ที่ประชุม AFMGM+3 เห็นพ้องแม้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีจากภาคการผลิต และการค้าที่กำลังฟื้นตัว แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจ-การเงินของประเทศพัฒนาแล้ว แนะให้สมาชิกอาเซียน+3 จำเป็นต้องดำเนินนโยบายแบบผสมผสาน รักษาเสถียรภาพทางการเงิน ทั้งต้องดำเนินนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างสมดุล และทั่วถึง และตลาดทุนยังต้องพัฒนาระบบการติดตาม-ป้องกันความผันผวนจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ครั้งที่ 50 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (AFMGM+3) ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2560 ณ นครโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับผลการประชุมร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากที่ประชุม AFMGM+3 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ได้มีประเด็นการหารือที่สำคัญๆ ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค โดยที่ประชุมเห็นว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังแข็งแกร่ง และเติบโตได้ดีในปี 2560 ต่อเนื่องถึงปี 2561 ขณะที่ภูมิภาคเอเชียจะยังคงมีบทบาทอันสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังที่มีความเหมาะสม
โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงมีการดำเนินมาตรการเพื่อปฏิรูปเชิงโครงสร้างมาอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายมหภาคเพื่อความมั่นคง (macroprudential policy) ที่มีประสิทธิภาพ และมีความระมัดระวัง
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดีจากภาคการผลิต และการค้าที่กำลังฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกก็ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการดำเนินนโยบายปกป้องทางการค้า และการดำเนินนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดมากขึ้น โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า แต่ละประเทศจำเป็นต้องดำเนินนโยบายแบบผสมผสาน (Policy Mix) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ขณะเดียวกัน ก็ต้องดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างสมดุล และทั่วถึง นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังตระหนักถึงประโยชน์ของการพัฒนาตลาดทุนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ รวมถึงต้องมีการพัฒนาระบบการติดตาม และป้องกันความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนควบคู่ไปด้วย
ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการ ADB ของไทย ได้มีสุนทรพจน์ถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทย และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้นด้วยเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 ควบคู่กับการส่งเสริมการลงทุนผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบที่เอื้อต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนาระบบสวัสดิการด้านสังคมของประเทศ ทั้งยังได้เน้นย้ำถึงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับ ADB เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม และบทบาทความร่วมมือระหว่างกันภายในภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม และยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ค.ศ. 2030
นอกจากนี้ ผลการหารือโต๊ะกลมของผู้ว่าการ ADB ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ภายใต้หัวข้อ “Responding to Rising Inequality” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะนำไปสู่การลดความยากจน และขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยขั้นพื้นฐาน และสวัสดิการแห่งรัฐ และการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นต้น
สำหรับการประชุมระหว่างนาย Takehiko Nakao ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย กับผู้ว่าการของประเทศสมาชิก (Governors’ Plenary) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 ในหัวข้อ “New ADB Strategy 2030” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยได้ขอให้ ADB ดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกิจในการลดความยากจน และสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ครั้งที่ 50 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (AFMGM+3) ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2560 ณ นครโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับผลการประชุมร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากที่ประชุม AFMGM+3 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ได้มีประเด็นการหารือที่สำคัญๆ ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค โดยที่ประชุมเห็นว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังแข็งแกร่ง และเติบโตได้ดีในปี 2560 ต่อเนื่องถึงปี 2561 ขณะที่ภูมิภาคเอเชียจะยังคงมีบทบาทอันสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังที่มีความเหมาะสม
โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงมีการดำเนินมาตรการเพื่อปฏิรูปเชิงโครงสร้างมาอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายมหภาคเพื่อความมั่นคง (macroprudential policy) ที่มีประสิทธิภาพ และมีความระมัดระวัง
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดีจากภาคการผลิต และการค้าที่กำลังฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกก็ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการดำเนินนโยบายปกป้องทางการค้า และการดำเนินนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดมากขึ้น โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า แต่ละประเทศจำเป็นต้องดำเนินนโยบายแบบผสมผสาน (Policy Mix) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ขณะเดียวกัน ก็ต้องดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างสมดุล และทั่วถึง นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังตระหนักถึงประโยชน์ของการพัฒนาตลาดทุนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ รวมถึงต้องมีการพัฒนาระบบการติดตาม และป้องกันความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนควบคู่ไปด้วย
ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการ ADB ของไทย ได้มีสุนทรพจน์ถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทย และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้นด้วยเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 ควบคู่กับการส่งเสริมการลงทุนผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบที่เอื้อต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนาระบบสวัสดิการด้านสังคมของประเทศ ทั้งยังได้เน้นย้ำถึงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับ ADB เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม และบทบาทความร่วมมือระหว่างกันภายในภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม และยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ค.ศ. 2030
นอกจากนี้ ผลการหารือโต๊ะกลมของผู้ว่าการ ADB ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ภายใต้หัวข้อ “Responding to Rising Inequality” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะนำไปสู่การลดความยากจน และขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยขั้นพื้นฐาน และสวัสดิการแห่งรัฐ และการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นต้น
สำหรับการประชุมระหว่างนาย Takehiko Nakao ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย กับผู้ว่าการของประเทศสมาชิก (Governors’ Plenary) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 ในหัวข้อ “New ADB Strategy 2030” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยได้ขอให้ ADB ดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกิจในการลดความยากจน และสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม