สัปดาห์นี้ยังอยู่ในช่วงประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 โดยสัปดาห์นี้มีหุ้น Market Cap ใหญ่ในภาค Real Sector หลายบริษัทรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส คาดสัปดาห์นี้ดัชนีหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,560-1,575 จุด พร้อมแนะนำนักลงทุนสามารถเลือกลงุนในรายหุ้นที่มี net cash (STEC) และกำไรโดดเด่น
พรุ่งนี้ SCC จะประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 เบื้องต้น ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า SCC จะทำกำไรสุทธิได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 16,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.7%YoY เนื่องจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังได้รับผลบวกจาก Spread (ผลิตภัณฑ์หลักทั้ง HDPE-Naphtha และ PP-Naphtha) นอกจากนี้ ยังมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้น PTTGC จำนวน 67 ล้านหุ้น อีกราว 2 พันล้านบาท SCC ยังมีแผนเชิงรุกด้วยการขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยตั้งงบลงทุนปีนี้สูงถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ช่วยสร้างโอกาสการเติบโตในระยะยาว
ตามด้วยภาพรวมเม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา Digital TV เดือน มี.ค.60 ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด 20% MoM มาอยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ในอุตสาหกรรมนี้ ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส คาดว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 RS จะพลิกมีกำไรสุทธิได้เล็กน้อย 8.3 ล้านบาท หลังเผชิญผลขาดทุนมา 3 ไตรมาสติดต่อกันก่อนหน้า
ส่วนหุ้นอื่นที่นักวิเคราะห์ทยอยทำ Earnings Preview มาแล้ว เช่น
BDMS (ซื้อ : FV@B25.5) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตเล็กน้อย 4%yoy เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยลดลง แม้จะมีการรับรู้รายได้จาก รพ.ในเครือเพิ่มขึ้น แต่ถูกหักลบไปด้วยดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มองว่าในช่วงที่เหลือของปีแนวโน้มกำไรจะค่อยๆ ดีขึ้น จากการทยอยปรับเพิ่มค่ารักษา รวมทั้งการเปิดให้บริการศูนย์บริการต่างๆ และรายได้จากการขายยาที่มีอัตรากำไรสูง จึงคาดว่ากำไรทั้งปี 2560 จะเติบโตได้ที่ 12%yoy จากนั้นในช่วงปี 2561-2562 เติบโตเฉลี่ย 9% ต่อปี เนื่องจากอยู่ในช่วงการลงทุน แต่จะเริ่มดีขึ้นอีกครั้ง หลังปี 2563 เป็นต้นไป หลังหยุดลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และเริ่มหันมาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเต็มที่
BH (Switch : FV@B188) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตพียง 1.5%yoy จากการลดลงของผู้ป่วยตะวันออกกลาง แต่ยังได้ผู้ป่วยชาติอื่นเพิ่มขึ้น และมีการปรับเพิ่มค่ารักษา ช่วยหนุนให้เติบโต 21%qoq อย่างไรก็ตาม คาดว่า 2Q60 ยังไม่สดใสเนื่องจากจำนวนวันรอมฎอนที่มาตกในงวด 2Q60 เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางน่าจะลดลง yoy แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะกลับมาเติบโตได้ดี โดยเน้นเพิ่มจำนวนผู้ป่วยชาวไทยด้วยการขยายเครือข่าย รพ.เพื่อรับส่งต่อผู้ป่วย และหันมาโฟกัสตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ จึงทำให้กำไรทั้งปีน่าจะยังเติบโตได้ 7%yoy แต่ในช่วงปี 2561-2564 การเติบโตของกำไรน่าจะยังไม่โดดเด่น โดยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 10% ต่อปี ซึ่งไม่เด่นนัก อีกทั้งค่า Forward PEG ปี 2560 สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5.2 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 2.9 เท่า จึงแนะนำ Switch ไปโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีภาพการเติบโตที่ชัดเจนกว่า คือ LPH (FV@ Bt 12) หรือ RJH (FV@ Bt 28)
