สลากฯ ลดยอดการพิมพ์เหลือ 116 ล้านฉบับ หวั่นยอดขายหดในช่วงสงกรานต์ และต่อเนื่องจนถึงเดือน พ.ค. เหตุผู้ปกครองต้องเตรียมเงินไว้จ่ายค่าเทอม
พลตรีฉลองรัฐ นาคอาทิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวถึงยอดพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐประจำงวดวันที่ 16 เม.ย.2560 ว่า สำนักงานสลากฯ จะลดปริมาณการพิมพ์ลงจากเดิมที่มียอดการพิมพ์ 71 ล้านฉบับคู่ หรือ 142 ฉบับ โดยจะลดลงเหลือ 58 ล้านฉบับคู่ หรือ 116 ฉบับ หรือลดลงไปจากเดิมราว 18.3% ทั้งนี้ เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อผ่านเครื่องเอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง และสาขาของธนาคารกรุงไทย ในช่วงต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมานั้น มียอดการสั่งซื้อลด 120,000 ล้านฉบับคู่ โดยแบ่งเป็นยอดจองซื้อ 100,000 ล้านฉบับคู่ และยอดซื้อตรงอีก 20,000 ล้านฉบับคู่
สำหรับยอดการพิมพ์สลากฯ ของสำนักงานสลากฯ ยังคงกำหนดเพดานสูงสุดเอาไว้ไม่เกิน 71 ล้านฉบับคู่ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างปีอาจจะมีการปรับขึ้น-ลงได้ตามความเหมาะสม โดยงวดวันที่ 16 เม.ย.นี้ สำนักงานสลากฯ จะลดปริมาณการพิมพ์ลงเหลือ 58 ล้านฉบับคู่ เนื่องจากในช่วงเดือน เม.ย. และเดือน พ.ค.ของทุกปี ยอดการขายสลากจะไม่ค่อยดี เนื่องจากเป็นเทศกาลสงกรานต์ ที่มีวันหยุดหลายวัน และประชาชนจะต้องเก็บเงิน เพื่อเตรียมฉลองเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนี้ พ่อค้าแม่ค้าสลากที่เดินขายสลากฯ ตามท้องถนนก็จะหยุดกลับบ้าน ขณะที่เดือน พ.ค. ของทุกปีนั้น จะมีปัญหาว่า ผู้ปกครองต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในเรื่องค่าเทอมของบุตร ค่าหนังสือ รวมถึงอุปกรณ์การเรียนต่างๆ จนทำให้ต้องลดความต้องการในการซื้อสลากลง
อย่างไรก็ตาม พลตรีฉลองรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอดการพิมพ์สลากจำนวน 58 ล้านฉบับคู่ของปีนี้ถือว่ายังสูงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมียอดพิมพ์อยู่ที่ 56 ล้านฉบับคู่ หรือ 112 ล้านฉบับ จึงถือได้ว่าตลาดยังคงมีความต้องการซื้อสลากอย่างต่อเนื่อง โดยศักยภาพการพิมพ์สลากในปัจจุบันของสำนักงานสลากฯ นั้น สามารถพิมพ์ได้แบบงวดชนงวด โดยศักยภาพการพิมพ์ 71 ฉบับคู่นั้น จะสามารถพิมพ์ได้เสร็จในเวลาไม่เกิน 3 วัน โดยสลากงวดวันที่ 16 เม.ย.นี้ สำนักงานสลากฯ ได้พิมพ์ และส่งไปให้ผู้ค้าสลากทั้ง 58 ล้านฉบับคู่ เรียบร้อยแล้ว แต่หากสถานการณ์ตลาดกลับคืนสู่ภาวะปกติ สำนักงานสลากฯ ก็จะพิมพ์สลากเพิ่มขึ้น โดยมีเพดานกำหนดสูงสุดไม่เกิน 71 ล้านฉบับคู่
ด้าน พลโทอภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาค 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการสำนักงานสลากฯ กล่าวว่า ในช่วงปลายเดือนพ.ค.นี้ คณะกรรมการสำนักงานสลากฯ จะมีการแถลงผลดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค. ถือเป็นการทำงานครบรอบ 2 ปีของบอร์ดชุดปัจจุบัน โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ รู้สึกพอใจกับผลงานของฝ่ายบริหารสำนักงานสลากฯ ที่สามารถปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการฯ ได้เป็นอย่างดี โดยราคาขายปลีกสลากในท้องตลาดปัจจุบันประมาณ 60-70% ขายสลากไม่เกินคู่ละ 80 บาท ส่วนที่เหลืออีก 30% นั้น ยอมรับว่ามีการขายสลากเกินราคาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสลากรวบเลขชุดเช่น เลขชุด 3 คู่ หรือ 5 คู่ แต่ไม่มีเลขชุด 10 คู่ หรือ 20 คู่เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา
ผลงานของคณะกรรมการสลากฯ คือ การทำงานสลากในท้องตลาดมีราคาคู่ละ 80 บาท และที่สำคัญ ยังกวาดล้างพวกแอบอ้างว่า มีเลขเด็ดเลขดัง หรือมีเลขล็อคจากสำนักงานสลากฯ โดยที่ผ่านมา สำนักงานสลากฯ รวมกับตำรวจ และทหาร จับกุมคนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีประมาณ 3-4 กลุ่ม รวมแล้วประมาณ 10-15 คน โดยบางคดีที่ศาลตัดสินแล้วมีโทษจำคุกถึง 100 ปี จึงขอยืนยันว่า สำนักงานสลากฯ ไม่มีเลขล็อกตามที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวลือแต่อย่างใด
ส่วนเรื่องสำนักงานสลากฯ การออกเลขชุด 5 ฉบับคู่ หรือ 10 ใบ จำหน่ายในราคา 400 บาทนั้น ฝ่ายบริหารของสำนักงานสลากฯ ยังไม่ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ แต่อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่า ได้เคยมีการหารือนอกรอบกันแล้ว โดยตนได้สั่งให้สำนักงานสลากฯ ไปศึกษาถึงข้อดี และข้อเสียให้รอบครอบ และต้องหารือร่วมกลุ่มเอ็นจีโอว่า การรวบเลขชุดดังกล่าวเป็นการมอบเมาประชาชนหรือไม่ หากเป็นการมอบเมาประชาชนแล้ว อนุกรรมการฯ ก็จะไม่อนุมัติ และที่สำคัญหากมีการรวมเลขชุด 5 ฉบับคู่แล้ว ยังจะมีการรวบเลขชุดขึ้นไป 10 ฉบับคู่ หรือ 15 ฉบับคู่ในท้องตลาดอีกหรือไม่
ประธานคณะกรรมการฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวคิดที่จะนำคิวอาร์โค้ค ซึ่งในนั้น จะมีแอปพลิเคชันสำหรับการตรวจผลการออกรางวัล หลังจากที่สำนักงานสลากฯ ออกรางวัลไปแล้วด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อีกทั้ง ยังจะเปิดจุดรับขึ้นเงินรางวัลโดยจะร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย โดยหลังจากที่สำนักงานสลากฯ พิมพ์คิวอาร์โคดลงในสลากแล้ว ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบทำได้ง่าย จากปัจจุบัน หากผู้ที่ถูกรางวัลต้องการขอขึ้นเงินรางวัลแล้วก็จะถูกหักเงิน 2-3.5% ของเงินรางวัลในกรณีขึ้นเงินรางวัลกับร้านค้าทั่วไป แต่หากเป็นการขึ้นเงินรางวัลกับสำนักงานสลากฯ จะถูกหักเพียง 0.50% เพื่อจ่ายเป็นค่าภาษี โดยขณะนี้กำลังหารือกับธนาคารกรุงไทย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย ว่าจะคิดธรรมเนียมเท่าใด
พลตรีฉลองรัฐ นาคอาทิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวถึงยอดพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐประจำงวดวันที่ 16 เม.ย.2560 ว่า สำนักงานสลากฯ จะลดปริมาณการพิมพ์ลงจากเดิมที่มียอดการพิมพ์ 71 ล้านฉบับคู่ หรือ 142 ฉบับ โดยจะลดลงเหลือ 58 ล้านฉบับคู่ หรือ 116 ฉบับ หรือลดลงไปจากเดิมราว 18.3% ทั้งนี้ เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อผ่านเครื่องเอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง และสาขาของธนาคารกรุงไทย ในช่วงต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมานั้น มียอดการสั่งซื้อลด 120,000 ล้านฉบับคู่ โดยแบ่งเป็นยอดจองซื้อ 100,000 ล้านฉบับคู่ และยอดซื้อตรงอีก 20,000 ล้านฉบับคู่
สำหรับยอดการพิมพ์สลากฯ ของสำนักงานสลากฯ ยังคงกำหนดเพดานสูงสุดเอาไว้ไม่เกิน 71 ล้านฉบับคู่ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างปีอาจจะมีการปรับขึ้น-ลงได้ตามความเหมาะสม โดยงวดวันที่ 16 เม.ย.นี้ สำนักงานสลากฯ จะลดปริมาณการพิมพ์ลงเหลือ 58 ล้านฉบับคู่ เนื่องจากในช่วงเดือน เม.ย. และเดือน พ.ค.ของทุกปี ยอดการขายสลากจะไม่ค่อยดี เนื่องจากเป็นเทศกาลสงกรานต์ ที่มีวันหยุดหลายวัน และประชาชนจะต้องเก็บเงิน เพื่อเตรียมฉลองเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนี้ พ่อค้าแม่ค้าสลากที่เดินขายสลากฯ ตามท้องถนนก็จะหยุดกลับบ้าน ขณะที่เดือน พ.ค. ของทุกปีนั้น จะมีปัญหาว่า ผู้ปกครองต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในเรื่องค่าเทอมของบุตร ค่าหนังสือ รวมถึงอุปกรณ์การเรียนต่างๆ จนทำให้ต้องลดความต้องการในการซื้อสลากลง
อย่างไรก็ตาม พลตรีฉลองรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอดการพิมพ์สลากจำนวน 58 ล้านฉบับคู่ของปีนี้ถือว่ายังสูงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมียอดพิมพ์อยู่ที่ 56 ล้านฉบับคู่ หรือ 112 ล้านฉบับ จึงถือได้ว่าตลาดยังคงมีความต้องการซื้อสลากอย่างต่อเนื่อง โดยศักยภาพการพิมพ์สลากในปัจจุบันของสำนักงานสลากฯ นั้น สามารถพิมพ์ได้แบบงวดชนงวด โดยศักยภาพการพิมพ์ 71 ฉบับคู่นั้น จะสามารถพิมพ์ได้เสร็จในเวลาไม่เกิน 3 วัน โดยสลากงวดวันที่ 16 เม.ย.นี้ สำนักงานสลากฯ ได้พิมพ์ และส่งไปให้ผู้ค้าสลากทั้ง 58 ล้านฉบับคู่ เรียบร้อยแล้ว แต่หากสถานการณ์ตลาดกลับคืนสู่ภาวะปกติ สำนักงานสลากฯ ก็จะพิมพ์สลากเพิ่มขึ้น โดยมีเพดานกำหนดสูงสุดไม่เกิน 71 ล้านฉบับคู่
ด้าน พลโทอภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาค 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการสำนักงานสลากฯ กล่าวว่า ในช่วงปลายเดือนพ.ค.นี้ คณะกรรมการสำนักงานสลากฯ จะมีการแถลงผลดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค. ถือเป็นการทำงานครบรอบ 2 ปีของบอร์ดชุดปัจจุบัน โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ รู้สึกพอใจกับผลงานของฝ่ายบริหารสำนักงานสลากฯ ที่สามารถปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการฯ ได้เป็นอย่างดี โดยราคาขายปลีกสลากในท้องตลาดปัจจุบันประมาณ 60-70% ขายสลากไม่เกินคู่ละ 80 บาท ส่วนที่เหลืออีก 30% นั้น ยอมรับว่ามีการขายสลากเกินราคาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสลากรวบเลขชุดเช่น เลขชุด 3 คู่ หรือ 5 คู่ แต่ไม่มีเลขชุด 10 คู่ หรือ 20 คู่เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา
ผลงานของคณะกรรมการสลากฯ คือ การทำงานสลากในท้องตลาดมีราคาคู่ละ 80 บาท และที่สำคัญ ยังกวาดล้างพวกแอบอ้างว่า มีเลขเด็ดเลขดัง หรือมีเลขล็อคจากสำนักงานสลากฯ โดยที่ผ่านมา สำนักงานสลากฯ รวมกับตำรวจ และทหาร จับกุมคนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีประมาณ 3-4 กลุ่ม รวมแล้วประมาณ 10-15 คน โดยบางคดีที่ศาลตัดสินแล้วมีโทษจำคุกถึง 100 ปี จึงขอยืนยันว่า สำนักงานสลากฯ ไม่มีเลขล็อกตามที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวลือแต่อย่างใด
ส่วนเรื่องสำนักงานสลากฯ การออกเลขชุด 5 ฉบับคู่ หรือ 10 ใบ จำหน่ายในราคา 400 บาทนั้น ฝ่ายบริหารของสำนักงานสลากฯ ยังไม่ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ แต่อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่า ได้เคยมีการหารือนอกรอบกันแล้ว โดยตนได้สั่งให้สำนักงานสลากฯ ไปศึกษาถึงข้อดี และข้อเสียให้รอบครอบ และต้องหารือร่วมกลุ่มเอ็นจีโอว่า การรวบเลขชุดดังกล่าวเป็นการมอบเมาประชาชนหรือไม่ หากเป็นการมอบเมาประชาชนแล้ว อนุกรรมการฯ ก็จะไม่อนุมัติ และที่สำคัญหากมีการรวมเลขชุด 5 ฉบับคู่แล้ว ยังจะมีการรวบเลขชุดขึ้นไป 10 ฉบับคู่ หรือ 15 ฉบับคู่ในท้องตลาดอีกหรือไม่
ประธานคณะกรรมการฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวคิดที่จะนำคิวอาร์โค้ค ซึ่งในนั้น จะมีแอปพลิเคชันสำหรับการตรวจผลการออกรางวัล หลังจากที่สำนักงานสลากฯ ออกรางวัลไปแล้วด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อีกทั้ง ยังจะเปิดจุดรับขึ้นเงินรางวัลโดยจะร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย โดยหลังจากที่สำนักงานสลากฯ พิมพ์คิวอาร์โคดลงในสลากแล้ว ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบทำได้ง่าย จากปัจจุบัน หากผู้ที่ถูกรางวัลต้องการขอขึ้นเงินรางวัลแล้วก็จะถูกหักเงิน 2-3.5% ของเงินรางวัลในกรณีขึ้นเงินรางวัลกับร้านค้าทั่วไป แต่หากเป็นการขึ้นเงินรางวัลกับสำนักงานสลากฯ จะถูกหักเพียง 0.50% เพื่อจ่ายเป็นค่าภาษี โดยขณะนี้กำลังหารือกับธนาคารกรุงไทย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย ว่าจะคิดธรรมเนียมเท่าใด