ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ประกาศกำไรสุทธิปี 2559 เท่ากับ 33,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,998 ล้านบาท หรือ 13.53% จากปี 2558 โดยมีกาไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 32,278 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,784 ล้านบาท หรือ 13.28% จากปี 2558 จากการขยายตัวของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างทรงตัว ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 91,128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,757 ล้านบาท หรือ 19.32% จาก ณ 31 ธันวาคม 2558 โดยมี NPL Ratio (gross) เท่ากับ 3.97% เพิ่มขึ้นจาก 3.20% ณ 31 ธันวาคม 2558 โดยมีสาเหตุหลักจากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้ากลุ่มลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย ประกอบกับสินเชื่อรวมที่ลดลง
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แนวทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปีนี้ โดยในส่วนของสินเชื่อตั้งเป้าหมายเติบโตประมาณ 5% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นช้าๆ แบ่งเป็นสินเชื่อรายย่อยเติบโต 5% สินเชื่อเอสเอ็มอี โต 5% สินเชื่อรายใหญ่โต 4% และสินเชื่อภาครัฐโตมากกว่า 5% จากปี 59 ที่ติดลบ ขณะที่หนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปีนี้จะรักษาให้ใกล้เคียง หรือไม่เกินจากสิ้นปี 59 โดยธนาคารจะปรับปรุงการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายพอร์ตออกไป หรือการเร่งแก้ไขตั้งแต่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งก็จะช่วยให้ภาระการกันสำรองลดลงด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนที่จะเพิ่มอันดับกำไรของธนาคารจากปัจจุบันที่ 4 จากธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมาเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2561 ซึ่งก็จะต้องมีการบริหารจัดการในหลายๆ ด้าน รวมถึงการบริหารต้นทุน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านของดิจิตอลแบงกิ้ง เพื่อรองรับ National E-Payment ซึ่งเป็นนโยบายหลักของภาครัฐ และกรุงไทย ก็เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน ผ่านบริการพร้อมเพย์ ซึ่งก็อาจจะกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารทั้งระบบในช่วงแรก แต่ในระยะยาวก็จะสมดุลกับด้านต้นทุนที่ลดลงเช่นกัน ธนาคารยังตั้งงบลงทุนด้านไอทีปีนี้มากกว่า 5 พันล้านบาท
แบงก์กรุงเทพ กำไรลด 6.9%
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ประการศผลการดำเนินงานในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ธนาคารมีกำไรสุทธิ จำนวน 31,815 ล้านบาท ลดลง 2,366 ล้านบาท หรือ 6.9% โดยธนาคารมีเงินให้สินเชื่อ จำนวน 1,941,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72,190 ล้านบาท หรือ 3.9% จากสิ้นปี 2558 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ และรายกลาง สินเชื่อลูกค้าบุคคล และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ แม้ว่าเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารยังคงรักษาอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 89.1 ใกล้เคียงกับปีก่อน
สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 มีจำนวน 68,841 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.2% ของเงินให้สินเชื่อรวม ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ฟื้นตัว จึงส่งผลต่อภาคธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ทั้งนี้ ธนาคารยังคงติดตามดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิด และตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างต่อเนื่อง
ไทยพาณิชย์ กำไรโต 0.9%
ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทย่อยประกาศผลการดำเนินงานประจำปี 2559 (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 47,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.9% จากปี 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่เพิ่มขึ้น โดยที่สินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวดีขึ้น Ffp รายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามงบการเงินรวมในปี 2559 มีจำนวน 88,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% จากปี 2558 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่ธนาคารสามารถบริหารต้นทุนเงินฝากได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อ 5.8% จากปีก่อน
