ่มต้นที่ร้อยละ 4 ต่อปี ทั้งลูกค้าที่มีหลักประกัน หรือมีหลักประกันและใช้บสย.ค้ำประกัน ให้กู้สูงสุดรายละ 20 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี วงเงินกู้รวม 2,000 ล้านบาท
นายผยง ศรีวณิช กล่าวต่อไปว่า การลดดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยและออกมาตรการช่วยเหลือ SME 4.0 ในครั้งนี้ ธนาคารต้องการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของธุรกิจรายย่อย ด้วยการลดต้นทุนทางการเงินให้กับธุรกิจรายย่อยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งช่วยให้ประชาชนทั่วไปมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสภาพคล่องมากขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลง
ไทยพาณิชย์ลดดบ.กู้0.25%ทั้งกระดาน MLR-MOR-MRR
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง MLR MOR และ MRR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.025 % ต่อปี MOR อยู่ที่ 6.870 % ต่อปี และMRR อยู่ที่ 7.370 % ต่อปี
นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักดีถึงหน้าที่สำคัญของธนาคารในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญอย่างผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนทั่วไป การลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทเป็นการช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ มาตรการดอกเบี้ยเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ธนาคารพร้อมออกมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย ตลอดจนการสร้างความเข้าใจทางการเงินและการออมให้กับลูกค้าบุคคลทั่วไป
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลง 0.50 % เพื่อร่วมตอบสนองนโยบายภาครัฐในการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคล รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเป็นไปตามเป้าหมาย
ดังนั้น ธนาคารจึงตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลง 0.50 % เหลือ 7.12 % เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลใช้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่ช่วยผลักดันเพื่อให้ประเทศสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง
จากการปรับอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR, MOR และ MRR อยู่ที่ 6.25 %, 7.12 % และ 7.12 % ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป
กรุงเทพลดดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มโออาร์ 0.25%-เอ็มอาร์อาร์ 0.50%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) ลง 0.250% เหลือ 7.125% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) ลง 0.500% เหลือ 7.125% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเภทในครั้งนี้ นับเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอสเอ็มอี ในเรื่องการลดต้นทุนด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
"ธนาคารกรุงเทพ มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาพรวม สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ"นายสุวรรณ กล่าว
กรุงไทยพร้อมออกโครงการช่วย SME 4.0
ด้านนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการขยายตัว ดังนั้นเพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการช่วยเหลือธุรกิจรายย่อยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนการประกอบธุรกิจที่ต่ำลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธนาคารจึงได้ลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR ลงร้อยละ 0.50 ต่อปี เหลืออัตราร้อยละ 7.12 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป รวมทั้งออกโครงการกรุงไทยช่วย SME 4.0 สำหรับลูกค้า SME ทุกกลุ่ม ภายใต้วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท
โครงการกรุงไทยช่วย SME 4.0 แบ่งการดูแลลูกค้า SME เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้า SME ที่มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท หรือมีวงเงินสินเชื่อมากกว่า 20 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 แพ็คเกจ ได้แก่ กรณีลูกค้ามีหลักประกัน คิดดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เริ่มต้นที่อัตราร้อยละ 4 ต่อปี ลูกค้าที่ใช้บสย.ค้ำประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เริ่มต้นที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ส่วนสินเชื่อขายลดลูกหนี้การค้าหรือ Factoring ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 4 ต่อปีเช่นกัน ให้กู้สูงสุดรายละ 40 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี วงเงินกู้รวม 4,000 ล้านบาท
สำหรับลูกค้า SME ขนาดเล็ก ที่มียอดขายน้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือมีวงเงินสินเชื่อน้อยกว่า 20 ล้านบาท ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ในอัตราเริ่มต้นที่ร้อยละ 4 ต่อปี ทั้งลูกค้าที่มีหลักประกัน หรือมีหลักประกันและใช้บสย.ค้ำประกัน ให้กู้สูงสุดรายละ 20 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี วงเงินกู้รวม 2,000 ล้านบาท
นายผยง ศรีวณิช กล่าวต่อไปว่า การลดดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยและออกมาตรการช่วยเหลือ SME 4.0 ในครั้งนี้ ธนาคารต้องการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของธุรกิจรายย่อย ด้วยการลดต้นทุนทางการเงินให้กับธุรกิจรายย่อยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งช่วยให้ประชาชนทั่วไปมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสภาพคล่องมากขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลง
ไทยพาณิชย์ลดดบ.กู้0.25%ทั้งกระดาน MLR-MOR-MRR
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง MLR MOR และ MRR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.025 % ต่อปี MOR อยู่ที่ 6.870 % ต่อปี และMRR อยู่ที่ 7.370 % ต่อปี
นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักดีถึงหน้าที่สำคัญของธนาคารในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญอย่างผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนทั่วไป การลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทเป็นการช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ มาตรการดอกเบี้ยเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ธนาคารพร้อมออกมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย ตลอดจนการสร้างความเข้าใจทางการเงินและการออมให้กับลูกค้าบุคคลทั่วไป