จอมยุทธหุ้น“บี เตชะอุบล” ชุมชนหุ้น
“บี เตชะอุบล” ท่องอยู่ในยุทธจักรหุ้นมาหลายปี แว่บเข้าหุ้นตัวนั้น ออกจากหุ้นตัวนี้เป็นว่าเล่น ล่าสุดขายหุ้นบริษัท อุตสาหกรรม อีเล็กทรอนิกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ”อีไอซี”ทิ้ง จำนวน86ล้านหุ้น หรือสัดส่วน10.56%ของทุนจดทะเบียน ในราคาหุ้นละ51สตางค์เศษ
นายบีเคยถือหุ้นอีไอซี155.84 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน23.34%ของทุนจดทะเบียน แต่บริษัทออกหุ้นเพิ่มทุนขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจงกลางปี2559 สัดส่วนถือหุ้นจึงลดลง ต่อมานายบีทยอยขายออกมาอีก
ล่าสุดเหลือหุ้นเพียง 12 ล้านหุ้น หรือ1.71% ของทุนจดทะเบียน เปลี่ยนฐานะจากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย
ทำไมนายบีจึงถอนตัวจากหุ้นอีไอซี ไม่มีคำชี้แจง แต่ถ้าประมวลจากเหตุการณ์ต่างๆในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ อาจหาคำตอบได้
ปี2559 หุ้นอีไอซี ถูกเครื่องหมายเตือนต่างๆนับไม่ถ้วน ถูกพักการซื้อขายหลายครั้ง ถูกตลาดหลักทรัพย์สั่งให้ชี้แจงข้อมูลบ่อยๆ ถูกสั่งให้แก้ไขงบการเงินไตรมาสแรกปี2559
ธุรกรรมที่สำคัญของ”อีไอซี”ตลอดปี2559 เป็นธุรกรรมการซื้อๆขายๆหุ้นบริษัทนอกตลาด และเป็นการซิ้อขายทรัพย์สินที่สร้างความเสีหยายให้บริษัท
หุ้นบริษัทนอกตลาดแห่งหนึ่งที่ตกลงซื้อ ปรากฏว่า”อีไอซี”ไม่อาจเรียกเงินค่ามัดจำคืนจำนวน70 ล้านบาทได้ และอยู่ระหว่างฟ้องร้องทางแพ่ง หุ้นบางบริษัทลงทุนไปเพียง72.30 บาทเศษ เพราะบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เพียง 2 หุ้น หุ้นละ1 ดอลลาร์สหรัฐ(คำนวณ1ดอลลาร์ละ36.15บาท)
แต่ปรากฏว่า “อีไอซี”ต้องตั้งสำรองหนี้เผื่อสงสัยจะสูญจำนวน 153 ล้านบาทเศษ เพราะปล่อยกู้ให้บริษัทแห่งนี้ 131.78 ล้านบาท ทดรองจ่ายในการบริหารอีก18.11 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างรับอีก 3.71 ล้านบาท
ต่อมาได้ขายหุ้นบริษัทแห่งนี้ ในราคาเท่าทุนคือ ขายหุ้น 2หุ้นออก ในราคาหุ้นละ36.15 บาท โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลรายหนึ่ง ยอมจ่ายหนี้คืนบริษัท1.5 ล้านบาท จากหนี้ที่”อีไอซี”ต้องตั้งสำรอง153ล้านบาทเศษ
ที่ปรึกษาทางการเงินที่ตั้งมาเพื่อพิจารณาราคาหุ้นที่เหมาะสมที่จะขาย ปรากฏในรายงานที่ปรึกษาทางการเงินระบุว่า ไม่อาจประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดของบริษัทที่จะนำมาคำนวณได้
และบริษัทแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเกาะบริติส เวอร์จิ้นเสียด้วย
ไม่มีใครกล่าวหาว่า “อีไอซี”ไซ่ฟ่อนเงิน เพราะถ้ามีหลักฐาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)คงกล่าวโทษกรรมการบริษัทไปแล้ว ซึ่งนายบีก็ร่วมเป็นกรรมการ ก่อนชิงลาออกเมื่อเดือนสิงหาคมปี2559
ผลประกอบการ”อีไอซี” ขาดทุนตลอด โดยทุนจดทะเบียนกว่า 700 ล้านบาท แต่มีรายได้ปีละ100 ล้านบาทเศษ และตัวเลขที่น่าตกใจคือ งวด9 เดือนแรกปี2559 มีรายได้รวม147.56 ล้านบาท แต่กลับมียอดขาดทุน 148.57 ล้านบาท
ถ้าปิดบริษัท ไม่ต้องทำการค้า ไม่ต้องซื้อๆขายๆหุ้น บริษัทอาจไม่ขาดทุนเละตุ้มเป๊ะขนาดนี้
ล่าสุดอีไอซีประกาศซื้อหุ้นบริษัท ส.ธนา มีเดีย จำกัด เจ้าของป้ายโฆษณาบิลบอร์ดจำนวน50,000หุ้นหรือ100%ของทุนจดทะเบียน ในราคาหุ้นละ8,440 บาท จากราคาพาร์100บาท จ่ายค่ามัดจำแล้วด้วย
รายการซิ้อๆขายๆหุ้น รายการขนเงินไปลงทุนบนเกาะบริติส เวอร์จิ้น จนเกิดความเสียหาย ผู้ถือหุ้นรายย่อยกลายเป็นผู้รับเคราะห์
นายบีเคยถูกก.ล.ต.กล่าวโทษมาแล้ว ช่วงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอ็นจีเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หริอหุ้นออีซี เมื่อปี2553 ในความผิดแสวงหาประโยชน์โดยมีชอบ โดยขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อว่าเกี่ยวพันกับนายบี ทำให้ไออีซีต้องชำระเงินให้บริษัทแห่งนั้น60.5 ล้านบาท
“บี เตชะอุบล” เผ่นจากหุ้นอีไอซี หอบเงินจากการขายหุ้นงสบายไปแล้ว โดยไม่รู้ว่า จะโผล่ไปสร้างตำนานในบริษัทจดทะเบียนแห่งใดอีก
ก.ล.ต.จะไล่ทันเกมนายบีหรือไม่ เพราะถ้าไล่ไม่ทัน ถ้าจอมยุทธจักรหุ้นรายนี้ ไปโผล่หุ้นตัวไหนอีก ย่องเข้าไปหุ้นตัวไหน นักลงทุนรายย่อยจะตกในภาวะเสี่ยงภัย
“บี เตชะอุบล” ท่องอยู่ในยุทธจักรหุ้นมาหลายปี แว่บเข้าหุ้นตัวนั้น ออกจากหุ้นตัวนี้เป็นว่าเล่น ล่าสุดขายหุ้นบริษัท อุตสาหกรรม อีเล็กทรอนิกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ”อีไอซี”ทิ้ง จำนวน86ล้านหุ้น หรือสัดส่วน10.56%ของทุนจดทะเบียน ในราคาหุ้นละ51สตางค์เศษ
นายบีเคยถือหุ้นอีไอซี155.84 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน23.34%ของทุนจดทะเบียน แต่บริษัทออกหุ้นเพิ่มทุนขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจงกลางปี2559 สัดส่วนถือหุ้นจึงลดลง ต่อมานายบีทยอยขายออกมาอีก
ล่าสุดเหลือหุ้นเพียง 12 ล้านหุ้น หรือ1.71% ของทุนจดทะเบียน เปลี่ยนฐานะจากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย
ทำไมนายบีจึงถอนตัวจากหุ้นอีไอซี ไม่มีคำชี้แจง แต่ถ้าประมวลจากเหตุการณ์ต่างๆในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ อาจหาคำตอบได้
ปี2559 หุ้นอีไอซี ถูกเครื่องหมายเตือนต่างๆนับไม่ถ้วน ถูกพักการซื้อขายหลายครั้ง ถูกตลาดหลักทรัพย์สั่งให้ชี้แจงข้อมูลบ่อยๆ ถูกสั่งให้แก้ไขงบการเงินไตรมาสแรกปี2559
ธุรกรรมที่สำคัญของ”อีไอซี”ตลอดปี2559 เป็นธุรกรรมการซื้อๆขายๆหุ้นบริษัทนอกตลาด และเป็นการซิ้อขายทรัพย์สินที่สร้างความเสีหยายให้บริษัท
