ซุปเปอร์บอร์ด เตรียมประชุม แก้ไขร่างทีโออาร์ ร.ฟ.ท. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมแข่งขันเสนอราคา เพื่อประมูลงานก่อสร้างในโครงการรถไฟทางคู่ได้มากขึ้น
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซูเปอร์บอร์ด) กล่าวถึงผลการประชุมหารือการปรับปรุงร่างสัญญาประกวดราคา (ทีโออาร์) ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางร่วมกับคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ที่ประชุมฯ มีความเห็นร่วมกันในเรื่องดังกล่าว โดยร่างทีโออาร์ที่ รฟท.จะทำการปรับปรุงแก้ไขในครั้งนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมแข่งขันเสนอราคา เพื่อประมูลงานก่อสร้างในโครงการรถไฟทางคู่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ รฟท.ได้ลดมูลค่าการก่อสร้างในสัญญาลงมาเหลือ 5,000-10,000 ล้านบาท จากมูลค่าสัญญาขอโออาร์เดิม ซึ่งได้กำหนดไว้ที่ 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บอร์ด รฟท.จะนำเรื่องดังกล่าวกลับไปพิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขของร่างทีโออาร์ ตามที่ รฟท.เสนอ
สำหรับการขนาดมูลค่าโครงการตามร่างทีโออาร์ใหม่แล้ว รฟท.ยังจะแตกสัญญาใหม่ โดยแยกสัญญาการก่อสร้างระบบราง และงานโยธาออกจากระบบอาณัติสัญญาณใหม่เป็น 13 สัญญา จากเดิมที่มีเพียง 5 สัญญา ตามจำนวนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทาง โดยผู้รับเหมาทั้งรายใหญ่ และกลางราคาสามารถเสนอราคา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันได้ทุกสัญญาจากที่ร่างทีโออาร์ใหม่ ไม่ได้มีเงื่อนไขที่ปิดกั้นผู้รับเหมาขนาดกลางที่สนใจต้องการเข้าร่วมประมูลก่อสร้างได้ตามความสามารถที่ตนมีอยู่ ทั้งนี้ ดร.ประสาร ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนได้รายงานผลการประชุมฯ ร่วมกับ รฟท. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซูเปอร์บอร์ด) กล่าวถึงผลการประชุมหารือการปรับปรุงร่างสัญญาประกวดราคา (ทีโออาร์) ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางร่วมกับคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ที่ประชุมฯ มีความเห็นร่วมกันในเรื่องดังกล่าว โดยร่างทีโออาร์ที่ รฟท.จะทำการปรับปรุงแก้ไขในครั้งนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมแข่งขันเสนอราคา เพื่อประมูลงานก่อสร้างในโครงการรถไฟทางคู่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ รฟท.ได้ลดมูลค่าการก่อสร้างในสัญญาลงมาเหลือ 5,000-10,000 ล้านบาท จากมูลค่าสัญญาขอโออาร์เดิม ซึ่งได้กำหนดไว้ที่ 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บอร์ด รฟท.จะนำเรื่องดังกล่าวกลับไปพิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขของร่างทีโออาร์ ตามที่ รฟท.เสนอ
สำหรับการขนาดมูลค่าโครงการตามร่างทีโออาร์ใหม่แล้ว รฟท.ยังจะแตกสัญญาใหม่ โดยแยกสัญญาการก่อสร้างระบบราง และงานโยธาออกจากระบบอาณัติสัญญาณใหม่เป็น 13 สัญญา จากเดิมที่มีเพียง 5 สัญญา ตามจำนวนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทาง โดยผู้รับเหมาทั้งรายใหญ่ และกลางราคาสามารถเสนอราคา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันได้ทุกสัญญาจากที่ร่างทีโออาร์ใหม่ ไม่ได้มีเงื่อนไขที่ปิดกั้นผู้รับเหมาขนาดกลางที่สนใจต้องการเข้าร่วมประมูลก่อสร้างได้ตามความสามารถที่ตนมีอยู่ ทั้งนี้ ดร.ประสาร ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนได้รายงานผลการประชุมฯ ร่วมกับ รฟท. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว