นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาด ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า ธนาคารคาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวที่ระดับ 3.5% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนที่คาดว่า จะมีขยายตัว 3.3% ด้วยแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐ และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ขณะที่การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางฟื้นตัว แต่ยังต่ำกว่าระดับศักยภาพ และอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2.0% จาก 0.4% ในปี 2559 ตามราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับขึ้น
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งสิ่งที่ต้องจับตาดู คือ ผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
สำหรับค่าเงินบาททีเอ็มบี คาดว่า ปลายปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างปีมีโอกาสแกว่งตัวอ่อนจากปัจจัยต่างประเทศ แต่ด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงความชัดเจนทางด้านการเมืองจะทำให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจแล้ว การเคลื่อนไหวของปัจจัยทางการเมืองจะมีผลอย่างมากต่อเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงิน และตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นกรณี Brexit ที่จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น การเลือกตั้งของหลายๆ ประเทศในกลุ่มอียู และความสามารถการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งสิ่งที่ต้องจับตาดู คือ ผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
สำหรับค่าเงินบาททีเอ็มบี คาดว่า ปลายปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างปีมีโอกาสแกว่งตัวอ่อนจากปัจจัยต่างประเทศ แต่ด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงความชัดเจนทางด้านการเมืองจะทำให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจแล้ว การเคลื่อนไหวของปัจจัยทางการเมืองจะมีผลอย่างมากต่อเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงิน และตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นกรณี Brexit ที่จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น การเลือกตั้งของหลายๆ ประเทศในกลุ่มอียู และความสามารถการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา