นักลงทุนรายย่อยสุดทน ร่อนหนังสือถึงสำนักงาน ก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯ-หมอวิชัย IFEC เรียกร้อง 4 กรรมการออกมติขัดกฎหมายแสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่ง หลังพบตลอดเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ประพฤติมิชอบ-ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความเสียหายให้กับบริษัท และผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นอย่างมาก ลั่นหากยังฝืนกระแส “อยู่ต่อ” เจอฟ้อง “แพ่ง-อาญา” แน่
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ในวันนี้ (31 มีนาคม 2560) ผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) ได้ส่งหนังสือถึง นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อขอให้โปรดพิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการของ IFEC
โดยเนื้อหาระบุว่า ตามที่ IFEC ได้มีการแจ้งสารสนเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ELCID) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2560 โดยเป็นหนังสือจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงการกำหนดจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี พ.ศ.2560 และในวันเดียวกันนั้น บริษัทฯ ก็ได้แจ้งสารสนเทศโดยเป็นหนังสือจากสํานักงาน ก.ล.ต.แจ้งให้คณะกรรมการบริษัทฯ ดําเนินการให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้
ในฐานะผู้ถือหุ้นรายย่อยของ IFEC เห็นว่า หนังสือ 2 ฉบับข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่า กรรมการของบริษัทจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย 1.นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ 2.นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ 3.นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ และ 4.พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ เป็นผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560 และวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560 เป็นการประชุมคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีการกำหนดวันประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.2560 และการกำหนดวัน record date ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ”
ตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา กรรมการของบริษัททั้ง 4 ท่านมีเจตนาที่จะทำการประพฤติมิชอบ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ฯ และขาดความระมัดระวัง และเพิกเฉยในการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรจะเป็นในฐานะของกรรมการบริษัท เพื่อแก้ไขปัญหาของบริษัทที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างมาก ตั้งแต่การผิดนัดชำระตั๋วแลกเงินต่อเจ้าหนี้หลายราย การไม่ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงการผิดนัดชำระตั๋วแลกเงิน และการไม่นำส่งงบการเงินประจำปี 2559 ให้ทันตามกำหนดเวลา จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องขึ้นเครื่องหมาย “SP” กับบริษัทตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560 และกรณีไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบได้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จนทำให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งฯ ต้องขึ้นเครื่องหมาย “NP” กับบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 และต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบันที่ยังไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.2560 ได้
จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงเห็นว่า กรรมการของบริษัททั้ง 4 ท่านนั้น ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท ควรแสดงความรับผิดชอบต่อผลเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท
ทั้งนี้ กรรมการใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 คือ นาย ฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ และ พลตรี บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ นั้นเป็นผู้ที่ทรงคุณวุฒิ และมีความรู้ความสามารถ แต่ต้องร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของประธานกรรมการบริษัท ในฐานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม และกระทำการอันขัดต่อพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงโปรดพิจารณาการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ของท่าน
“หากกรรมการทั้ง 4 ท่านไม่ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกแล้ว ผู้ถือหุ้นรายย่อยเตรียมที่จะดำเนินการทางกฎหมายทั้งทางแพ่ง และทางอาญาให้ถึงที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น และเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้น” รายงานข่าว ระบุ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ในวันนี้ (31 มีนาคม 2560) ผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) ได้ส่งหนังสือถึง นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อขอให้โปรดพิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการของ IFEC
โดยเนื้อหาระบุว่า ตามที่ IFEC ได้มีการแจ้งสารสนเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ELCID) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2560 โดยเป็นหนังสือจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงการกำหนดจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี พ.ศ.2560 และในวันเดียวกันนั้น บริษัทฯ ก็ได้แจ้งสารสนเทศโดยเป็นหนังสือจากสํานักงาน ก.ล.ต.แจ้งให้คณะกรรมการบริษัทฯ ดําเนินการให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้
ในฐานะผู้ถือหุ้นรายย่อยของ IFEC เห็นว่า หนังสือ 2 ฉบับข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่า กรรมการของบริษัทจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย 1.นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ 2.นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ 3.นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ และ 4.พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ เป็นผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560 และวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560 เป็นการประชุมคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีการกำหนดวันประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.2560 และการกำหนดวัน record date ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ”
ตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา กรรมการของบริษัททั้ง 4 ท่านมีเจตนาที่จะทำการประพฤติมิชอบ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ฯ และขาดความระมัดระวัง และเพิกเฉยในการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรจะเป็นในฐานะของกรรมการบริษัท เพื่อแก้ไขปัญหาของบริษัทที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างมาก ตั้งแต่การผิดนัดชำระตั๋วแลกเงินต่อเจ้าหนี้หลายราย การไม่ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงการผิดนัดชำระตั๋วแลกเงิน และการไม่นำส่งงบการเงินประจำปี 2559 ให้ทันตามกำหนดเวลา จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องขึ้นเครื่องหมาย “SP” กับบริษัทตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560 และกรณีไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบได้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จนทำให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งฯ ต้องขึ้นเครื่องหมาย “NP” กับบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 และต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบันที่ยังไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.2560 ได้
จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงเห็นว่า กรรมการของบริษัททั้ง 4 ท่านนั้น ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท ควรแสดงความรับผิดชอบต่อผลเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท
ทั้งนี้ กรรมการใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 คือ นาย ฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ และ พลตรี บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ นั้นเป็นผู้ที่ทรงคุณวุฒิ และมีความรู้ความสามารถ แต่ต้องร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของประธานกรรมการบริษัท ในฐานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม และกระทำการอันขัดต่อพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงโปรดพิจารณาการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ของท่าน
“หากกรรมการทั้ง 4 ท่านไม่ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกแล้ว ผู้ถือหุ้นรายย่อยเตรียมที่จะดำเนินการทางกฎหมายทั้งทางแพ่ง และทางอาญาให้ถึงที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น และเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้น” รายงานข่าว ระบุ