แม้ราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสำคัญเข้ามากดดันโดยเฉพาะกรณีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ และปริมาณสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ในระดับสูงในหลายพื้นที่กดดันผลตอบแทน
แต่นับตั้งแต่ไตรมาส 2/59 ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มน้ำมันได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงไปมาก หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างหนักตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ผลดำเนินงานของหลายบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของกลุ่มนี้เริ่มฟื้นตัวกลับมาอย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสแรก1/59
สัญญาณการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลก เริ่มแสดงท่าทีชัดเจนมากขึ้นเมื่อผ่านพ้นไตรมาสแรกปี 2559 หลังจากปีที่ผ่านมา ทรุดตัวลงอย่างหนัก เห็นได้จากวัฏจักรของธุรกิจที่มาถึงจุดต่ำสุด เมื่อราคาน้ำมันลดลงแตะระดับ 30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในปี 2558 และหลังจากนั้น เริ่มขยับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าจะไม่ได้เห็นการกลับไปแตะจุดต่ำสุดอีกครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในรอบนี้จะไม่เร่งตัวขึ้นเหมือนในอดีต เพราะยังมีปัจจัยลบเข้ามากดดันบรรยากาศต่อเนื่อง ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
นอกจากนี้ ด้วยราคาน้ำมันที่ลดลงมาก กลับทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปรับตัวสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบหลักคือ น้ำมันอย่างปิโตรเคมีกลับได้ประโยชน์จากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แม้ราคาขายจะปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนหลักก็ตาม แต่ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบหลายผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลบวกต่อหุ้นน้ำมัน และปิโตรเคมี
หลายฝ่ายเชื่อว่าเป้าหมายเฉลี่ยของราคาน้ำมันทั้งปี 2559 จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 45-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ผลดำเนินงานในหลายบริษัทของกลุ่มนี้ปรับตัวดีขึ้น เหตุเพราะหลายบริษัทได้ปรับตัวรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิกฤตที่เกิดขึ้นพลิกเป็นโอกาสให้แก่องค์กรผ่านการควบคุมต้นทุน การลงทุนในธุรกิใหม่ที่เกี่ยวเนื่อง หรือการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อขยายอาณาจักรและตลาด รอเพียงการฟื้นตัวที่แท้จริงเข้ามาช่วยผลักดันผลประกอบการให้กลับอยู่ในระดับเดิมในอดีต
ขณะเดียวกัน หลายบริษัทหันมาเพิ่มน้ำหนักในธุรกิจ non - oil มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ให้บริการสถานีน้ำมัน ที่หลายรายเพิ่มน้ำหนักลงทุนในธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้ และกระจายความเสี่ยงธุรกิจซึ่งช่วยทำให้หุ้นน้ำมัน มีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การหันมาผูกพันธมิตรของบรรดาผู้ให้บริการสถานีน้ำมัน กับผู้ประกอบการรายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อธุรกิจอาหาร และการให้บริการ เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบการซื้อแฟรนไชส์เข้าดำเนินธุรกิจกิจเอง หรือดึงพันธมิตรเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวในสถานีของตน เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มองค์ประกอบของสถานีบริการให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ช่วยดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการสถานีน้ำมันของบริษัทมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ทั้งในแง่ยอดการขายน้ำมัน และรายได้ในธุรกิจอื่นๆ ให้แก่บริษัท จนทำให้แนวโน้มธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในไทยจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะได้รับรับการยอมรับจากนานาประเทศ ด้วยมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น
PTT: ทุ่มน้ำหนักลงทุนธุรกิจค้าปลีก
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) ที่ระดับ 9.14 แสนล้านบาท ใกล้เคียงจุดสูงสุดในปี 2557 ซึ่งมีมูลค่า 9.25 แสนล้านบาท โดยปัจจุบัน PTT เทรดที่ P/E ระดับ 43.48 เท่า และ P/BV ที่ 1.27 เท่า
ล่าสุด คือ ผลดำเนินงานไตรมาสแรกของ PTT มีกำไรสุทธิ 2.36 หมื่นล้านบาท มากกว่าตลอดทั้งปี 2558 ที่บริษัททำได้ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างหนักในระดับ 1.99 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมทั้งปี 2559
“อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. เปิดเผยว่า รายได้จากธุรกิจน้ำมันในปีนี้จะอยู่ที่ 5.2 แสนล้านบาท จากปี 2558 ที่มีรายได้ 4.8 แสนล้านบาท โดยมาจากการขยายสถานีบริการน้ำมันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งการออกผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเกรดพรีเมียม การจำหน่ายน้ำมันอากาศยานที่เติบโตตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการจำหน่ายน้ำมันเตาให้ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และเรือขนส่ง ซึ่งมีสัดส่วนรายได้รวม 95% ส่วนอีก 5% เป็นรายได้จากธุรกิจค้าปลีก
“คาดว่ากำไรของธุรกิจน้ำมันในปีนี้จะดีขึ้นจากปีก่อน แม้รายได้อาจจะไม่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้วยปริมาณการขายที่เติบโตตามความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะช่วยหนุนกำไรได้ ขณะที่มาร์จิ้นต่อหน่วยยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดย ปตท.ยังได้เพิ่มงบส่งเสริมการขายของธุรกิจค้าปลีกเพื่อมุ่งเน้นรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ 40% ด้วย ดังนั้น ในเทอมรายได้อาจไม่สูงขึ้น แต่ยอดขายเป็นขายลิตรจะเพิ่มขึ้น ตัวเงินกำไรควรจะเพิ่มขึ้น”
ด้านแผนการลงทุนเพื่อให้เหมาะต่อสถานการณ์ปัจจุบัน PTT มีการปรับลดแผนการลงทุนบ้างเล็กน้อย แต่ในการขยายสถานีบริการ บริษัทยังเดินหน้าตามเป้าหมายคือ เพิ่มขึ้นอีก 200 แห่ง เพื่อให้ถึงเป้าหมาย 1,600 แห่ง เน้นกระจายไปยังพื้นที่ในระดับอำเภอ และชุมชนขนาดใหญ่ ส่วนการขยายสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศที่ปัจจุบันมีอยู่ในกัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ พม่า บริษัทตั้งเป้าไว้เป็น 200 แห่งในสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 500 แห่งในปี 2563
ขณะเดียวกัน PTT อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อนำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของกลุ่มเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ ในเบื้องต้น ธุรกิจค้าปลีกของ ปตท.จะมีมาร์เกตแคป ประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
สำหรับการลงทุนด้านธุรกิจค้าปลีกถือเป็นไลน์ธุรกิจใหม่ที่ ปตท. ไม่ยอมปรับลดงบลงทุนเช่นกัน เพื่อรับการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงรองรับการเติบโตของธุรกิจที่ยังสดใส เห็นได้จากสามารถสร้างกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อมได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือ 22% ของธุรกิจทั้งหมด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินของธุรกิจกว่า 8 หมื่นล้านบาท ประกอบไปด้วยธุรกิจปั๊มน้ำมัน ธุรกิจก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) คลังน้ำมัน และธุรกิจบริการที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ ร้านกาแฟอเมซอน ฯลฯ
ล่าสุด บริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการโรงแรมราคาประหยัดเพื่อร่วมดำเนินธุรกิจภายในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นการช่วยต่อยอดธุรกิจค้าปลีก โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ และพร้อมจะดำเนินการได้ในปี 2560 ด้วยเป้าหมายจะมีโรงแรมในสถานีบริการน้ำมัน 50 แห่ง ภายใน 5 ปี
นอกจากนี้ จะใช้ลงทุนในธุรกิจน้ำมันอื่นๆ ที่ประกอบด้วย ตลาดพาณิชย์ที่มีปริมาณขาย และกำไรใกล้เคียงกับตลาดค้าปลีก เช่น การขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในภาคอุตสาหกรรม การขายน้ำมันอากาศยาน การลงทุนในส่วนของ LPG ที่เป็นการค้าปลีก สถานีบริการ โรงบรรจุก๊าซฯ และร้านค้าก๊าซฯ ตลอดจนการลงทุนในส่วนของธุรกิจน้ำมันเครื่อง เป็นต้น
BCP : ค่าการกลั่น&ยอดขายช่วยผลักดัน
แม้ไตรมาสแรกปี 2559 บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP จะมีกำไร 46.60 ล้านบาท จากรายได้ 3.07 หมื่นล้านบาท จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ BCP เป็นอีกหนึ่งหลักทรัพย์ในกระดานซื้อขายที่นักลงทุนให้ความสนใจ จนราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น
ผู้บริหารของ BCP คาดว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากค่าการกลั่นที่อยู่ในระดับ 7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และกลับมามีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน เนื่องจากในไตรมาสนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 46 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ไตรมาสก่อนอยู่ที่ 36 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ขณะที่ธุรกิจกลุ่มสถานีบริการน้ำมันยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากบริษัทได้ดำเนินการขยายสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ “บางจาก” อย่างไม่หยุดทำให้ทิศทางธุรกิจยังมีการเติบโตจากอัตราการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น
“ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ BCP กล่าวว่า กำไรก่อน EBITDA ในปี 2559 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2558 ส่วนหนึ่งมาจากยอดขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงงานไบโอดีเซล (B100) จะมีกำลังการผลิตเพิ่มจาก 3.6 แสนลิตร/วัน เป็น 8.1 แสนลิตร/วัน จากการเดินเครื่องผลิตของโรงงานแห่งที่ 2 ภายใน ก.ค.นี้ ขณะที่ธุรกิจเอทานอล จะมีกำลังการผลิตจากโรงงานที่ฉะเชิงเทรา เข้ามาเสริม 1.5 แสนลิตร/วัน จากปัจจุบันมีโรงงานที่อุบลฯ ผลิตได้ 4 แสนลิตร/วัน
นอกจากนี้ BCP ยังเดินหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 20 (B20) ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน และเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ B20 ในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง
