ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมรอบสามของปี 2560 ในวันที่ 2-3 พ.ค.นี้ เพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะทยอยออกมา ปัจจัยเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ตลอดจนประเมินความชัดเจนของโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากที่เฟด ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ในการประชุมเดือน มี.ค. 2560 ทั้งนี้ แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสนับสนุนเส้นทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป แต่ปัจจัยความไม่แน่นอนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมืองในประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดจากภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสหรัฐฯ น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เฟด ยืนดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในระหว่างการประเมินผลกระทบดังกล่าว ก่อนที่จะมีการทยอยปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 1-2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับจังหวะเวลาการปรับลดขนาดงบดุลในระยะต่อไป โดยเฉพาะหากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกทยอยลดลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดำเนินอย่างต่อเนื่อง สำหรับในระยะสั้น คงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ และกระแสการเมืองในภูมิภาคสำคัญของโลกอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวคลายความกังวลลง ก็อาจจะทำให้ความสนใจของตลาดกลับมาที่ประเด็นความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเฟด รอบเดือน มิ.ย. 2560
ด้านผลต่อไทยนั้น การคงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในครั้งนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม การคงอัตราดอกเบี้ยของเฟด อาจจะส่งผลให้มีเงินทุนบางส่วนยังคงไหลเข้าประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งไทย อันอาจส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่านั้น มีกรอบการเคลื่อนไหวที่ผันผวน อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป หากเฟด ยังคงส่งสัญญาณถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นต่อเนื่องของสหรัฐฯ (รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้เห็นการเริ่มปรับลดงบดุล) ก็อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวคงส่งผ่านมา ยังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย และคงเพิ่มความอ่อนไหวต่อประเด็นการเคลื่อนย้ายเงินทุน และความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน
คาดบาทแกว่งในกรอบ 34.35-34.75
สำหรับค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.35-34.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด การหารือของผู้นำยุโรป เกี่ยวกับประเด็น Brexit และช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองของฝรั่งเศส ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตรการว่างงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน เม.ย. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้/การใช้จ่าย และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลเดือน มี.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนน่าจะยังคงรอติดตามตัวเลขจีดีพี ของยูโรโซน และสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 1-2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับจังหวะเวลาการปรับลดขนาดงบดุลในระยะต่อไป โดยเฉพาะหากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกทยอยลดลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดำเนินอย่างต่อเนื่อง สำหรับในระยะสั้น คงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ และกระแสการเมืองในภูมิภาคสำคัญของโลกอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวคลายความกังวลลง ก็อาจจะทำให้ความสนใจของตลาดกลับมาที่ประเด็นความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเฟด รอบเดือน มิ.ย. 2560
ด้านผลต่อไทยนั้น การคงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในครั้งนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม การคงอัตราดอกเบี้ยของเฟด อาจจะส่งผลให้มีเงินทุนบางส่วนยังคงไหลเข้าประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งไทย อันอาจส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่านั้น มีกรอบการเคลื่อนไหวที่ผันผวน อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป หากเฟด ยังคงส่งสัญญาณถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นต่อเนื่องของสหรัฐฯ (รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้เห็นการเริ่มปรับลดงบดุล) ก็อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวคงส่งผ่านมา ยังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย และคงเพิ่มความอ่อนไหวต่อประเด็นการเคลื่อนย้ายเงินทุน และความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน
คาดบาทแกว่งในกรอบ 34.35-34.75
สำหรับค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.35-34.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด การหารือของผู้นำยุโรป เกี่ยวกับประเด็น Brexit และช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองของฝรั่งเศส ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตรการว่างงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน เม.ย. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้/การใช้จ่าย และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลเดือน มี.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนน่าจะยังคงรอติดตามตัวเลขจีดีพี ของยูโรโซน และสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด