ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI)และดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 45.3 ตามลำดับ สะท้อนความกังวลที่ลดลงของครัวเรือนต่อภาวะการครองชีพทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยในเดือนที่ผ่านมา ครัวเรือนลดความกังวลในประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า ค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สิน แต่กลับมีความกังวลมากขึ้นเรื่องภาวะการมีงานทำ
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของครัวเรือนในเดือนก.พ. 2560 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และแตะระดับสูงสุดในรอบ 22 เดือน สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อภาวะการครองชีพในปัจจุบัน โดยในเดือนก.พ. นี้ ครัวเรือนมีความกังวลลดลงในประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า เนื่องจากราคาอาหารสดหลายรายการมีราคาถูกลง รวมถึงในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินที่ครัวเรือนมีความกังวลลดลง เพราะส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการเร่งใช้จ่ายตามมาตรการช้อปช่วยชาติของรัฐบาลไปในการซื้อสินค้าบริโภคและอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อกักตุนไว้ใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ความกังวลของครัวเรือนที่ลดลงในเรื่องค่าใช้จ่ายอาจเป็นนัยยะสะท้อนการบริโภคจริงของภาคเอกชนที่แผ่วลงในเดือนก.พ. 2560
อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนหวนกลับมากังวลเรื่องการมีงานทำ สะท้อนให้เห็นจากดัชนีองค์ประกอบที่แสดงมุมมองต่อรายได้และภาวะการมีงานทำปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.6 ในเดือนก.พ. 2560 จากเดิมที่ระดับ 50.4 ในเดือนม.ค. 2560 สอดคล้องกับตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือนม.ค.-ก.พ. 2560 ที่พุ่งสูงขึ้นมาอยู่เหนือระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งสูงกว่าค่าอัตราการว่างเฉลี่ยในปี 2559ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.96
ขณะที่ดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อภาวะการครองชีพในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สิน แต่อย่างไรก็ดี ครัวเรือนกลับมีความกังวลในเรื่องรายได้และภาวะการมีงานทำมากขึ้น ทั้งนี้ มุมมองทางด้านรายได้ที่แย่ลงของครัวเรือนน่าจะเป็นแรงกดดันให้ครัวเรือนใช้จ่ายอย่างจำกัดในระยะข้างหน้า แม้ครัวเรือนจะมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการครองชีพมากขึ้นก็ตาม
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของครัวเรือนในเดือนก.พ. 2560 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และแตะระดับสูงสุดในรอบ 22 เดือน สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อภาวะการครองชีพในปัจจุบัน โดยในเดือนก.พ. นี้ ครัวเรือนมีความกังวลลดลงในประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า เนื่องจากราคาอาหารสดหลายรายการมีราคาถูกลง รวมถึงในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินที่ครัวเรือนมีความกังวลลดลง เพราะส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการเร่งใช้จ่ายตามมาตรการช้อปช่วยชาติของรัฐบาลไปในการซื้อสินค้าบริโภคและอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อกักตุนไว้ใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ความกังวลของครัวเรือนที่ลดลงในเรื่องค่าใช้จ่ายอาจเป็นนัยยะสะท้อนการบริโภคจริงของภาคเอกชนที่แผ่วลงในเดือนก.พ. 2560
อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนหวนกลับมากังวลเรื่องการมีงานทำ สะท้อนให้เห็นจากดัชนีองค์ประกอบที่แสดงมุมมองต่อรายได้และภาวะการมีงานทำปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.6 ในเดือนก.พ. 2560 จากเดิมที่ระดับ 50.4 ในเดือนม.ค. 2560 สอดคล้องกับตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือนม.ค.-ก.พ. 2560 ที่พุ่งสูงขึ้นมาอยู่เหนือระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งสูงกว่าค่าอัตราการว่างเฉลี่ยในปี 2559ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.96
ขณะที่ดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อภาวะการครองชีพในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สิน แต่อย่างไรก็ดี ครัวเรือนกลับมีความกังวลในเรื่องรายได้และภาวะการมีงานทำมากขึ้น ทั้งนี้ มุมมองทางด้านรายได้ที่แย่ลงของครัวเรือนน่าจะเป็นแรงกดดันให้ครัวเรือนใช้จ่ายอย่างจำกัดในระยะข้างหน้า แม้ครัวเรือนจะมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการครองชีพมากขึ้นก็ตาม