บริษัท อีสต์ โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัทวันที่ 3 เม.ย.60 ต่อตลาดหลักทรพัย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้บริษัท อีซีเอฟ พาวเวอร์ จำกัด (ECF-Power) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 220 เมกะวัตต์ (MW) ของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว จำกัด (GEP) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมินบู รัฐมาเกวย ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้วยการซื้อหุ้น GEP ในสัดส่วน 20% คิดเป็นมูลค่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 310.05 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.การจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (ในอนาคต) ตามสัดส่วนการถือหุ้น จนกว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จครบ 4 เฟส จำนวน 20.22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 696.44 ล้านบาท
2.การสนับสนุนสินเชื่อแก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 220 เมกะวัตต์ ภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้น ECF-Power กรณีที่มีส่วนขาดของเงินสด ตามสัดส่วนการถือหุ้นแต่ไม่เกิน 5.54 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 190.85 ล้านบาท
การเข้าลงทุนดังกล่าวจะเป็นการซื้อหุ้น GEP จาก Noble Planet Pte. Ltd. และ Planet Energy Holdings Pte. Ltd. ซึ่งจะชำระเป็นเงินสดให้แก่ผู้ขาย ภายหลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 31 พ.ค.60 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการดังกล่าว และภายหลังจากที่เงื่อนไขบังคับก่อนต่างๆ ในร่างสัญญาการซื้อขายหุ้นได้ดำเนินการสำเร็จครบถ้วน ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถเข้าทำรายการได้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/60
GEP จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 เม.ย.28 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยเป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานี ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจพัฒนา และบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก โดย GEP มีบริษัทย่อย 1 แห่ง ถือหุ้น 100% คือ บริษัท จีอีพี (เมียนมาร์) จำกัด (GEP-Myanmar) เป็นบริษัทสัญชาติเมียนมา ปัจจุบันมีแผนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 220 เมกะวัตต์ ในเมียนมา มูลค่าลงทุน 292.62 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 10,080.76 ล้านบาท
โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค.59 GEP-Myanmar ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ Electric Power Generation Enterprise (EPGE) ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้ Ministry of Electricity and Energy ของเมียนมา โดย EPGE จะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการคิดเป็นอัตราการรับซื้อไฟฟ้าสูงสุดที่ 170 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
โครงการมีทั้งหมด 4 เฟส ได้แก่
เฟส 1 อัตราการรับซื้อสูงสุด 40 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 50 เมกะวัตต์
เฟส 2 อัตราการรับซื้อสูงสุด 80 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 100 เมกะวัตต์
เฟส 3 อัตราการรับซื้อสูงสุด 120 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์
และเฟส 4 อัตราการรับซื้อสูงสุด 170 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 220 เมกะวัตต์
โดยภายหลังจากเริ่ม COD สำหรับเฟสที่ 1 แล้ว สำหรับเฟสต่อๆ ไป คาดว่าจะมีกำหนดระยะเวลาประมาณ 360 วัน สำหรับการเริ่มต้น COD ในเฟสต่อไป
ทั้งนี้ GEP-Myanmar คาดว่า จะเข้าทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว รวมถึงได้รับอนุมัติใบอนุญาตหนังสือรับรองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาส 2/60 และสามารถเริ่มจ่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1/61
นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.การจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (ในอนาคต) ตามสัดส่วนการถือหุ้น จนกว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จครบ 4 เฟส จำนวน 20.22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 696.44 ล้านบาท
2.การสนับสนุนสินเชื่อแก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 220 เมกะวัตต์ ภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้น ECF-Power กรณีที่มีส่วนขาดของเงินสด ตามสัดส่วนการถือหุ้นแต่ไม่เกิน 5.54 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 190.85 ล้านบาท
การเข้าลงทุนดังกล่าวจะเป็นการซื้อหุ้น GEP จาก Noble Planet Pte. Ltd. และ Planet Energy Holdings Pte. Ltd. ซึ่งจะชำระเป็นเงินสดให้แก่ผู้ขาย ภายหลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 31 พ.ค.60 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการดังกล่าว และภายหลังจากที่เงื่อนไขบังคับก่อนต่างๆ ในร่างสัญญาการซื้อขายหุ้นได้ดำเนินการสำเร็จครบถ้วน ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถเข้าทำรายการได้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/60
GEP จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 เม.ย.28 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยเป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานี ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจพัฒนา และบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก โดย GEP มีบริษัทย่อย 1 แห่ง ถือหุ้น 100% คือ บริษัท จีอีพี (เมียนมาร์) จำกัด (GEP-Myanmar) เป็นบริษัทสัญชาติเมียนมา ปัจจุบันมีแผนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 220 เมกะวัตต์ ในเมียนมา มูลค่าลงทุน 292.62 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 10,080.76 ล้านบาท
โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค.59 GEP-Myanmar ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ Electric Power Generation Enterprise (EPGE) ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้ Ministry of Electricity and Energy ของเมียนมา โดย EPGE จะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการคิดเป็นอัตราการรับซื้อไฟฟ้าสูงสุดที่ 170 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
โครงการมีทั้งหมด 4 เฟส ได้แก่
เฟส 1 อัตราการรับซื้อสูงสุด 40 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 50 เมกะวัตต์
เฟส 2 อัตราการรับซื้อสูงสุด 80 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 100 เมกะวัตต์
เฟส 3 อัตราการรับซื้อสูงสุด 120 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์
และเฟส 4 อัตราการรับซื้อสูงสุด 170 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 220 เมกะวัตต์
โดยภายหลังจากเริ่ม COD สำหรับเฟสที่ 1 แล้ว สำหรับเฟสต่อๆ ไป คาดว่าจะมีกำหนดระยะเวลาประมาณ 360 วัน สำหรับการเริ่มต้น COD ในเฟสต่อไป
ทั้งนี้ GEP-Myanmar คาดว่า จะเข้าทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว รวมถึงได้รับอนุมัติใบอนุญาตหนังสือรับรองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาส 2/60 และสามารถเริ่มจ่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1/61