นายมานพ อุดมเกิดมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนักลงทุนสัมพันธ์ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า ธนาคารคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2560 มีแนวโน้มโตที่ 3.3% จาก 3.2% ในปี 2559 จากแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี การบริโภค-ใช้จ่ายน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 3% จากราคาสินค้าเกษตรที่ฟื้นตัว ขณะที่เหตุอุทกภัยภาคใต้จะส่งผลต่อจีดีพี เพียง 0.1% เท่านั้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะเติบโตได้ 2% นำโดยการลงทุนภาครัฐ
“การลงทุนของภาครัฐยังต้องเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่จะสร้างบรรยากาศในการลงทุนเอกชนที่จะตามมา โดยคาดว่ารัฐลงทุน 1% จะส่งผลให้เอกชนลงทุนตามมา 0.01% โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ที่จะช่วยหนุนการค้า การขนส่ง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดันจีดีพีไทยให้โตตามศักยภาพได้ที่ 5%”
ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายคาดการณ์คงที่ระดับ 1.5% แม้อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วางไว้ที่ 1-4% อยู่ ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอยู่ ส่วนค่าเงินบาท ณ สิ้นปีน่าจะอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงประมาณ 3%
สำหรับปัจจัยภายนอกที่ต้องจับตาดูเป็นกรณีของนโยบายของประธานาธิบดีใหม่ของสหรัฐฯ ที่เราคาดว่าจะทำได้เพียงบางส่วน ก็จะส่งผลต่อไทยไม่มากนัก ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดนั้น น่าจะเกิดขึ้น 3 ครั้งในไตรมาส 2, 3 และ 4 ครั้งละ 0.25% รวมถึงการเลือกตั้งของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ที่มีความกังวลกรณีที่หลายๆ ประเทศจะดำเนินรอยตาม Brexit และการแก้ปัญหาด้านสถาบันการเงินของจีน ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมได้
“การลงทุนของภาครัฐยังต้องเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่จะสร้างบรรยากาศในการลงทุนเอกชนที่จะตามมา โดยคาดว่ารัฐลงทุน 1% จะส่งผลให้เอกชนลงทุนตามมา 0.01% โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ที่จะช่วยหนุนการค้า การขนส่ง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดันจีดีพีไทยให้โตตามศักยภาพได้ที่ 5%”
ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายคาดการณ์คงที่ระดับ 1.5% แม้อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วางไว้ที่ 1-4% อยู่ ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอยู่ ส่วนค่าเงินบาท ณ สิ้นปีน่าจะอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงประมาณ 3%
สำหรับปัจจัยภายนอกที่ต้องจับตาดูเป็นกรณีของนโยบายของประธานาธิบดีใหม่ของสหรัฐฯ ที่เราคาดว่าจะทำได้เพียงบางส่วน ก็จะส่งผลต่อไทยไม่มากนัก ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดนั้น น่าจะเกิดขึ้น 3 ครั้งในไตรมาส 2, 3 และ 4 ครั้งละ 0.25% รวมถึงการเลือกตั้งของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ที่มีความกังวลกรณีที่หลายๆ ประเทศจะดำเนินรอยตาม Brexit และการแก้ปัญหาด้านสถาบันการเงินของจีน ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมได้