จากการงานล่าสุดของสภาทองคำโลก หรือ World Gold Council ระบุว่า อุปสงค์ทองคำตลอดทั้งปี 2016 ปรับตัวสูงขึ้น 2% จากปี 2015 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 4,308.71 ตัน โดยกระแสเงินทุนไหลที่เข้ากองทุน ETFs พุ่งขึ้นแตะระดับ 531.9 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นลำดับที่ 2 นับตั้งแต่มีการจดบันทึก แต่การร่วงลงของอุปสงค์ภาคเครื่องประดับและการซื้อของธนาคารกลางเป็นส่วนที่หักล้างอุปสงค์ทองคำในส่วนที่เติบโต
โดย Highlights อยู่ที่ปี 2016 เป็นปีที่อุปสงค์ทองคำในด้านการลงทุน ETFs ทั่วโลกปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ความไม่แน่นอนทางการเมืองจาก Brexit และการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นราว 8% และเคยหนุนให้ทองคำพุ่งขึ้นถึง 25% ในช่วงกลางปี ก่อนที่ราคาทองคำจะลดช่วงบวกลงในไตรมาส 4 จาก
การคาดการณ์ในเชิงบวกต่อนโยบายของนายโดนัล ทรัมป์ ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้น และกระตุ้นแรงขายทองคำที่อยู่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย อีกทั้งได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดในเดือนธันวาคมอีกด้วย
ที่มา : World Gold Council
อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของราคาทองคำในช่วงไตรมาส 4 กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลหนุนให้อุปสงค์ทองคำด้านทองแท่ง และเหรียญทองฟื้นตัวในช่วง Q4 หลังจากที่อ่อนตัวลงเกือบตลอดทั้งปี โดยราคาทองคำที่ร่วงลงในช่วง Q4 กลายเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสำหรับนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีน การร่วงลงของราคาทองคำกระตุ้นแรงซื้อทองแท่ง และเหรียญทองของจีนในช่วง Q4 ให้พุ่งขึ้นจนกลายเป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ Q2 ของปี 2013
นอกจากนี้ ความวิตกกังวลของตลาดว่าจะเกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ของจีน เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ประกอบกับการอ่อนค่าของค่าเงินหยวน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีนผู้มีความมั่งคั่ง และมีการซื้อทองคำล่วงหน้าเพื่อเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้อุปสงค์ด้านทองแท่ง และเหรียญทองของจีนในช่วง Q4 เพิ่มขึ้น 86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้ปริมาณอุปสงค์ด้านทองแท่ง และเหรียญทองของจีนตลอดทั้งปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 284.6 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ระดับ 275 ตัน
ถึงแม้ภาคการลงทุนทองคำจะคึกคัก แต่ปี 2016 ถือเป็นปีที่อุปสงค์ทองคำด้านเครื่องประดับร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาทองคำ อุปสรรคด้านกฏระเบียบ และมาตรการทางการคลังของอินเดีย และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน เหล่านี้คือสาเหตุหลักที่กดดันอุปสงค์ทองคำในด้านเครื่องประดับ
ด้านอุปสงค์ทองคำจากธนาคารกลางก็ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2010 เช่นกัน โดยมีการซื้อสุทธิที่ระดับ 383.6 ตันร่วงลง 33% จากปี 2015 อันเนื่องมาจากการร่วงลงของปริมาณเงินทุนสำรอง อย่างไรก็ตาม ในปี 2016 ก็ถือเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 7 ติดต่อกันของภาคธนาคารกลาง
โดย Highlights อยู่ที่ปี 2016 เป็นปีที่อุปสงค์ทองคำในด้านการลงทุน ETFs ทั่วโลกปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ความไม่แน่นอนทางการเมืองจาก Brexit และการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นราว 8% และเคยหนุนให้ทองคำพุ่งขึ้นถึง 25% ในช่วงกลางปี ก่อนที่ราคาทองคำจะลดช่วงบวกลงในไตรมาส 4 จาก
การคาดการณ์ในเชิงบวกต่อนโยบายของนายโดนัล ทรัมป์ ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้น และกระตุ้นแรงขายทองคำที่อยู่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย อีกทั้งได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดในเดือนธันวาคมอีกด้วย
ที่มา : World Gold Council
อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของราคาทองคำในช่วงไตรมาส 4 กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลหนุนให้อุปสงค์ทองคำด้านทองแท่ง และเหรียญทองฟื้นตัวในช่วง Q4 หลังจากที่อ่อนตัวลงเกือบตลอดทั้งปี โดยราคาทองคำที่ร่วงลงในช่วง Q4 กลายเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสำหรับนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีน การร่วงลงของราคาทองคำกระตุ้นแรงซื้อทองแท่ง และเหรียญทองของจีนในช่วง Q4 ให้พุ่งขึ้นจนกลายเป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ Q2 ของปี 2013
นอกจากนี้ ความวิตกกังวลของตลาดว่าจะเกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ของจีน เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ประกอบกับการอ่อนค่าของค่าเงินหยวน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีนผู้มีความมั่งคั่ง และมีการซื้อทองคำล่วงหน้าเพื่อเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้อุปสงค์ด้านทองแท่ง และเหรียญทองของจีนในช่วง Q4 เพิ่มขึ้น 86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้ปริมาณอุปสงค์ด้านทองแท่ง และเหรียญทองของจีนตลอดทั้งปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 284.6 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ระดับ 275 ตัน
ถึงแม้ภาคการลงทุนทองคำจะคึกคัก แต่ปี 2016 ถือเป็นปีที่อุปสงค์ทองคำด้านเครื่องประดับร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาทองคำ อุปสรรคด้านกฏระเบียบ และมาตรการทางการคลังของอินเดีย และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน เหล่านี้คือสาเหตุหลักที่กดดันอุปสงค์ทองคำในด้านเครื่องประดับ
ด้านอุปสงค์ทองคำจากธนาคารกลางก็ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2010 เช่นกัน โดยมีการซื้อสุทธิที่ระดับ 383.6 ตันร่วงลง 33% จากปี 2015 อันเนื่องมาจากการร่วงลงของปริมาณเงินทุนสำรอง อย่างไรก็ตาม ในปี 2016 ก็ถือเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 7 ติดต่อกันของภาคธนาคารกลาง