พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับใหม่งานที่ท้าทายของเลขา ก.ล.ต.
เข้าสู่ปีที่ 2 ในตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) “รพี สุจริตกุล” ดำเนินงานก้าวหน้าไปหลายด้าน โดยเฉพาะ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับใหม่ ที่เพิ่มความเข้มงวดในการให้ข้อมูล และการเพิ่มบทลงโทษบรรดาผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บจ.) และบรรดานักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต่างๆ ในการให้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือนำข้อมูลภายในของบริษัทไปสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
"ก.ล.ต.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ใหม่กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ผู้บริหาร บจ.มีความกังวลในเรื่องการให้ข่าวนั้น ซึ่งหลักคือเรื่องการเปิดเผยข้อมูลภายใน ซึ่งหากยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนก็ไม่สามารถนำมาพูดได้ถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพราะ ตลท.เองมีเกณฑ์อยู่แล้ว แต่เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น ก.ล.ต.จะวิดีโอเพื่อให้เลขานุการเปิดให้กรรมการ และผู้บริหารของ บจ.ได้ดู เพื่อที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง"
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่ มีประเด็นสำคัญคือ 1.การป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (market misconduct) และ 2.มาตรการลงโทษทางแพ่ง (civil penalty) โดยเรื่องที่ 1 เกี่ยวกับการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ได้ปรับปรุงลักษณะความผิดให้ชัดเจนขึ้น และครอบคลุมการกระทำความผิดในลักษณะต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มความผิด ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุน และตลาดทุน ครอบคลุมการบอกกล่าว หรือเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือที่จะทำให้เข้าใจผิด รวมถึงการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ที่ใช้ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งจะทำให้ผู้ให้ข้อมูลหรือความเห็นต่อประชาชนต้องใช้ความระมัดระวังและความรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในการคาดการณ์สามารถทำได้หากตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน แม้ในภายหลังจะไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ก็ไม่เป็นความผิด
กลุ่มที่ 2 เป็นความผิดเกี่ยวกับการเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่น โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ตนรู้มา โดยกฎหมายที่แก้ไขกำหนดให้บุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายในต้องไม่นำข้อมูลไปหาประโยชน์หรือไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น และผู้รับข้อมูลก็ต้องไม่นำไปหาประโยชน์หรือไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นต่อๆ ไป โดยกฎหมายจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลวงใน เช่น กรรมการ ผู้บริหารที่ซื้อขายหุ้นในช่วงที่มีข้อมูลสำคัญและยังไม่เปิดเผย ถือว่าเป็นผู้ซื้อขายที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และในกรณีผู้ใกล้ชิดกับบุคคลวงใน เช่น ญาติที่ใกล้ชิด
หากมีการซื้อขายที่ผิดปกติในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะถือเป็นผู้ซื้อขายที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายในเช่นกัน นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมถึงบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) รวมทั้งพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวที่นำข้อมูลคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปใช้ประโยชน์ โดยการซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า (front running) หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งอาจอาศัยข้อมูลที่ได้มานั้นไปซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า จะมีความผิดตามกฎหมาย
กลุ่มที่ 3 เป็นความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ หรือปั่นหุ้น กฎหมายที่แก้ไขแบ่งความผิดเกี่ยวกับการปั่นหุ้นออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1.การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขาย และ 2.การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะต่อเนื่องจนทำให้ราคา-ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด ความผิดกลุ่มนี้มักมีการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม กฎหมายจึงมีการกำหนดให้การพิสูจน์การกระทำร่วมกันง่ายขึ้น
กลุ่มที่ 4 เป็นกฎหมายที่ดูแลความต่อเนื่อง และความน่าเชื่อถือของการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้การส่งคำสั่งซื้อขายที่อาจจะเป็นเหตุให้ระบบการซื้อขายดังกล่าวสะดุด หรือหยุดชะงักลงเป็นความผิด นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังกำหนดความผิดเกี่ยวกับการใช้หรือยอมให้ใช้บัญชีนอมินี ที่นำไปใช้ในการกระทำความผิดที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับกรณีการเพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเป็นทางเลือกในการบังคับใช้กฎหมายได้รวดเร็วขึ้น โดยความผิดที่สามารถบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเป็นความผิดที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของตลาดทุน ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ การแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงในเอกสารที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด (fiduciary duty) การใช้หรือยอมให้ใช้บัญชีนอมินี ในการทำความผิดอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้ต่อผู้ที่กระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกแจ้งในสาระสำคัญ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรือผู้บริหาร และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหุ้นหรือบัญชีธนาคารที่ใช้ชำระค่าหุ้น หรือให้บัญชีซื้อหุ้นหรือบัญชีธนาคารของบุคคลอื่น ทำให้ผู้กระทำผิดตามข้อกฎหมายดังกล่าวจะถูกดำเนินค่าปรับ ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ ห้ามเข้าซื้อขายในหุ้น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลากำหนดซึ่งต้องไม่เกิน 5 ปี ห้ามเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ ภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกิน 10 ปี
ขณะเดียวกัน บทลงโทษทางแพ่งจะพิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง โดยมีอัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสอบสวนพิเศษ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรณีคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง เห็นควรให้ลงโทษทางแพ่งต่อผู้กระทำผิด และผู้กระทำผิดยินยอมชำระเงินครบถ้วน และให้สิทธิการดำเนินคดีอาญาเป็นอันระงับ
นอกจากนี้ ในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ก.ล.ต.เดินหน้าลงโทษผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนมาก เช่น มีคำสั่งเปรียบเทียบอดีตกรรมการ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS เป็นจำนวนเงิน 5,560,000 บาท กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แสวงหาประโยชน์จากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลของ JAS ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน หรือการลงโทษผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ฐานละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร กรณี ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ แอพเพิล เวลธ์ หลังจากพบความบกพร่องในระบบงาน การทำความรู้จักลูกค้า และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการกำกับดูแลการทำธุรกรรมของลูกค้าที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะระบุตัวตน หรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงยังไม่สามารถป้องกันการกระทำที่อาจไม่เหมาะสมของลูกค้าได้ และหากลูกค้าดังกล่าวมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
“รพี” ระบุ ผลการดำเนินคดีที่ออกมาค่อนข้างมากในยุคนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการล้างท่อคดีเก่าที่ได้มีการทำข้อตกลงกับคณะกรรมการ ก.ล.ต.ว่าจะเร่งสะสาง ซึ่งขณะนี้ทีมงานทำได้ราว 90% ของที่ทำข้อตกลงไว้ โดยประเด็นที่สะสางค่อนข้างยาก คือ การปั่นหุ้น เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องทำเป็นขบวนการ มีการใช้ตัวแทนถือหุ้น (นอมินี) จำนวนมากเยอะๆ ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก
“จากบทลงโทษที่กำหนดเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้นักลงทุนน่าจะอุ่นใจกันได้มากขึ้นบ้าง ที่มีหน่วยงานกลาง ก.ล.ต. และแรงกดดันจากภาคสังคมที่ช่วยเข้ามายกระดับมาตรฐานความโปร่งใส่ของข้อมูล แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนอย่าเพิ่งเชื่อผู้บริหารไว้วางในได้ 100% ยังคงต้องติดตามตรวจสอบข้อมูลกันควบคู่ไปด้วยเสมอ”
สิ่งที่ต้องติดตามต่อจากนี้ คือ เมื่อมี พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่เกิดขึ้น และบทลงโทษที่เพิ่มความรัดกุมและเข้มงวดมากขึ้น จะศักดิ์สิทธิ์มากน้อยเพียงใด ผู้ที่กุมอำนาจจะใช้อำนาจที่มีเพื่อความถูกต้อง และยุติธรรมแค่ไหน แต่สำหรับยุคที่ “รพี สุจริตกุล” เป็นเลขานุการ ก.ล.ต.นั้น เชื่อได้ 100% ว่า ชัดเจน เที่ยงธรรม และแน่นอน
เข้าสู่ปีที่ 2 ในตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) “รพี สุจริตกุล” ดำเนินงานก้าวหน้าไปหลายด้าน โดยเฉพาะ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับใหม่ ที่เพิ่มความเข้มงวดในการให้ข้อมูล และการเพิ่มบทลงโทษบรรดาผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บจ.) และบรรดานักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต่างๆ ในการให้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือนำข้อมูลภายในของบริษัทไปสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
"ก.ล.ต.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ใหม่กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ผู้บริหาร บจ.มีความกังวลในเรื่องการให้ข่าวนั้น ซึ่งหลักคือเรื่องการเปิดเผยข้อมูลภายใน ซึ่งหากยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนก็ไม่สามารถนำมาพูดได้ถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพราะ ตลท.เองมีเกณฑ์อยู่แล้ว แต่เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น ก.ล.ต.จะวิดีโอเพื่อให้เลขานุการเปิดให้กรรมการ และผู้บริหารของ บจ.ได้ดู เพื่อที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง"
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่ มีประเด็นสำคัญคือ 1.การป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (market misconduct) และ 2.มาตรการลงโทษทางแพ่ง (civil penalty) โดยเรื่องที่ 1 เกี่ยวกับการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ได้ปรับปรุงลักษณะความผิดให้ชัดเจนขึ้น และครอบคลุมการกระทำความผิดในลักษณะต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มความผิด ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุน และตลาดทุน ครอบคลุมการบอกกล่าว หรือเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือที่จะทำให้เข้าใจผิด รวมถึงการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ที่ใช้ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งจะทำให้ผู้ให้ข้อมูลหรือความเห็นต่อประชาชนต้องใช้ความระมัดระวังและความรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในการคาดการณ์สามารถทำได้หากตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน แม้ในภายหลังจะไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ก็ไม่เป็นความผิด
กลุ่มที่ 2 เป็นความผิดเกี่ยวกับการเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่น โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ตนรู้มา โดยกฎหมายที่แก้ไขกำหนดให้บุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายในต้องไม่นำข้อมูลไปหาประโยชน์หรือไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น และผู้รับข้อมูลก็ต้องไม่นำไปหาประโยชน์หรือไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นต่อๆ ไป โดยกฎหมายจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลวงใน เช่น กรรมการ ผู้บริหารที่ซื้อขายหุ้นในช่วงที่มีข้อมูลสำคัญและยังไม่เปิดเผย ถือว่าเป็นผู้ซื้อขายที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และในกรณีผู้ใกล้ชิดกับบุคคลวงใน เช่น ญาติที่ใกล้ชิด
หากมีการซื้อขายที่ผิดปกติในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะถือเป็นผู้ซื้อขายที่รู้หรือครอบครองข้อมูลภายในเช่นกัน นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมถึงบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) รวมทั้งพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวที่นำข้อมูลคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปใช้ประโยชน์ โดยการซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า (front running) หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งอาจอาศัยข้อมูลที่ได้มานั้นไปซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า จะมีความผิดตามกฎหมาย
กลุ่มที่ 3 เป็นความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ หรือปั่นหุ้น กฎหมายที่แก้ไขแบ่งความผิดเกี่ยวกับการปั่นหุ้นออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1.การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขาย และ 2.การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะต่อเนื่องจนทำให้ราคา-ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด ความผิดกลุ่มนี้มักมีการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม กฎหมายจึงมีการกำหนดให้การพิสูจน์การกระทำร่วมกันง่ายขึ้น
กลุ่มที่ 4 เป็นกฎหมายที่ดูแลความต่อเนื่อง และความน่าเชื่อถือของการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้การส่งคำสั่งซื้อขายที่อาจจะเป็นเหตุให้ระบบการซื้อขายดังกล่าวสะดุด หรือหยุดชะงักลงเป็นความผิด นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังกำหนดความผิดเกี่ยวกับการใช้หรือยอมให้ใช้บัญชีนอมินี ที่นำไปใช้ในการกระทำความผิดที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับกรณีการเพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเป็นทางเลือกในการบังคับใช้กฎหมายได้รวดเร็วขึ้น โดยความผิดที่สามารถบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเป็นความผิดที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของตลาดทุน ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ การแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงในเอกสารที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด (fiduciary duty) การใช้หรือยอมให้ใช้บัญชีนอมินี ในการทำความผิดอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้ต่อผู้ที่กระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกแจ้งในสาระสำคัญ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรือผู้บริหาร และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหุ้นหรือบัญชีธนาคารที่ใช้ชำระค่าหุ้น หรือให้บัญชีซื้อหุ้นหรือบัญชีธนาคารของบุคคลอื่น ทำให้ผู้กระทำผิดตามข้อกฎหมายดังกล่าวจะถูกดำเนินค่าปรับ ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ ห้ามเข้าซื้อขายในหุ้น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลากำหนดซึ่งต้องไม่เกิน 5 ปี ห้ามเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ ภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกิน 10 ปี
ขณะเดียวกัน บทลงโทษทางแพ่งจะพิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง โดยมีอัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสอบสวนพิเศษ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรณีคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง เห็นควรให้ลงโทษทางแพ่งต่อผู้กระทำผิด และผู้กระทำผิดยินยอมชำระเงินครบถ้วน และให้สิทธิการดำเนินคดีอาญาเป็นอันระงับ
นอกจากนี้ ในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ก.ล.ต.เดินหน้าลงโทษผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนมาก เช่น มีคำสั่งเปรียบเทียบอดีตกรรมการ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS เป็นจำนวนเงิน 5,560,000 บาท กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แสวงหาประโยชน์จากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลของ JAS ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน หรือการลงโทษผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ฐานละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร กรณี ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ แอพเพิล เวลธ์ หลังจากพบความบกพร่องในระบบงาน การทำความรู้จักลูกค้า และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการกำกับดูแลการทำธุรกรรมของลูกค้าที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะระบุตัวตน หรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงยังไม่สามารถป้องกันการกระทำที่อาจไม่เหมาะสมของลูกค้าได้ และหากลูกค้าดังกล่าวมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
“รพี” ระบุ ผลการดำเนินคดีที่ออกมาค่อนข้างมากในยุคนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการล้างท่อคดีเก่าที่ได้มีการทำข้อตกลงกับคณะกรรมการ ก.ล.ต.ว่าจะเร่งสะสาง ซึ่งขณะนี้ทีมงานทำได้ราว 90% ของที่ทำข้อตกลงไว้ โดยประเด็นที่สะสางค่อนข้างยาก คือ การปั่นหุ้น เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องทำเป็นขบวนการ มีการใช้ตัวแทนถือหุ้น (นอมินี) จำนวนมากเยอะๆ ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก
“จากบทลงโทษที่กำหนดเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้นักลงทุนน่าจะอุ่นใจกันได้มากขึ้นบ้าง ที่มีหน่วยงานกลาง ก.ล.ต. และแรงกดดันจากภาคสังคมที่ช่วยเข้ามายกระดับมาตรฐานความโปร่งใส่ของข้อมูล แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนอย่าเพิ่งเชื่อผู้บริหารไว้วางในได้ 100% ยังคงต้องติดตามตรวจสอบข้อมูลกันควบคู่ไปด้วยเสมอ”
สิ่งที่ต้องติดตามต่อจากนี้ คือ เมื่อมี พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่เกิดขึ้น และบทลงโทษที่เพิ่มความรัดกุมและเข้มงวดมากขึ้น จะศักดิ์สิทธิ์มากน้อยเพียงใด ผู้ที่กุมอำนาจจะใช้อำนาจที่มีเพื่อความถูกต้อง และยุติธรรมแค่ไหน แต่สำหรับยุคที่ “รพี สุจริตกุล” เป็นเลขานุการ ก.ล.ต.นั้น เชื่อได้ 100% ว่า ชัดเจน เที่ยงธรรม และแน่นอน