ขณที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมในปี 2559 อยู่ที่ 2.67% ลดลงจาก 2.89% ณ สิ้นปี 2558 มาจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของคุณภาพสินเชื่อกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ ขณะที่ SME และลูกค้าบุคคล สินเชื่อด้อยคุณภาพยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในปี 2559 ธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 22,528 ล้านบาท หรือ 1.19% ของสินเชื่อรวม ลดลง 24.2% จากปี 2558 เนื่องจากอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวดีขึ้น โดยที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 134.3% ณ สิ้นปี 2559 จาก 109.8% ณ สิ้นปี 2558
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แนวทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปีนี้ โดยในส่วนของสินเชื่อตั้งเป้าหมายเติบโตประมาณ 5% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นช้าๆ แบ่งเป็นสินเชื่อรายย่อยเติบโต 5% สินเชื่อเอสเอ็มอี โต 5% สินเชื่อรายใหญ่โต 4% และสินเชื่อภาครัฐโตมากกว่า 5% จากปี 59 ที่ติดลบ ขณะที่หนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปีนี้จะรักษาให้ใกล้เคียง หรือไม่เกินจากสิ้นปี 59 โดยธนาคารจะปรับปรุงการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายพอร์ตออกไป หรือการเร่งแก้ไขตั้งแต่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งก็จะช่วยให้ภาระการกันสำรองลดลงด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนที่จะเพิ่มอันดับกำไรของธนาคารจากปัจจุบันที่ 4 จากธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมาเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2561 ซึ่งก็จะต้องมีการบริหารจัดการในหลายๆ ด้าน รวมถึงการบริหารต้นทุน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านของดิจิตอลแบงกิ้ง เพื่อรองรับ National E-Payment ซึ่งเป็นนโยบายหลักของภาครัฐ และกรุงไทย ก็เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน ผ่านบริการพร้อมเพย์ ซึ่งก็อาจจะกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารทั้งระบบในช่วงแรก แต่ในระยะยาวก็จะสมดุลกับด้านต้นทุนที่ลดลงเช่นกัน ธนาคารยังตั้งงบลงทุนด้านไอทีปีนี้มากกว่า 5 พันล้านบาท
แบงก์กรุงเทพ กำไรลด 6.9%
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ประการศผลการดำเนินงานในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ธนาคารมีกำไรสุทธิ จำนวน 31,815 ล้านบาท ลดลง 2,366 ล้านบาท หรือ 6.9% โดยธนาคารมีเงินให้สินเชื่อ จำนวน 1,941,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72,190 ล้านบาท หรือ 3.9% จากสิ้นปี 2558 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ และรายกลาง สินเชื่อลูกค้าบุคคล และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ แม้ว่าเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารยังคงรักษาอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 89.1 ใกล้เคียงกับปีก่อน
สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 มีจำนวน 68,841 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.2% ของเงินให้สินเชื่อรวม ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ฟื้นตัว จึงส่งผลต่อภาคธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ทั้งนี้ ธนาคารยังคงติดตามดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิด และตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างต่อเนื่อง
ไทยพาณิชย์ กำไรโต 0.9%
ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทย่อยประกาศผลการดำเนินงานประจำปี 2559 (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 47,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.9% จากปี 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่เพิ่มขึ้น โดยที่สินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวดีขึ้น Ffp รายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามงบการเงินรวมในปี 2559 มีจำนวน 88,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% จากปี 2558 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่ธนาคารสามารถบริหารต้นทุนเงินฝากได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อ 5.8% จากปีก่อน
ขณที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมในปี 2559 อยู่ที่ 2.67% ลดลงจาก 2.89% ณ สิ้นปี 2558 มาจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของคุณภาพสินเชื่อกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ ขณะที่ SME และลูกค้าบุคคล สินเชื่อด้อยคุณภาพยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในปี 2559 ธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 22,528 ล้านบาท หรือ 1.19% ของสินเชื่อรวม ลดลง 24.2% จากปี 2558 เนื่องจากอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวดีขึ้น โดยที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 134.3% ณ สิ้นปี 2559 จาก 109.8% ณ สิ้นปี 2558