ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,263 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนที่จะถูกแรงขายกดดันให้ราคาอ่อนตัวลง และไม่สามารถทะลุผ่านแนต้านดังกล่าวซึ่งเป็นถือเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันขึ้นไปได้
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับปัจจัยกดดันสำคัญ คือ การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค.นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงหลายรายออกมากล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในระยะเวลาอันใกล้
ขณะที่ถ้อยแถลงล่าสุดของ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดในงาน Executives Club of Chicago เมื่อตี 1 ของวันเสาร์ที่ผ่านมา มีการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค.หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่สอดคล้องต่อการคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่เฟด และได้แสดงมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งความเห็นของ ถ้อยแถลงของนางเยลเลน เป็นการตอกย้ำแผนการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมของเฟดในวันที่ 14-15 มี.ค.
นอกจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด คือ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง
โดยสัปดาห์ที่แล้วมีการเปิดเผยดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ และเฟดให้ความสำคัญปรับตัวขึ้น 1.7% ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยอยู่ใกล้ระดับ 2.0% ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด
ขณะที่ 8 มี.ค. ADP เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนประจำเดือน ก.พ.พุ่งขึ้น 298,000 ตำแหน่ง และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 190,000 ตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ยืนยันว่าภาคแรงงานของสหรัฐฯ เข้าใกล้เป้าหมายของเฟดเช่นกัน
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับเพิ่มการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือน มี.ค. โดยสัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าปรับตัวรับโอกาส 90.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจาก 35% ในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์
อย่างไรก็ดี ถึงแม้เฟดจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดก็ตาม แต่จากข้อมูลทางสถิติฝ่ายวิเคราะห์วายแอลจี พบว่า หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1, 3 และ 12 เดือน ราคาทองคำมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงขึ้นซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า “ถึงแม้การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดถือว่ามีความสำคัญ และส่งผลกดดันการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ แต่การเคลื่อนไหวของราคาทองคำนั้นไม่ได้ถูกกำหนดจากอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพียงอย่างเดียวจึงทำให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้แม้จะได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นก็ตาม” ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามประเด็นอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาการลงทุนทองคำ
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับปัจจัยกดดันสำคัญ คือ การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค.นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงหลายรายออกมากล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในระยะเวลาอันใกล้
ขณะที่ถ้อยแถลงล่าสุดของ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดในงาน Executives Club of Chicago เมื่อตี 1 ของวันเสาร์ที่ผ่านมา มีการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค.หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่สอดคล้องต่อการคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่เฟด และได้แสดงมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งความเห็นของ ถ้อยแถลงของนางเยลเลน เป็นการตอกย้ำแผนการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมของเฟดในวันที่ 14-15 มี.ค.
นอกจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด คือ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง
โดยสัปดาห์ที่แล้วมีการเปิดเผยดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ และเฟดให้ความสำคัญปรับตัวขึ้น 1.7% ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยอยู่ใกล้ระดับ 2.0% ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด
ขณะที่ 8 มี.ค. ADP เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนประจำเดือน ก.พ.พุ่งขึ้น 298,000 ตำแหน่ง และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 190,000 ตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ยืนยันว่าภาคแรงงานของสหรัฐฯ เข้าใกล้เป้าหมายของเฟดเช่นกัน
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับเพิ่มการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือน มี.ค. โดยสัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าปรับตัวรับโอกาส 90.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจาก 35% ในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์
อย่างไรก็ดี ถึงแม้เฟดจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดก็ตาม แต่จากข้อมูลทางสถิติฝ่ายวิเคราะห์วายแอลจี พบว่า หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1, 3 และ 12 เดือน ราคาทองคำมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงขึ้นซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า “ถึงแม้การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดถือว่ามีความสำคัญ และส่งผลกดดันการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ แต่การเคลื่อนไหวของราคาทองคำนั้นไม่ได้ถูกกำหนดจากอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพียงอย่างเดียวจึงทำให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้แม้จะได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นก็ตาม” ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามประเด็นอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาการลงทุนทองคำ