นักลงทุนฮ่องกงเข้าพบ รมว.คลัง ระบุสนใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ติดปัญหาไทยยังขาดข้อมูลตัวโครงการที่ต้องทำ PPP อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ สั่ง ศคร. รวบรวมรายขื่อโครงการ
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กล่าวหลังการประชุมร่วมกับนักลงทุนจากประเทศฮ่องกงว่า ส่วนใหญ่นักลงทุนจะถามเรื่องเงื่อนไขการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ตนได้ชี้แจงว่า กฎหมาย PPP ของไทยในปัจจุบันนั้น เปิดกว้าง ไม่ได้ให้เฉพาะคนไทยหรือต่างชาติที่สามารถจะลงทุนได้ แต่เนื่องจากกฎหมาย PPP ฉบับเก่านั้น ยังมีปัญหาขาดความคล่องตัว และประเทศไทยก็ได้พยายามร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการทำ PPP ตามแบบสากล โดยกำหนดให้นำเรื่องการแบ่งปันความเสี่ยง (Risk Sharing) เข้ามา เช่น หากโครงการใดที่ทำได้ดีแล้ว เอกชนก็ควรต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐมากขึ้น และในทางกลับกันหากโครงการใดที่ทำแล้วแย่กว่าที่เคยคิดไว้ รัฐบาลก็ต้องช่วยดูแลเพื่อให้โครงการดังกล่าวนั้นสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้
โดยแนวคิดในลักษณะดังกล่าวในประเทศไทยยังไม่ค่อยมี ดังนั้น รัฐบาลจึงได้พยายามที่จะร่างกฎหมายเพื่อให้สามารถรองรับการทำเรื่อง risk sharing ในประเทศได้ แม้ในขณะนี้จะไม่ได้ห้ามทำก็ตาม แต่ก็ยังเป็นปัญหาคณะกรรมการในแต่ละโครงการต่างก็ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย และการแก้กฎหมายก็เพื่อทำให้มีความชัดเจน และสะดวกมากขึ้น เมื่อรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว การทำ PPP ในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แม้นักลงทุนต่างชาติจะมีความสนใจเข้าลงทุนในโครงการพื้นฐานของไทยแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังมองว่า ประเทศไทยไม่ได้มีจุดศูนย์รวมว่า โครงสร้างพื้นฐานอะไรบ้างที่ต้องทำ PPP และอยู่ตรงไหนบ้าง เพื่อให้พวกเขาได้ไปดู และหากมีรายใดสนใจในโครงการใดจะได้ติดต่อเข้ามา โดยในเบื้องต้น ตนได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้กลับไปรวบรวมรายชื่อโครงการ PPP ทั้งหมดที่นักลงทุนต่างชาติจะลงทุนได้นั้นจะมีอะไรบ้าง และหากรายใดสนใจโครงการใดก็สามารถไปลงทุนได้ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเชื้อเชิญให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นด้วย
แม้ที่ประชุมไม่ได้มีการเสนอให้ทบทวนเรื่องสัดส่วนการ่วมทุน แต่นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องยืนอยู่บนหลักการรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ และรัฐก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์ภาคเอกชน ขณะเดียวกัน เอกชนก็ยังต้องได้รับการคุ้มครองพอสมควร และเป็นธรรมตามหลักการการเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐ และเอกชน
นอกจากนี้ นายอภิศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวคิดของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยังเน้นถึงสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกยังคงมีปัญหาขาดแคลนในระยะนี้ คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในส่วนของประเทศไทยนั้น ตนมองว่า ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรนัก เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากแล้ว แต่การหาเงินทุนเพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดแคลนในโลกนี้ รัฐบาลอาจจะมีไม่เพียงพอ และเมื่อเงินรัฐบาลไม่เพียงพอเช่นนี้แล้ว ธนาคารโลกจึงได้เสนอให้ใช้เงินจากภาคเอกชน โดยเน้นย้ำในเรื่องของ PPP เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นได้
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กล่าวหลังการประชุมร่วมกับนักลงทุนจากประเทศฮ่องกงว่า ส่วนใหญ่นักลงทุนจะถามเรื่องเงื่อนไขการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ตนได้ชี้แจงว่า กฎหมาย PPP ของไทยในปัจจุบันนั้น เปิดกว้าง ไม่ได้ให้เฉพาะคนไทยหรือต่างชาติที่สามารถจะลงทุนได้ แต่เนื่องจากกฎหมาย PPP ฉบับเก่านั้น ยังมีปัญหาขาดความคล่องตัว และประเทศไทยก็ได้พยายามร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการทำ PPP ตามแบบสากล โดยกำหนดให้นำเรื่องการแบ่งปันความเสี่ยง (Risk Sharing) เข้ามา เช่น หากโครงการใดที่ทำได้ดีแล้ว เอกชนก็ควรต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐมากขึ้น และในทางกลับกันหากโครงการใดที่ทำแล้วแย่กว่าที่เคยคิดไว้ รัฐบาลก็ต้องช่วยดูแลเพื่อให้โครงการดังกล่าวนั้นสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้
โดยแนวคิดในลักษณะดังกล่าวในประเทศไทยยังไม่ค่อยมี ดังนั้น รัฐบาลจึงได้พยายามที่จะร่างกฎหมายเพื่อให้สามารถรองรับการทำเรื่อง risk sharing ในประเทศได้ แม้ในขณะนี้จะไม่ได้ห้ามทำก็ตาม แต่ก็ยังเป็นปัญหาคณะกรรมการในแต่ละโครงการต่างก็ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย และการแก้กฎหมายก็เพื่อทำให้มีความชัดเจน และสะดวกมากขึ้น เมื่อรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว การทำ PPP ในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แม้นักลงทุนต่างชาติจะมีความสนใจเข้าลงทุนในโครงการพื้นฐานของไทยแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังมองว่า ประเทศไทยไม่ได้มีจุดศูนย์รวมว่า โครงสร้างพื้นฐานอะไรบ้างที่ต้องทำ PPP และอยู่ตรงไหนบ้าง เพื่อให้พวกเขาได้ไปดู และหากมีรายใดสนใจในโครงการใดจะได้ติดต่อเข้ามา โดยในเบื้องต้น ตนได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้กลับไปรวบรวมรายชื่อโครงการ PPP ทั้งหมดที่นักลงทุนต่างชาติจะลงทุนได้นั้นจะมีอะไรบ้าง และหากรายใดสนใจโครงการใดก็สามารถไปลงทุนได้ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเชื้อเชิญให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นด้วย
แม้ที่ประชุมไม่ได้มีการเสนอให้ทบทวนเรื่องสัดส่วนการ่วมทุน แต่นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องยืนอยู่บนหลักการรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ และรัฐก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์ภาคเอกชน ขณะเดียวกัน เอกชนก็ยังต้องได้รับการคุ้มครองพอสมควร และเป็นธรรมตามหลักการการเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐ และเอกชน
นอกจากนี้ นายอภิศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวคิดของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยังเน้นถึงสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกยังคงมีปัญหาขาดแคลนในระยะนี้ คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในส่วนของประเทศไทยนั้น ตนมองว่า ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรนัก เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากแล้ว แต่การหาเงินทุนเพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดแคลนในโลกนี้ รัฐบาลอาจจะมีไม่เพียงพอ และเมื่อเงินรัฐบาลไม่เพียงพอเช่นนี้แล้ว ธนาคารโลกจึงได้เสนอให้ใช้เงินจากภาคเอกชน โดยเน้นย้ำในเรื่องของ PPP เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นได้