“ธ.ก.ส” ตั้งเป้าปีบัญชี 60 สินเชื่อรวมหลังหักสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลแล้วจะเติบโต 7% ส่วนเงินฝากขยายตัว 4% และคุมสัดส่วนหนี้ NPLs ให้โตไม่เกิน 4% ส่วนเป้าหมายการปล่อยเงินกู้ยังเน้นภาคการเษตร แต่จะเพิ่มน้ำหนักสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคเกษตรอีกราว 3 หมื่นราย จาก 4.8 หมื่นรายเมื่อปี 59 คาดยอดรวมผู้ลงทะเบียนคนจนถึง 15 พ.ค. 60 จะอยู่ที่ 8 ล้านคน โดยจะมีสัดส่วนผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากมีมีคุณสมบัติไม่ตรงเกณฑ์ราว 10% ขณะที่มาตรการเพิ่มรายได้เกษตรกรแบบยั่งยืนจะได้ข้อสรุปใน มิ.ย.นี้
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานปีบัญชี 2560 (1 เมษายน 2560-31 มีนาคม 2561) และผลการดำเนินงานปีบัญชี 2559 (1 เมษายน 2559-31 มีนาคม 2560) ว่า ในปีบัญชี 2560 ธ.ก.ส.ตั้งเป้าเติบโตด้านสินเชื่อ 7% ไม่รวมสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล เงินฝากขยายตัว 4% และควบคุมอัตราส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไม่เกิน 4% สำหรับผลดำเนินการทางการเงิน ธ.ก.ส.จะรักษาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยมุ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการการเงินของภาคเกษตรและชนบทไทย (Rural Universal Bank) ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คือ ข้าว ประสบปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วง และภัยแล้ง ขณะเดียวกัน ยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมหลายครั้งติดต่อกันในช่วงปลายปีก่อน ทำให้ชาวสวนยางไม่สามารถกรีดยางได้ ทำให้เกษตรกรขาดรายได้ และเป็นเอ็นพีแอล เพิ่มขึ้น โดยในปี 60 คาดว่าปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วงจะลดลง ขณะที่ชาวสวนยางเริ่มกรีดยางพาราได้มากขึ้น ทำให้ NPLs ทยอยปรับตัวลงได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปี 60 ยังคงเน้นการปล่อยสินเชื่อภาคการเกษตรกร แต่จะเพิ่มน้ำหนักการปล่อยสินเชื่อ SMEs ภาคเกษตรอีกประมาณ 30,000 ราย หรือคิดเป็นวงเงินรวม 72,000 ล้านบาท โดยในปี 59 ธ.ก.ส.ได้ปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้แล้วประมาณ 48,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2563 จะขยายการปล่อยสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวให้แตะระดับ 40% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด โดยจะยกระดับเกษตรกรที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นหัวขบวนเหมือนรถไฟ เพื่อให้หัวขบวนช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย และขับเคลื่อนไปด้วยกัน
“ในปีบัญชี 60 ธ.ก.ส. ตั้งใจที่จะเพิ่มหัวขบวนรถไฟ SMEs เกษตรอย่างน้อย 1 รายในทุกตำบลทั่วประเทศ ที่มีอยู่ 7,305 ตำบล ซึ่งในปี 59 เราสามารถสร้างหัวขบวนของเอสเอ็มอีเกษตร ได้แล้ว 2,200 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ SMEs เกษตรที่ปล่อยในปีที่แล้ว 48,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยลากเกษตรกรที่อยู่ในห่วงโซ่ของกลุ่ม SMEs เกษตรได้รวมกันประมาณ 20,000 ราย เช่น กรณีบริษัท Banana society กิจการแปรรูปจากกล้วย ที่จังหวัดพิษณุโลก บริษัท Lemon Me ผู้ผลิตน้ำมะนาว พร้อมดื่ม และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านอุ่มแสง ตำบลดู่ อำเภอราศีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น”
ส่วนผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.ในปีบัญชี 2559 นั้น ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า มีสินทรัพย์รวม 1,617,679 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 110,241 ล้านบาท หรือ 7.31% สินเชื่อรวม 1,277,044 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 72,625 ล้านบาท หรือ 6.03% เงินฝาก 1,406,490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 95,547 ล้านบาท มีส่วนของเจ้าของ 126,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.01% มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 4.03% และมีกำไรสุทธิ 9,496 ล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าในการลงทะเบียนเพื่อขอรับสวัสดิการจากรัฐ ซึ่งเริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.-15 พ.ค. 60 นายอภิรมย์ คาดว่า จะมีประชาชนลงทะเบียนผ่านธนาคารประมาณ 8 ล้านคน และในจำนวนนี้ 30% จะเป็นเกษตรกรยากมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และอีก 26% จะเป็นลูกจ้างภาคการเกษตร กลุ่มเด็กนักเรียน รวมถึงประชาชนที่ว่างงาน และส่วนที่เหลืออีก 44% นั้น จะเป็นเกษตรกรที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ยังคาดด้วยว่า จากจำนวนประชาชนที่มาลงทะเบียนประมาณ 8 ล้านคน ผ่าน ธ.ก.ส.จะมีสัดส่วนผู้ที่ถูกตัดสิทธิ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ประมาณ 10% หรือราว 800,000 คน