“พงษ์ชัย ชัยจิรวิวัฒน์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านธุรกิจการตลาด BCP กล่าวว่า ภาพรวมของธุรกิจยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทั้งตลาดค้าปลีก และตลาดอุตสาหกรรมของบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้เติบโต 9% หรือประมาณ 2 พันล้านลิตร หรือ 500 ล้านลิตร/เดือน ทำให้ทั้งปีนี้บริษัทวางเป้าหมายมียอดจำหน่ายน้ำมันถึง 6 พันล้านลิตร ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องมาจากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำเฉลี่ย 45-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
ส่วนแผนการขยายสถานีให้บริการน้ำมัน BCP ยืนยันเป้าหมายในปีนี้ คือ เปิดสถานีให้บริการเพิ่ม 60 แห่ง หลังครึ่งปีแรกขยายไปแล้ว 20 แห่ง โดยปัจจุบันบริษัทมีสถานีบริการน้ำมันประมาณ 1,070 แห่ง แบ่งเป็นปั๊มมาตรฐาน 460 แห่ง ปั๊มระดับชุมชน 610 แห่ง โดยในส่วนของปั๊มมาตรฐานจะเร่งดำเนินการเสริมร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟอินทนิล เพิ่มบริการให้แก่ลูกค้า เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ ซึ่งยังเหลืออีกประมาณ 260 แห่ง
“เราตั้งเป้าจะเพิ่มร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งร้านกาแฟอินทนิลในปั๊มมาตรฐาน 30 สาขา เพราะเห็นช่องทางในการเติบโตของธุรกิจ โดยขณะนี้รายได้ของธุรกิจนอนออยล์ (Non Oil) ในปัจจุบันเติบโตเฉลี่ย 13-14% ต่อสาขา ภาพรวมธุรกิจมีทิศทางเติบโตขึ้นรวดเร็ว หลังจากราคาน้ำมันอยู่ในทิศทางที่ทรงตัวไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล”
จากความแข็งแกร่งทางธุรกิจหลัก และธุรกิจเสริมทำให้เชื่อว่าในไตรมาส2/59 บริษัทจะกลับมามีผลดำเนินงาน โดยเฉพาะในแง่กำไรสุทธิที่ระดับปกติคือ 1.5 พันล้านบาท และทั้งปีกำไรจะอยู่ที่ 4.89 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2558 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 4.15 พันล้านบาท
ESSO : หวนกลับมาทวงคืนมาร์เกตแชร์
ในแง่ผลประกอบการปี 2559 บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO เป็นอีกหนึ่งบริษัทน้ำมันที่มีผลดำเนินงานโดดเด่น เห็นได้จากกำไรสุทธิไตรมาสแรกที่ระดับ 1.89 พันล้านบาท บนรายได้ 3.56 หมื่นล้านบาท มากกว่าตลอดทั้งปี 2558 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาท บนรายได้ 1.70 แสนล้านบาท หลังจากปี 2557 บริษัทขาดทุนหนัก 1.03 หมื่นล้านบาท
ล่าสุด ESSO ประกาศกลับมารุกตลาดไทยด้วยเป้าหมายการกลับขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการเบอร์ 2 ของประเทศ บนงบลงทุน 1 พันล้านบาท ซึ่งการลงทุนครั้งนี้บริษัทแม่อย่าง EXXONMOBIL ASIA HOLDINGS PTE. LTD. ที่ถือหุ้น 65.99% ประกาศให้การสนับสนุนเต็มที่ ตามแผนที่จะเดินหน้าขยายงานของธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายจะสำเร็จภายใน 5 ปี จากสิ้นปี 2558 ที่มีส่วนแบ่งตลาดน้ำมันที่ 14% คิดเป็นอันดับ 3 ของตลาด
“ตั้งแต่ปี 2540 บริษัทได้หยุดลงทุน เราเคยมีสถานีบริการกว่า 800 แห่งก็ลดลงเรื่อยๆ จนมาถึงต่ำสุดเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ที่ 516 แห่ง ... 5 ปีที่ผ่านมา เราผ่านเฟสแรกของการฟื้นตัวแล้ว เฟสที่ 2 ช่วง 5 ปีต่อไปนี้จะเป็นการปรับคุณภาพน้ำมัน และการปรับภาพลักษณ์ การเพิ่มนอนออยล์เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภค”
“ยอดพงศ์ สุตธรรม” กรรมการและผู้จัดการการตลาดขายปลีก การตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในส่วนของนอนออยล์ ESSO จะมีขยายฐานพันธมิตรในกลุ่มต่างๆ ทั้งในส่วนของร้านสะดวกซื้อ ที่ปัจจุบันมี Tesco Lotus, Family Mart, S-Mart ขณะที่ในส่วนของร้านฟาสต์ฟูด จะมีพันธมิตร เช่น McDonald’s, KFC, Burger King ขณะที่ร้านกาแฟมีพันธมิตรอย่าง Rabika Coffee, Caffe D’Oro, Coffee Boy และศูนย์บริการรถยนต์ มีพันธมิตรอย่าง Mobil 1 Center, B-Quik, Bosch เป็นต้น
โดยปริมาณการขายปลีกน้ำมันของ ESSO ในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโตเท่ากับอุตสาหกรรมที่คาดจะขยายตัว 7% จากปีที่แล้ว หลังจากในช่วงไตรมาส 1/59 เติบโตเพียง 4-5% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่ขยายตัว 10% ทั้งนี้ หากเป็นไปตามเป้าหมายของ ESSO เชื่อว่า ผลงานครึ่งแรกปี 2559 ของ ESSO จะสามารถพลิกเป็นกำไร เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปีก่อนที่ขาดทุนราว 1.2 พันล้านบาท หลังช่วงไตรมาส 1/59 บริษัทมีกำไร 1.89 พันล้านบาท ประกอบกับแนวโน้มยอดขายน้ำมันและธุรกิจอื่นๆ ยังเติบโตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเชื่อว่า น่าจะไม่มีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันเข้ามาอีก
PTG : เติบโตต่อเนื่องอย่างมีศักยภาพ
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG หุ้นสถานีบริการน้ำมันของ 3 ตระกูลใหญ่ ได้แก่ “รัชกิจประการ” “วิจิตรธนารักษ์” และ “วชิรศักดิ์พานิช” ซึ่งในปีนี้ บริษัทเชื่อว่าผลประกอบการในครึ่งปีแรกจะดีกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หลังตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าเป้าที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะยอดขายจากสถานีเดิมในช่วงไตรมาสแรกมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนลิตร จากเดิมอยู่ที่ 1.85แสนลิตร และค่าการตลาดที่อยู่ในระดับปกติ
“แนวโน้มไตรมาส 2 เราคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาส 2 ปีก่อนที่มีรายได้ 1.42 หมื่นล้านบาท จากการเติบโตตามปริมาณการขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนสาขาแ ละสมาชิก PT Max Card ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไตรมาส 2 นี้ เราคาดว่าจะเปิดสถานีบริการน้ำมันไม่ต่ำกว่า 70 สาขา ขณะที่ทั้งปีคงเป้าหมายเดิมที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันรวม 300 แห่ง ทำให้สิ้นปีนี้บริษัทจะมีสถานีบริการน้ำมันรวม 1,500 แห่ง”