หุ้นบริษัทนอกตลาดแห่งหนึ่งที่ตกลงซื้อ ปรากฏว่า”อีไอซี”ไม่อาจเรียกเงินค่ามัดจำคืนจำนวน70 ล้านบาทได้ และอยู่ระหว่างฟ้องร้องทางแพ่ง หุ้นบางบริษัทลงทุนไปเพียง72.30 บาทเศษ เพราะบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เพียง 2 หุ้น หุ้นละ1 ดอลลาร์สหรัฐ(คำนวณ1ดอลลาร์ละ36.15บาท)
แต่ปรากฏว่า “อีไอซี”ต้องตั้งสำรองหนี้เผื่อสงสัยจะสูญจำนวน 153 ล้านบาทเศษ เพราะปล่อยกู้ให้บริษัทแห่งนี้ 131.78 ล้านบาท ทดรองจ่ายในการบริหารอีก18.11 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างรับอีก 3.71 ล้านบาท
ต่อมาได้ขายหุ้นบริษัทแห่งนี้ ในราคาเท่าทุนคือ ขายหุ้น 2หุ้นออก ในราคาหุ้นละ36.15 บาท โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลรายหนึ่ง ยอมจ่ายหนี้คืนบริษัท1.5 ล้านบาท จากหนี้ที่”อีไอซี”ต้องตั้งสำรอง153ล้านบาทเศษ
ที่ปรึกษาทางการเงินที่ตั้งมาเพื่อพิจารณาราคาหุ้นที่เหมาะสมที่จะขาย ปรากฏในรายงานที่ปรึกษาทางการเงินระบุว่า ไม่อาจประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดของบริษัทที่จะนำมาคำนวณได้
และบริษัทแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเกาะบริติส เวอร์จิ้นเสียด้วย
ไม่มีใครกล่าวหาว่า “อีไอซี”ไซ่ฟ่อนเงิน เพราะถ้ามีหลักฐาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)คงกล่าวโทษกรรมการบริษัทไปแล้ว ซึ่งนายบีก็ร่วมเป็นกรรมการ ก่อนชิงลาออกเมื่อเดือนสิงหาคมปี2559
ผลประกอบการ”อีไอซี” ขาดทุนตลอด โดยทุนจดทะเบียนกว่า 700 ล้านบาท แต่มีรายได้ปีละ100 ล้านบาทเศษ และตัวเลขที่น่าตกใจคือ งวด9 เดือนแรกปี2559 มีรายได้รวม147.56 ล้านบาท แต่กลับมียอดขาดทุน 148.57 ล้านบาท
ถ้าปิดบริษัท ไม่ต้องทำการค้า ไม่ต้องซื้อๆขายๆหุ้น บริษัทอาจไม่ขาดทุนเละตุ้มเป๊ะขนาดนี้
ล่าสุดอีไอซีประกาศซื้อหุ้นบริษัท ส.ธนา มีเดีย จำกัด เจ้าของป้ายโฆษณาบิลบอร์ดจำนวน50,000หุ้นหรือ100%ของทุนจดทะเบียน ในราคาหุ้นละ8,440 บาท จากราคาพาร์100บาท จ่ายค่ามัดจำแล้วด้วย
รายการซิ้อๆขายๆหุ้น รายการขนเงินไปลงทุนบนเกาะบริติส เวอร์จิ้น จนเกิดความเสียหาย ผู้ถือหุ้นรายย่อยกลายเป็นผู้รับเคราะห์
นายบีเคยถูกก.ล.ต.กล่าวโทษมาแล้ว ช่วงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอ็นจีเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หริอหุ้นออีซี เมื่อปี2553 ในความผิดแสวงหาประโยชน์โดยมีชอบ โดยขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อว่าเกี่ยวพันกับนายบี ทำให้ไออีซีต้องชำระเงินให้บริษัทแห่งนั้น60.5 ล้านบาท
“บี เตชะอุบล” เผ่นจากหุ้นอีไอซี หอบเงินจากการขายหุ้นงสบายไปแล้ว โดยไม่รู้ว่า จะโผล่ไปสร้างตำนานในบริษัทจดทะเบียนแห่งใดอีก
ก.ล.ต.จะไล่ทันเกมนายบีหรือไม่ เพราะถ้าไล่ไม่ทัน ถ้าจอมยุทธจักรหุ้นรายนี้ ไปโผล่หุ้นตัวไหนอีก ย่องเข้าไปหุ้นตัวไหน นักลงทุนรายย่อยจะตกในภาวะเสี่ยงภัย