xs
xsm
sm
md
lg

สปช.เร่งเสนอร่างกฏหมายปฏิรูปตลาดทุน เน้นส่งเสริมการออมรับสังคมสูงอายุ และ แก้ปัญหาเศรษฐกิจรากหญ้าเรื้อรัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปตลาดทุนในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
"บิ๊กทอม" เผยได้เตรียมเสนอนโยบายเร่งด่วนต่อ สปช.ผลักดันการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศระดับรากหญ้า หนุนให้ความรู้การออมรับสังคมผู้สูงอายุ และอุดช่องโหว่เครือข่ายต้มตุ๋นแชร์ลูกโซ่

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปตลาดทุนในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่าเนื่องจากก่อนหน้านี้ สปช.ได้เข้าเสนอในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ให้กับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจที่มีประเด็นสำคัญคือนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจที่ต้องรีบดำเนินการขณะนี้ได้แก่การที่คนไทยมีความรู้ทางการเงินน้อยมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย และไม่มได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งยังขาดความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการรายได้ภายในครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาเศรษกิจในระดับรากหญ้าที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศรวมแล้วเป็นจำนวนมาก เช่นหนี้สินครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นโดยปัจจุบันอยู่ที่ระดับสูงมากกว่า 10.2 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับ 84.2% ของ GDP และปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการรายรับและรายจ่ายไม่สมดุลกัน ก่อให้เกิดการกู้หนี้นอกระบบ ตลอดจนถึงปัญหาการถูกหลอกด้วยเครือข่ายต้มตุ๋นด้วยอุบายทางการเงิน เช่น แชร์ลูกโซ่ หรือ UFUN ที่มีข่าวอยู่ในขณะนี้เป็นต้น ซึ่งรัฐต้องส่งเสริมและดำเนินการให้ประชาชนทุกระดับมีความรู้ทางการเงินและการลงทุนที่เพียงพอ และต้องปลูกฝังให้ประชาชนมีความสามารถในการบริหารการเงินของครัวเรือนได้อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ในอนาคตอันใกล้นี้แนวโน้มของประชากรในประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นย้ำถึงความสำคัญของการออมเพื่อให้มีเงินสำรองในการเลี้ยงชีพเมื่อเข้าสู่วัยชรา ทั้งระดับครัวเรือนและระดับชาติที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุ นอกจากนี้ปัญหาเรื่อรังด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่ในสังคมไทยที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานคือการยกหนี้ การพักหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ยังเป็นปัญหาต่อการบริหารงบประมาณแผ่นดินอย่างไรก็ดีบริษัทฯ ได้ยื่นเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 283 โดยจะขอเพิ่มเติมอีก 1 อนุมาตรา คือ "การขจัดอุปสรรคต่างๆ รวมถึงการปรับปรุงพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อทำให้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งทุนของภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการเป็นช่องทางในการออกและการลงทุนของประชาชนและระบบเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทยในระดับสากล

"ที่ผ่านมาตลาดทุนหรือแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจของไทย โดยปัจจุบันมีขนาดสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดมีมูลค่าประมาณ 12 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่า 100% ของจีดีพี ขณะที่มูลค่ารวมของตลาดทุน ซึ่งจะประกอบไปด้วย ตราสารหนี้และตลาดหุ้นเท่ากับประมาณ 24 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่า 200% ของ GDP ขณะที่ในส่วนของเม็ดเงินระดมทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนเช่นการออกพันธบัตรรัฐบาลที่มีมากถึง 538,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจมีการออกพันธบัตร 109,000 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนคาดว่าอนาคตจะมีการระดมทุนในตลาดทุนสูงถึง 2 ล้านล้านบาท"


กำลังโหลดความคิดเห็น