“พิทักษ์ รัชกิจประการ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีจี เอ็นเนอยี ให้ความเห็นว่า ผลดำเนินงานในปี 2559 จะเติบโตจากปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน สวนความคืบหน้าในการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มไลน์ธุรกิจที่นอกเหนือธุรกิจหลัก คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ พร้อมกันนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างรอลิขสิทธิ์จากโรงเอทานอล คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส 3/59
นอกจากนี้ PTG ยังมุ่งหวังขยายรายได้และกำไรจากธุรกิจ Non-Oil เข้ามาสนับสนุนแม้ว่าในปัจจุบันสัดส่วนกำไรสุทธิจากธุรกิจดังกล่าวจะมีอยู่เพียง 1% แต่เชื่อว่าภายใน 5 ปีจากนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5%
“เรายังคงขยายสาขาอย่างต่อเนื่องตามงบลงทุนที่เคยตั้งไว้ 4.5 พันล้านบาท เพื่อใช้ขยายจำนวนสถานีบริการเพิ่มอีก 300 แห่ง และสถานีแก๊สแอลพีจีอีก 50 สถานี รวมถึงการขยายสถานีบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่ม 25-30 สถานี โดยรวมทั้งปีเราคงเป้าปริมาณการขายเติบโตราว 30-40% จากปีก่อนที่ทำได้ 2.23 ล้านลิตร/ปี นั่นหมายถึงอัตรากำไรสุทธิปีนี้เฉลี่ยอยู่ในระดับ 2% ใกล้เคียงช่วงไตรมาส1ที่ทำได้ 2.16% จากค่าการตลาดที่สูงขึ้นเฉลี่ยปีนี้ราว 1.70-1.80บาท/ลิตร”
SUSCO : รับอานิสงส์ไม่น้อยหน้าหุ้นในกลุ่ม
บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SUSCO ธุรกิจน้ำมันของกลุ่ม “สิมะโรจน์” ที่ถือหุ้นรวมกันกว่า 43% เป็นอีกบริษัทที่ได้รับอานิสงส์จากความผันผวนของน้ำมันในตลาดโลก ด้วยยอดขายเติบโตโดดเด่นหลังปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในประเทศพุ่งแรงจากราคาขายปลีกปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้ “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” กรรมการผู้จัดการ SUSCO คาดว่ารายได้รวมของบริษัทในปี 2559 จะกลับมาอยู่ที่ระดับ 2.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทตามความต้องการใช้น้ำมันในประเทศจะยังเพิ่มสูงขึ้น แม้ราคาน้ำมันขายปลีกยังลดลงต่อเนื่อง
ด้านการลงทุน SUSCO จะใช้งบประมาณ 15-20 ล้านบาทในการขยายสถานีบริการน้ำมันเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ มีสถานีบริการน้ำมันครบ 250 แห่ง ในปี 2560 จากปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันมากกว่า 230 แห่ง รวมทั้งปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันเดิมให้มีความทันสมัย
“แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 จะเติบโตต่อเนื่องจากปัจจัยเชิงบวกราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับต่ำทำให้ความต้องการใช้น้ำมันยังเพิ่มขึ้น อีกทั้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เราได้ขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 4 สาขา ประกอบกับการได้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว กัมพูชา และพม่าเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วงไตรมาส 2 ยอดขายในกลุ่มประเทศดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ซึ่งธุรกิจนี้คิดเป็นสัดส่วนรายได้กว่า 30% ของรายได้ทั้งหมด”
ไม่เพียงเท่านั้น ในการปรับปรุงคุณภาพของสถานีบริการปั๊มน้ำมัน บริษัทได้จับมือกับพันธมิตรอย่างลอว์สัน 108 และกาแฟชาวดอย เพื่อเสริมบริการภายในสถานีให้มีความหลากหลาย และเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ SUSCO โดยตั้งเป้าขยายให้ได้อย่างน้อย 10 สาขาภายในปีนี้ ส่วนภาพรวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2559 บริษัทตั้งเป้าเติบโตมากกว่า 1 ล้านลิตร
ภาพรวมในปี 2559 อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันจะยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงจะช่วยหนุนความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น และนั่นทำให้บริษัทมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน การทยอยไต่ระดับขึ้นมาของราคาน้ำมันช่วยให้การขาดทุนจากการสต๊อกน้ำมันของแต่ละบริษัทลดลง กลายเป็นปัจจัยเสริมต่อผลดำเนินงาน รวมไปถึงการรับรู้รายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจค้าปลีกที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น แม้การเพิ่มกำลังผลิตในน้ำมันบางประเภทจะสร้างแรงกดดันที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์บางประเภทก็ตาม
ด้วยปัจจัยหนุนทางด้านพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้หลายบริษัทในหุ้นกลุ่มพลังงานถูกปรับเพิ่มประมาณการ และมูลค่าพื้นฐาน ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันหุ้นกลุ่มพลังงานไทยมีมูลค่าที่ถูกมาก ภาพรวมสถานการณ์ และเหตุการณ์ในปัจจุบัน น่าจะเป็นจังหวะที่เอื้ออำนวยแก่การเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ภาพรวมแนวโน้มธุรกิจในบางบริษัทยังมีปัจจัยลบเข้ามากดดัน แต่นั่นเป็นเพียงปัจจัยลบระยะสั้นที่รอการฟื้นตัวกลับไปของราคาหุ้น และผลประกอบการเท่านั้น
หุ้นปั๊มน้ำมัน...เพิ่มธุรกิจ
หนุนศักยภาพดันกำไร
แม้ราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสำคัญเข้ามากดดันโดยเฉพาะกรณีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ และปริมาณสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ในระดับสูงในหลายพื้นที่กดดันผลตอบแทน
***แต่นับตั้งแต่ไตรมาส 2/59 ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มน้ำมันได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงไปมาก หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างหนักตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ผลดำเนินงานของหลายบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯของกลุ่มนี้ เริ่มฟื้นตัวกลับมาอย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสแรก1/59***
สัญญาณการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลก เริ่มแสดงท่าทีชัดเจนมากขึ้น เมื่อผ่านพ้นไตรมาสแรกปี 2559 หลังจากปีที่ผ่านทรุดตัวลงอย่างหนัก เห็นได้จากวัฏจักรของธุรกิจที่มาถึงจุดต่ำสุด เมื่อราคาน้ำมันลดลงแตะระดับ 30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในปี 2558 และหลังจากนั้นเริ่มขยับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าจะไม่ได้เห็นการกลับไปแตะจุดต่ำสุดอีกครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในรอบนี้จะไม่เร่งตัวขึ้นเหมือนในอดีต เพราะยังมีปัจจัยลบเข้ามากดดันบรรยากาศต่อเนื่อง ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
***นอกจากนี้ด้วยราคาน้ำมันที่ลดลงมาก กลับทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปรับตัวสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบหลักคือน้ำมันอย่างปิโตรเคมีกลับได้ประโยชน์จากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง*** แม้ราคาขายจะปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนหลักก็ตาม แต่ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบหลายผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลบวกต่อหุ้นน้ำมันและปิโตรเคมี
***หลายฝ่ายเชื่อว่าเป้าหมายเฉลี่ยของราคาน้ำมันทั้งปี 2559 จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 45 - 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ผลดำเนินงานในหลายบริษัทของกลุ่มนี้ปรับตัวดีขึ้น เหตุเพราะหลายบริษัทได้ปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิกฤตที่เกิดขึ้นพลิกเป็นโอกาสให้แก่องค์กร ผ่านการควบคุมต้นทุน การลงทุนในธุรกิใหม่ที่เกี่ยวเนื่อง หรือการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อขยายอาณาจักรและตลาด รอเพียงการฟื้นตัวที่แท้จริง***เข้ามาช่วยผลักดันผลประกอบการให้กลับอยู่ในระดับเดิมในอดีต
ขณะเดียวกัน หลายบริษัทหันมาเพิ่มน้ำหนักในธุรกิจ non - oil มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ให้บริการสถานีน้ำมัน ที่หลายรายเพิ่มน้ำหนักลงทุนในธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้ และกระจายความเสี่ยงธุรกิจซึ่งช่วยทำให้หุ้นน้ำมัน มีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม
***สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การหันมาผูกพันธมิตรของบรรดาผู้ให้บริการสถานีน้ำมัน กับผู้ประกอบการรายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและการให้บริการอาทิ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบการซื้อแฟรนไชส์เข้าดำเนินธุรกิจกิจเอง หรือดึงพันธมิตรเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวในสถานีของตน เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มองค์ประกอบของสถานีบริการให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ช่วยดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการสถานีน้ำมันของบริษัทมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ทั้งในแง่ยอดการขายน้ำมัน และรายได้ในธุรกิจอื่นๆให้แก่บริษัท จนทำให้แนวโน้มธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในไทย จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะได้รับรับการยอมรับจากนานาประเทศ ด้วยมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น***
***PTT: ทุ่มน้ำหนักลงทุนธุรกิจค้าปลีก***
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เกตแคป)ที่ระดับ 9.14 แสนล้านบาท ใกล้เคียงจุดสูงสุดในปี 2557 ซึ่งมีมูลค่า 9.25 แสนล้านบาท โดยปัจจุบัน PTT เทรดที่P/E ระดับ 43.48 เท่า และ P/BV ที่ 1.27 เท่า
ล่าสุด คือผลดำเนินงานไตรมาสแรกของ PTT มีกำไรสุทธิ 2.36 หมื่นล้านบาท มากกว่าตลอดทั้งปี 2558 ที่บริษัททำได้ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างหนักในระดับ 1.99 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมทั้งปี2559
“อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. เปิดเผยว่ารายได้จากธุรกิจน้ำมันในปีนี้จะอยู่ที่ 5.2 แสนล้านบาท จากปี 2558 ที่มีรายได้ 4.8 แสนล้านบาท โดยมาจากการขยายสถานีบริการน้ำมันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการออกผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเกรดพรีเมียม การจำหน่ายน้ำมันอากาศยานที่เติบโตตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการจำหน่ายน้ำมันเตาให้ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและเรือขนส่ง ซึ่งมีสัดส่วนรายได้รวม 95% ส่วนอีก 5% เป็นรายได้จากธุรกิจค้าปลีก
