“อภิศักดิ์” มั่นใจสินเชื่อในมาตรการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่เป็นหนี้เสีย ทั้งกองทุนหมู่บ้าน 6 หมื่นล้าน และเงินปล่อยดอกเบี้ยต่ำเอสเอ็มอี
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวถึงมาตรการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า จะไม่ส่งผลให้หนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากมีดำเนินการมาตรฐาน และโปร่งใส ทั้งการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน 6 หมื่นล้านบาท และการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
โดยการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลได้ให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหรกณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยกู้แห่งละ 3 หมื่นล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้านไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี เพื่อไปปล่อยกู้ต่อให้สมาชิก ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 2 ธนาคาร ได้รายงานให้กระทรวงการคลังทราบว่า การปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านเป็นไปตามเป้า คือ ภายในเดือนนี้ จะปล่อยกู้ได้ธนาคารละ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงิน 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่า กองทุนหมู่บ้านจะนำไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
สำหรับเงินกู้ที่เหลืออีก 3 หมื่นล้านบาท ทั้งสองแห่งจะปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่จะไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้ภายในปีนี้เช่นกัน อาจมีเงินบางส่วนที่ค้างไปปล่อยให้กับสมาชิกในต้นปีหน้า
ขณะที่การปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธนาคารออมสินได้ทยอยปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ย 0.1% ให้กับธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการได้แล้ว โดยการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินเป็นไปตามความต้องการของแต่ละธนาคาร ธนาคารไหนปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้มาก ก็สามารถมากู้เงินจากธนาคารออมสินได้มาก โดยต้องนำไปปล่อยให้กับลูกค้าอัตราดอกเบี้ย 4% เป็นเวลา 7 ปี
“คาดว่าธนาคารออมสินจะปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ได้ทั้งหมด 1 แสนล้านบาท ภายในไม่ช้านี้ เพราะไม่ได้มีการจำกัดสัดส่วน ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไหนปล่อยกู้ได้มากก็กู้จากธนาคารออมสินได้มาก” รมว.คลัง กล่าว
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวถึงมาตรการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า จะไม่ส่งผลให้หนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากมีดำเนินการมาตรฐาน และโปร่งใส ทั้งการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน 6 หมื่นล้านบาท และการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
โดยการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลได้ให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหรกณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยกู้แห่งละ 3 หมื่นล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้านไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี เพื่อไปปล่อยกู้ต่อให้สมาชิก ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 2 ธนาคาร ได้รายงานให้กระทรวงการคลังทราบว่า การปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านเป็นไปตามเป้า คือ ภายในเดือนนี้ จะปล่อยกู้ได้ธนาคารละ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงิน 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่า กองทุนหมู่บ้านจะนำไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
สำหรับเงินกู้ที่เหลืออีก 3 หมื่นล้านบาท ทั้งสองแห่งจะปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่จะไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้ภายในปีนี้เช่นกัน อาจมีเงินบางส่วนที่ค้างไปปล่อยให้กับสมาชิกในต้นปีหน้า
ขณะที่การปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธนาคารออมสินได้ทยอยปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ย 0.1% ให้กับธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการได้แล้ว โดยการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินเป็นไปตามความต้องการของแต่ละธนาคาร ธนาคารไหนปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้มาก ก็สามารถมากู้เงินจากธนาคารออมสินได้มาก โดยต้องนำไปปล่อยให้กับลูกค้าอัตราดอกเบี้ย 4% เป็นเวลา 7 ปี
“คาดว่าธนาคารออมสินจะปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ได้ทั้งหมด 1 แสนล้านบาท ภายในไม่ช้านี้ เพราะไม่ได้มีการจำกัดสัดส่วน ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไหนปล่อยกู้ได้มากก็กู้จากธนาคารออมสินได้มาก” รมว.คลัง กล่าว