ส่วนกรณีที่ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง สั่งให้ ธ.ก.ส.ศึกษารูปแบบการพัฒนาความยั่งยืนของภาคการเกษตรโดยครอบคลุมการปลูกพืชทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะข้าว หรือยางพารา คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณปลายเดือน มิ.ย.นี้ แต่โดยหลักการแล้ว เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกพืช โดยต้องปลูกพืชที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยมุ่งสู่ยุค 4.0
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานปีบัญชี 2560 (1 เมษายน 2560-31 มีนาคม 2561) และผลการดำเนินงานปีบัญชี 2559 (1 เมษายน 2559-31 มีนาคม 2560) ว่า ในปีบัญชี 2560 ธ.ก.ส.ตั้งเป้าเติบโตด้านสินเชื่อ 7% ไม่รวมสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล เงินฝากขยายตัว 4% และควบคุมอัตราส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไม่เกิน 4% สำหรับผลดำเนินการทางการเงิน ธ.ก.ส.จะรักษาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยมุ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการการเงินของภาคเกษตรและชนบทไทย (Rural Universal Bank) ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คือ ข้าว ประสบปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วง และภัยแล้ง ขณะเดียวกัน ยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมหลายครั้งติดต่อกันในช่วงปลายปีก่อน ทำให้ชาวสวนยางไม่สามารถกรีดยางได้ ทำให้เกษตรกรขาดรายได้ และเป็นเอ็นพีแอล เพิ่มขึ้น โดยในปี 60 คาดว่าปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วงจะลดลง ขณะที่ชาวสวนยางเริ่มกรีดยางพาราได้มากขึ้น ทำให้ NPLs ทยอยปรับตัวลงได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปี 60 ยังคงเน้นการปล่อยสินเชื่อภาคการเกษตรกร แต่จะเพิ่มน้ำหนักการปล่อยสินเชื่อ SMEs ภาคเกษตรอีกประมาณ 30,000 ราย หรือคิดเป็นวงเงินรวม 72,000 ล้านบาท โดยในปี 59 ธ.ก.ส.ได้ปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้แล้วประมาณ 48,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2563 จะขยายการปล่อยสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวให้แตะระดับ 40% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด โดยจะยกระดับเกษตรกรที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นหัวขบวนเหมือนรถไฟ เพื่อให้หัวขบวนช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย และขับเคลื่อนไปด้วยกัน
“ในปีบัญชี 60 ธ.ก.ส. ตั้งใจที่จะเพิ่มหัวขบวนรถไฟ SMEs เกษตรอย่างน้อย 1 รายในทุกตำบลทั่วประเทศ ที่มีอยู่ 7,305 ตำบล ซึ่งในปี 59 เราสามารถสร้างหัวขบวนของเอสเอ็มอีเกษตร ได้แล้ว 2,200 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ SMEs เกษตรที่ปล่อยในปีที่แล้ว 48,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยลากเกษตรกรที่อยู่ในห่วงโซ่ของกลุ่ม SMEs เกษตรได้รวมกันประมาณ 20,000 ราย เช่น กรณีบริษัท Banana society กิจการแปรรูปจากกล้วย ที่จังหวัดพิษณุโลก บริษัท Lemon Me ผู้ผลิตน้ำมะนาว พร้อมดื่ม และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านอุ่มแสง ตำบลดู่ อำเภอราศีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น”
ส่วนผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.ในปีบัญชี 2559 นั้น ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า มีสินทรัพย์รวม 1,617,679 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 110,241 ล้านบาท หรือ 7.31% สินเชื่อรวม 1,277,044 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 72,625 ล้านบาท หรือ 6.03% เงินฝาก 1,406,490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 95,547 ล้านบาท มีส่วนของเจ้าของ 126,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.01% มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 4.03% และมีกำไรสุทธิ 9,496 ล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าในการลงทะเบียนเพื่อขอรับสวัสดิการจากรัฐ ซึ่งเริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.-15 พ.ค. 60 นายอภิรมย์ คาดว่า จะมีประชาชนลงทะเบียนผ่านธนาคารประมาณ 8 ล้านคน และในจำนวนนี้ 30% จะเป็นเกษตรกรยากมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และอีก 26% จะเป็นลูกจ้างภาคการเกษตร กลุ่มเด็กนักเรียน รวมถึงประชาชนที่ว่างงาน และส่วนที่เหลืออีก 44% นั้น จะเป็นเกษตรกรที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ยังคาดด้วยว่า จากจำนวนประชาชนที่มาลงทะเบียนประมาณ 8 ล้านคน ผ่าน ธ.ก.ส.จะมีสัดส่วนผู้ที่ถูกตัดสิทธิ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ประมาณ 10% หรือราว 800,000 คน
ส่วนกรณีที่ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง สั่งให้ ธ.ก.ส.ศึกษารูปแบบการพัฒนาความยั่งยืนของภาคการเกษตรโดยครอบคลุมการปลูกพืชทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะข้าว หรือยางพารา คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณปลายเดือน มิ.ย.นี้ แต่โดยหลักการแล้ว เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกพืช โดยต้องปลูกพืชที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยมุ่งสู่ยุค 4.0