“คาดว่ากำไรของธุรกิจน้ำมันในปีนี้จะดีขึ้นจากปีก่อน แม้รายได้อาจจะไม่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้วยปริมาณการขายที่เติบโตตามความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะช่วยหนุนกำไรได้ ขณะที่มาร์จิ้นต่อหน่วยยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยปตท.ยังได้เพิ่มงบส่งเสริมการขายของธุรกิจค้าปลีกเพื่อมุ่งเน้นรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ 40% ด้วย ดังนั้นในเทอมรายได้อาจไม่สูงขึ้นแต่ยอดขายเป็นขายลิตรจะเพิ่มขึ้น ตัวเงินกำไรควรจะเพิ่มขึ้น"
ด้านแผนการลงทุน เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน PTT มีการปรับลดแผนการลงทุนบ้างเล็กน้อย แต่ในการขยายสถานีบริการ บริษัทยังเดินหน้าตามเป้าหมายคือเพิ่มขึ้นอีก 200 แห่ง เพื่อให้ถึงเป้าหมาย 1,600 แห่ง เน้นกระจายไปยังพื้นที่ในระดับอำเภอ และชุมชนขนาดใหญ่ ส่วนการขยายสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีอยู่ในกัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ เมียนมา บริษัทตั้งเป้าไว้เป็น 200 แห่งในสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 500 แห่งในปี 2563
ขณะเดียวกัน PTT อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อนำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของกลุ่ม เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ ในเบื้องต้นธุรกิจค้าปลีกของ ปตท.จะมีมาร์เก็ตแคป ประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
สำหรับการลงทุนด้านธุรกิจค้าปลีก ถือเป็นไลน์ธุรกิจใหม่ที่ ปตท. ไม่ยอมปรับลดงบลงทุนเช่นกัน เพื่อรับการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงรองรับการเติบโตของธุรกิจที่ยังสดใส เห็นได้จากสามารถสร้างกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อมได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือ 22% ของธุรกิจทั้งหมด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินของธุรกิจกว่า 8 หมื่นล้านบาท ประกอบไปด้วยธุรกิจปั๊มน้ำมัน ธุรกิจก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) คลังน้ำมัน และธุรกิจบริการที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ ร้านกาแฟอเมซอน ฯลฯ
***ล่าสุด บริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการโรงแรมราคาประหยัดเพื่อร่วมดำเนินธุรกิจภายในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นการช่วยต่อยอดธุรกิจค้าปลีก โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ และพร้อมจะดำเนินการได้ในปี 2560 ด้วยเป้าหมายจะมีโรงแรมในสถานีบริการน้ำมัน 50 แห่งภายใน 5 ปี***
นอกจากนี้จะใช้ลงทุนในธุรกิจน้ำมันอื่น ๆ ที่ประกอบด้วย ตลาดพาณิชย์ที่มีปริมาณขายและกำไรใกล้เคียงกับตลาดค้าปลีก เช่น การขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในภาคอุตสาหกรรม ,การขายน้ำมันอากาศยาน การลงทุนในส่วนของ LPG ที่เป็นการค้าปลีก สถานีบริการ โรงบรรจุก๊าซฯ และร้านค้าก๊าซฯ ตลอดจนการลงทุนในส่วนของธุรกิจน้ำมันเครื่อง เป็นต้น
***BCP:ค่าการกลั่น&ยอดขายช่วยผลักดัน***
แม้ไตรมาสแรกปี 2559 บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP จะมีกำไร 46.60 ล้านบาท จากรายได้ 3.07 หมื่นล้านบาท จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง แต่ในช่วงที่ผ่านราคาหุ้นของ BCP เป็นอีกหนึ่งหลักทรัพย์ในกระดานซื้อขายที่นักลงทุนให้ความสนใจ จนราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น
***ผู้บริหารของ BCP คาดว่าในช่วงไตรมาส 2ปีนี้จะเติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากค่าการกลั่นที่อยู่ในระดับ 7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และกลับมามีกำไรจากสต็อกน้ำมัน เนื่องจากในไตรมาสนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 46 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ไตรมาสก่อนอยู่ที่ 36 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ขณะที่ธุรกิจกลุ่มสถานีบริการน้ำมันยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากบริษัทได้ดำเนินการขยายสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ “บางจาก”อย่างไม่หยุดทำให้ทิศทางธุรกิจยังมีการเติบโตจากอัตราการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น***
“ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ BCP กล่าวว่า กำไรก่อน EBITDA ในปี 2559 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี2558 ส่วนหนึ่งมาจากยอดขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงงานไบโอดีเซล (B100) จะมีกำลังการผลิตเพิ่มจาก 3.6 แสนลิตร/วัน เป็น 8.1 แสนลิตร/วัน จากการเดินเครื่องผลิตของโรงงานแห่งที่ 2 ภายในก.ค.นี้ ขณะที่ธุรกิจเอทานอล จะมีกำลังการผลิตจากโรงงานที่ฉะเชิงเทรา เข้ามาเสริม 1.5 แสนลิตร/วัน จากปัจจุบันมีโรงงานที่อุบลผลิตได้ 4 แสนลิตร/วัน
นอกจากนี้ BCP ยังเดินหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 20 (B20) ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนและเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ B20 ในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง
“พงษ์ชัย ชัยจิรวิวัฒน์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านธุรกิจการตลาด BCP กล่าวว่าภาพรวมของธุรกิจว่า ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทั้งตลาดค้าปลีกและตลาดอุตสาหกรรมของบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้เติบโต 9% หรือประมาณ 2 พันล้านลิตร หรือ 500 ล้านลิตร/เดือน ทำให้ทั้งปีนี้บริษัทวางเป้าหมายมียอดจำหน่ายน้ำมันถึง 6 พันล้านลิตร ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องมาจากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำเฉลี่ย 45-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
***ส่วนแผนการขยายสถานีให้บริการน้ำมัน BCP ยืนยันเป้าหมายในปีนี้ คือเปิดสถานีให้บริการเพิ่ม 60 แห่ง หลังครึ่งปีแรกขยายไปแล้ว 20 แห่ง โดยปัจจุบันบริษัทมีสถานีบริการน้ำมันประมาณ 1,070 แห่ง แบ่งเป็นปั๊มมาตรฐาน 460 แห่ง ปั๊มระดับชุมชน 610 แห่ง โดยในส่วนของปั๊มมาตรฐานจะเร่งดำเนินการเสริมร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟอินทนิล เพิ่มบริการให้กับลูกค้า เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ซึ่งยังเหลืออีกประมาณ 260 แห่ง***
“เราตั้งเป้าจะเพิ่มร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งร้านกาแฟอินทนิลในปั๊มมาตรฐาน 30 สาขา เพราะเห็นช่องทางในการเติบโตของธุรกิจ โดยขณะนี้รายได้ของธุรกิจนอนออยล์ (Non Oil) ในปัจจุบันเติบโตเฉลี่ย 13-14% ต่อสาขา ภาพรวมธุรกิจมีทิศทางเติบโตขึ้นรวดเร็ว หลังจากราคาน้ำมันอยู่ในทิศทางที่ทรงตัวไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล”
จากความแข็งแกร่งทางธุรกิจหลักและธุรกิจเสริม ทำให้เชื่อว่าในไตรมาส2/59 บริษัทจะกลับมามีผลดำเนินงาน โดยเฉพาะในแง่กำไรสุทธิที่ระดับปกติคือ 1.5 พันล้านบาท และทั้งปีกำไรจะอยู่ที่ 4.89 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2558 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 4.15 พันล้านบาท
***ESSO:หวนกลับมาทวงคืนมาร์เก็ตแชร์***
ในแง่ผลประกอบการปี2559 บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO เป็นอีกหนึ่งบริษัทน้ำมันที่มีผลดำเนินงานโดดเด่น เห็นได้จากกำไรสุทธิไตรมาสแรกที่ระดับ 1.89 พันล้านบาท บนรายได้ 3.56 หมื่นล้านบาท มากกว่าตลอดทั้งปี 2558 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาท บนรายได้ 1.70 แสนล้านบาท หลังจากปี 2557 บริษัทขาดทุนหนัก 1.03 หมื่นล้านบาท
***ล่าสุด ESSO ประกาศกลับมารุกตลาดไทยด้วยเป้าหมายการกลับขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการเบอร์ 2 ของประเทศ บนงบลงทุน 1 พันล้านบาท ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ บริษัทแม่อย่าง EXXONMOBIL ASIA HOLDINGS PTE. LTD. ที่ถือหุ้น 65.99% ประกาศให้การสนับสนุนเต็มที่ ตามแผนที่จะเดินหน้าขยายงานของธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายจะสำเร็จภายใน 5 ปี จากสิ้นปี 2558 ที่มีส่วนแบ่งตลาดน้ำมันที่ 14% คิดเป็นอันดับ 3 ของตลาด***
"ตั้งแต่ปี 2540 บริษัทได้หยุดลงทุน เราเคยมีสถานีบริการกว่า 800 แห่งก็ลดลงเรื่อยๆจนมาถึงต่ำสุดเมื่อ 5 ปีที่แล้วที่ 516 แห่ง... 5 ปีที่ผ่านมาเราผ่านเฟสแรกของการฟื้นตัวแล้ว เฟสที่ 2 ช่วง 5 ปีต่อไปนี้จะเป็นการปรับคุณภาพน้ำมันและการปรับภาพลักษณ์ การเพิ่มนอนออยล์ เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภค”
“ยอดพงศ์ สุตธรรม” กรรมการและผู้จัดการการตลาดขายปลีก การตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในส่วนของนอนออยล์ ESSO จะมีขยายฐานพันธมิตรในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในส่วนของร้านสะดวกซื้อ ที่ปัจจุบันมี Tesco Lotus, Family Mart, S-Mart ขณะที่ในส่วนของร้านฟาสต์ฟู้ด จะมีพันธมิตร เช่น McDonald’s, KFC, Burger King ขณะที่ร้านกาแฟ มีพันธมิตรอย่าง Rabika Coffee, Caffe D’Oro, Coffee Boy และศูนย์บริการรถยนต์ มีพันธมิตรอย่าง Mobil 1 Center, B-Quik, Bosch เป็นต้น
โดยปริมาณการขายปลีกน้ำมันของESSO ในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโตเท่ากับอุตสาหกรรมที่คาดจะขยายตัว 7% จากปีที่แล้ว หลังจากในช่วงไตรมาส 1/59 เติบโตเพียง 4-5% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่ขยายตัว 10% ***ทั้งนี้ หากเป็นไปตามเป้าหมายของESSO เชื่อว่า ผลงานครึ่งแรกปี 2559 ของ ESSO จะสามารถพลิกเป็นกำไร เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปีก่อนที่ขาดทุนราว 1.2 พันล้านบาท หลังช่วงไตรมาส 1/59 บริษัทมีกำไร 1.89 พันล้านบาท ประกอบกับแนวโน้มยอดขายน้ำมันและธุรกิจอื่นๆ ยังเติบโตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเชื่อน่าจะไม่มีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันเข้ามาอีก***
***PTG:เติบโตต่อเนื่องอย่างมีศักยภาพ***
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG หุ้นสถานีบริการน้ำมันของ 3 ตระกูลใหญ่ ได้แก่ “รัชกิจประการ”,“วิจิตรธนารักษ์” และ “วชิรศักดิ์พานิช” ซึ่งในปีนี้ บริษัทเชื่อว่าผลประกอบการในครึ่งปีแรกจะดีกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หลังตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าเป้าที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะยอดขายจากสถานีเดิมในช่วงไตรมาสแรกมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนลิตร จากเดิมอยู่ที่ 1.85แสนลิตร และค่าการตลาดที่อยู่ในระดับปกติ