RJH (ซื้อ : FV@B28) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโต 15% yoy และ 30% qoq จากการปรับขึ้นค่ารักษา จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษเหมือนงวดที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนเตียงอีก ทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มการรักษาในแต่ละศูนย์ให้ซับซ้อน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น หนุนให้รายได้และกำไรทั้งปีเพิ่มขึ้น 11%yoy และ 27%yoy สำหรับปี 2561-65 มีแผนการลงทุนต่อเนื่องและจะมีศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น หนุนการเติบโตระยะยาว เฉลี่ย 9% ต่อปี
LPH (ซื้อ : FV@B12) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 ทรงตัว yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษการตั้งสำรองรายได้ประกันสังคมที่ค้างรับ แต่เพิ่มขึ้น 30% qoq จากการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศส่วนหนึ่งในปี 2559 และจากจำนวนผู้ประกันตนที่เพิ่มขึ้น ส่วนงวด 2Q60 จะมีการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มอีก 7 ศูนย์ หนุนให้รายได้จากผู้ป่วยเงินสดเติบโตเด่นชัดต่อเนื่องตลอดครึ่งปีหลัง หนุนให้กำไรทั้งปีน่าจะเติบโตได้ถึง 48%
รวมทั้งกลุ่มเช่าซื้อ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เช่น
TK (ซื้อ : FV@B14.30) คาดผลการดำเนินงาน 1Q60 จะแผ่วลงจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเห็นการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ตามยอดจดทะเบียนฯ ใหม่เดือน มี.ค.60 ขึ้นทำ new high ในรอบ 9 เดือน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เป็นฐานสินเชื่อใหญ่ของ TK ขณะที่คาด spread ยังสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของ yield และต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ส่วน NPL ลดลงมาที่ 4.60% ของสินเชื่อรวม โดยรวมแนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ ด้วยศักยภาพการเติบโตเชิงรุกทำให้เห็นสัญญาณบวกของธุรกิจที่จะกลับมาเติบโตทั้งใน และต่างประเทศอย่างชัดเจนตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป โดยปีนี้ TK เพิ่มเป้าสินเชื่อสุทธิขึ้นจากเดิมเท่าตัวเป็น 10% yoy จึงทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยัง laggard กลุ่มฯ และยังไม่สะท้อนจุดพลิกบวกของธุรกิจ
พรุ่งนี้ SCC จะประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 เบื้องต้น ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า SCC จะทำกำไรสุทธิได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 16,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.7%YoY เนื่องจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังได้รับผลบวกจาก Spread (ผลิตภัณฑ์หลักทั้ง HDPE-Naphtha และ PP-Naphtha) นอกจากนี้ ยังมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้น PTTGC จำนวน 67 ล้านหุ้น อีกราว 2 พันล้านบาท SCC ยังมีแผนเชิงรุกด้วยการขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยตั้งงบลงทุนปีนี้สูงถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ช่วยสร้างโอกาสการเติบโตในระยะยาว
ตามด้วยภาพรวมเม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา Digital TV เดือน มี.ค.60 ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด 20% MoM มาอยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ในอุตสาหกรรมนี้ ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส คาดว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 RS จะพลิกมีกำไรสุทธิได้เล็กน้อย 8.3 ล้านบาท หลังเผชิญผลขาดทุนมา 3 ไตรมาสติดต่อกันก่อนหน้า
ส่วนหุ้นอื่นที่นักวิเคราะห์ทยอยทำ Earnings Preview มาแล้ว เช่น
BDMS (ซื้อ : FV@B25.5) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตเล็กน้อย 4%yoy เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยลดลง แม้จะมีการรับรู้รายได้จาก รพ.ในเครือเพิ่มขึ้น แต่ถูกหักลบไปด้วยดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มองว่าในช่วงที่เหลือของปีแนวโน้มกำไรจะค่อยๆ ดีขึ้น จากการทยอยปรับเพิ่มค่ารักษา รวมทั้งการเปิดให้บริการศูนย์บริการต่างๆ และรายได้จากการขายยาที่มีอัตรากำไรสูง จึงคาดว่ากำไรทั้งปี 2560 จะเติบโตได้ที่ 12%yoy จากนั้นในช่วงปี 2561-2562 เติบโตเฉลี่ย 9% ต่อปี เนื่องจากอยู่ในช่วงการลงทุน แต่จะเริ่มดีขึ้นอีกครั้ง หลังปี 2563 เป็นต้นไป หลังหยุดลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และเริ่มหันมาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเต็มที่
BH (Switch : FV@B188) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตพียง 1.5%yoy จากการลดลงของผู้ป่วยตะวันออกกลาง แต่ยังได้ผู้ป่วยชาติอื่นเพิ่มขึ้น และมีการปรับเพิ่มค่ารักษา ช่วยหนุนให้เติบโต 21%qoq อย่างไรก็ตาม คาดว่า 2Q60 ยังไม่สดใสเนื่องจากจำนวนวันรอมฎอนที่มาตกในงวด 2Q60 เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางน่าจะลดลง yoy แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะกลับมาเติบโตได้ดี โดยเน้นเพิ่มจำนวนผู้ป่วยชาวไทยด้วยการขยายเครือข่าย รพ.เพื่อรับส่งต่อผู้ป่วย และหันมาโฟกัสตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ จึงทำให้กำไรทั้งปีน่าจะยังเติบโตได้ 7%yoy แต่ในช่วงปี 2561-2564 การเติบโตของกำไรน่าจะยังไม่โดดเด่น โดยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 10% ต่อปี ซึ่งไม่เด่นนัก อีกทั้งค่า Forward PEG ปี 2560 สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5.2 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 2.9 เท่า จึงแนะนำ Switch ไปโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีภาพการเติบโตที่ชัดเจนกว่า คือ LPH (FV@ Bt 12) หรือ RJH (FV@ Bt 28)
RJH (ซื้อ : FV@B28) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโต 15% yoy และ 30% qoq จากการปรับขึ้นค่ารักษา จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษเหมือนงวดที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนเตียงอีก ทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มการรักษาในแต่ละศูนย์ให้ซับซ้อน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น หนุนให้รายได้และกำไรทั้งปีเพิ่มขึ้น 11%yoy และ 27%yoy สำหรับปี 2561-65 มีแผนการลงทุนต่อเนื่องและจะมีศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น หนุนการเติบโตระยะยาว เฉลี่ย 9% ต่อปี
LPH (ซื้อ : FV@B12) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 ทรงตัว yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษการตั้งสำรองรายได้ประกันสังคมที่ค้างรับ แต่เพิ่มขึ้น 30% qoq จากการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศส่วนหนึ่งในปี 2559 และจากจำนวนผู้ประกันตนที่เพิ่มขึ้น ส่วนงวด 2Q60 จะมีการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มอีก 7 ศูนย์ หนุนให้รายได้จากผู้ป่วยเงินสดเติบโตเด่นชัดต่อเนื่องตลอดครึ่งปีหลัง หนุนให้กำไรทั้งปีน่าจะเติบโตได้ถึง 48%
รวมทั้งกลุ่มเช่าซื้อ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เช่น
TK (ซื้อ : FV@B14.30) คาดผลการดำเนินงาน 1Q60 จะแผ่วลงจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเห็นการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ตามยอดจดทะเบียนฯ ใหม่เดือน มี.ค.60 ขึ้นทำ new high ในรอบ 9 เดือน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เป็นฐานสินเชื่อใหญ่ของ TK ขณะที่คาด spread ยังสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของ yield และต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ส่วน NPL ลดลงมาที่ 4.60% ของสินเชื่อรวม โดยรวมแนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ ด้วยศักยภาพการเติบโตเชิงรุกทำให้เห็นสัญญาณบวกของธุรกิจที่จะกลับมาเติบโตทั้งใน และต่างประเทศอย่างชัดเจนตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป โดยปีนี้ TK เพิ่มเป้าสินเชื่อสุทธิขึ้นจากเดิมเท่าตัวเป็น 10% yoy จึงทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยัง laggard กลุ่มฯ และยังไม่สะท้อนจุดพลิกบวกของธุรกิจ