“แนวโน้มไตรมาส 2 เราคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาส 2 ปีก่อนที่มีรายได้ 1.42 หมื่นล้านบาท จากการเติบโตตามปริมาณการขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนสาขาและสมาชิก PT Max Card ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไตรมาส 2 นี้ เราคาดว่าจะเปิดสถานีบริการน้ำมันไม่ต่ำกว่า 70 สาขา ขณะที่ทั้งปีคงเป้าหมายเดิมที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันรวม 300 แห่ง ทำให้สิ้นปีนี้บริษัทจะมีสถานีบริการน้ำมันรวม 1,500 แห่ง”
“พิทักษ์ รัชกิจประการ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีจี เอ็นเนอยี ให้ความเห็นว่า ผลดำเนินงานในปี 2559 จะเติบโตจากปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน ส่วนความคืบหน้าในการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มไลน์ธุรกิจที่นอกเหนือธุรกิจหลัก คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ พร้อมกันนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างรอลิขสิทธ์จากโรงเอทานอล คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส3/59
***นอกจากนี้ PTG ยังมุ่งหวังขยายรายได้และกำไรจากธุรกิจ Non-Oil เข้ามาสนับสนุนแม้ว่าในปัจจุบันสัดส่วนกำไรสุทธิจากธุรกิจดังกล่าวจะมีอยู่เพียง 1% แต่เชื่อว่าภายใน 5 ปีจากนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5%***
“เรายังคงขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ตามงบลงทุนที่เคยตั้งไว้ 4.5 พันล้านบาท เพื่อใช้ขยายจำนวนสถานีบริการเพิ่มอีก 300 แห่ง และสถานีแก๊สแอลพีจีอีก 50 สถานี รวมถึงการขยายสถานีบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่ม 25-30 สถานี โดยรวมทั้งปีเราคงเป้าปริมาณการขายเติบโตราว 30-40% จากปีก่อนที่ทำได้ 2.23 ล้านลิตร/ปี นั่นหมายถึงอัตรากำไรสุทธิปีนี้เฉลี่ยอยู่ในระดับ 2% ใกล้เคียงช่วงไตรมาส1ที่ทำได้ 2.16% จากค่าการตลาดที่สูงขึ้นเฉลี่ยปีนี้ราว 1.70-1.80บาท/ลิตร”
***SUSCO:รับอานิสงส์ไม่น้อยหน้าหุ้นในกลุ่ม***
บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SUSCO ธุรกิจน้ำมันของกลุ่ม “สิมะโรจน์”ที่ถือหุ้นรวมกันกว่า 43% เป็นอีกบริษัทที่ได้รับอานิสงส์จากความผันผวนของน้ำมันในตลาดโลก ด้วยยอดขายเติบโตโดดเด่นหลังปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในประเทศพุ่งแรง จากราคาขายปลีกปรับลดลงต่อเนื่องทำให้ “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” กรรมการผู้จัดการ SUSCO คาดว่ารายได้รวมของบริษัทในปี 2559 จะกลับมาอยู่ที่ระดับ 2.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทตามความต้องการใช้น้ำมันในประเทศจะยังเพิ่มสูงขึ้น แม้ราคาน้ำมันขายปลีกยังลดลงต่อเนื่อง
***ด้านการลงทุน SUSCO จะใช้งบประมาณ 15-20 ล้านบาทในการขยายสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ มีสถานีบริการน้ำมันครบ 250 แห่งในปี 2560 จากปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันมากกว่า 230 แห่ง รวมทั้งปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันเดิมให้มีความทันสมัย***
“แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 จะเติบโตต่อเนื่องจากปัจจัยเชิงบวกราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับต่ำทำให้ความต้องการใช้น้ำมันยังเพิ่มขึ้น อีกทั้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราได้ขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 4 สาขา ประกอบการได้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์เพิ่มขึ้น ทำให้ช่วงไตรมาส 2 ยอดขายในกลุ่มประเทศดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น10% ซึ่งธุรกิจนี้คิดเป็นสัดส่วนรายได้กว่า 30% ของรายได้ทั้งหมด”
***ไม่เพียงเท่านั้น ในการปรับปรุงคุณภาพของสถานีบริการปั๊มน้ำมัน บริษัทได้จับมือกับพันธมิตรอย่างลอว์สัน 108 และกาแฟชาวดอย เพื่อเสริมบริการภายในสถานีให้มีความหลากหลาย และเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ SUSCO โดยตั้งเป้าขยายให้ได้อย่างน้อย 10 สาขาภายในปีนี้ ส่วนภาพรวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2559 บริษัทตั้งเป้าเติบโตมากกว่า 1 ล้านลิตร***
ภาพรวมในปี 2559 อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันจะยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงจะช่วยหนุนความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น และนั่นทำให้บริษัทมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น ***ขณะเดียวกันการทยอยไต่ระดับขึ้นมาของราคาน้ำมันช่วยให้การขาดทุนจากการสต๊อกน้ำมันของแต่ละบริษัทลดลง กลายเป็นปัจจัยเสริมต่อผลดำเนินงาน รวมไปถึงการรับรู้รายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจค้าปลีกที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น*** แม้การเพิ่มกำลังผลิตในน้ำมันบางประเภท จะสร้างแรงกดดันที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์บางประเภทก็ตาม
ด้วยปัจจัยหนุนทางด้านพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้หลายบริษัทในหุ้นกลุ่มพลังงานถูกปรับเพิ่มประมาณการและมูลค่าพื้นฐาน ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าปัจจุบันหุ้นกลุ่มพลังงานไทยมีมูลค่าที่ถูกมาก ภาพรวมสถานการณ์และเหตุการณ์ในปัจจุบัน น่าจะเป็นจังหวะที่เอื้ออำนวยแก่การเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ภาพรวมแนวโน้มธุรกิจในบางบริษัทยังมีปัจจัยลบเข้ามากดดัน แต่นั่นเป็นเพียงปัจจัยลบระยะสั้น ที่รอการฟื้นตัวกลับไปของราคาหุ้น และผลประกอบการเท่านั้น